svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"สันติ"ปัด"วงษ์สยามฯ"ขอบอร์ดที่ราชพัสดุเคาะประมูลท่อประปา จับตาดิวพิเศษ

09 มีนาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"สันติ"เผยยังไม่เห็นหนังสือ"วงษ์สยามฯ" ขอให้บอร์ดที่ราชพัสดุ เรียกประชุมเพื่อให้ความเห็นชอบลงนามสัญญาบริหารท่อน้ำประปาภาคตะวันออก จับตาโครงการฯที่ทั้งการประมูล และการเห็นชอบจากคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ต้องทำถึง 2 ครั้ง ชวนสงสัยดิวนี้เพื่อใคร

จากประเด็นร้อนต่อเนื่อง จากปี 2564 กรมธนารักษ์ ได้เปิดให้มีการประมูล ท่อส่งน้ำสายหลักภาคตะวันออก ซึ่งแต่เดิม มติ ครม. ปี 2535 ให้ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ฯ ที่ตั้งขึ้นโดยการประปาส่วนภูมิภาค เป็นผู้รับโอนทรัพย์สินจากหน่วยงานต่างๆ และนำมาบริหารจัดการตามมติ ครม.

 

แต่ปรากฏว่าการประมูลเกิดขึ้น 2 ครั้ง ในเวลาใกล้เคียงกัน โดยครั้งที่ 1  บริษัท อีสท์ เป็นผู้ชนะการประมูล แต่ ถูกยกเลิกโดยอ้างเหตุผลว่า tor ไม่สมบูรณ์  และการประมูลใหม่ ครั้งที่ 2 ได้ผู้ชนะ คือ วงษ์สยามก่อสร้าง นายประภาศ คงเอียด ในฐานะอธิบดีกรมธนารักษ์ คนใหม่ และเป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการที่ราชพัสดุ รับไม้ดำเนินการจัดการชุม คณะกรรมการฯ ตาม มาตรา 14 พ.ร.บ.ที่ราชพัสดุ 2562 เมื่อวันที่ 11 ก.พ.2565 มติที่ประชุม คณะกรรมการฯ มีมติ 6:4 ให้รอผลการพิจารณาคดีของศาลปกครอง ก่อนที่จะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใด

 

"สันติ"ปัด"วงษ์สยามฯ"ขอบอร์ดที่ราชพัสดุเคาะประมูลท่อประปา จับตาดิวพิเศษ

อย่างไรก็ดี ปรากฏความพยายามที่จะทำให้เกิดการประชุม คณะกรรมการที่ราชพัสดุ ขึ้น เพื่อพิจารณาเรื่องดังกล่าว เป็นครั้งที่ 2 และเป็นที่น่าจับตาว่าการประชุมในครั้งที่ 2 นี้หากเกิดขึ้นแล้วว่าจะมีการเปลี่ยนแปลง มติของคณะกรรมการฯ จากเดิมที่เคยให้ไว้ ในการประชุมครั้งแรกหรือไม่ เรื่องราวดังกล่าว จึงต้องถูกตั้งคำถาม ว่า “เรื่องท่อน้ำสายหลักภาคตะวันออก กับ บริษัท วงษ์สยามฯ ต้องจัดประมูลถึง 2 ครั้ง และการอยุญาตให้ลงนามในสัญญาต้องประชุมรอบ 2 จึงจะได้บทสรุปใช่หรือไม่

 

"สันติ"ยันไม่เคยเห็นหนังสือ"วงษ์สยามฯ"

 

ล่าสุดทีมข่าว  “สำนักข่าวเนชั่น” ได้ติดต่อ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สันติ พร้อมพัฒน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ราชพัสดุ โดยรมช.คลัง เปิดเผยว่า อธิบดีกรมธนารักษ์ ประภาศ คงเอียด ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ได้มาพบเมื่อวันที่ 7 ก.พ.2565 เพื่อนำผลสรุปข้อดี ข้อเสีย จากฝ่ายเลขานุการฯ กรณีที่คณะกรรมการฯ เสียงส่วนใหญ่ 6 ต่อ 4 ให้ชะลอการลงนามสัญญาการประมูลคัดเลือกผู้บริหารโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ออกไป เพื่อรอคำตัดสินของศาลปกครองกลาง ก่อน

 

"สันติ"ปัด"วงษ์สยามฯ"ขอบอร์ดที่ราชพัสดุเคาะประมูลท่อประปา จับตาดิวพิเศษ

 

"ฝ่ายเลขาฯ มารายงานข้อดี ข้อเสีย ในกรณีคณะกรรมการฯ มีความเห็นในเรื่องเซ็นสัญญากับเอกชนที่ชนะประมูลงาน เพื่อให้เป็นข้อมูลในการประชุมคณะกรรมการฯ ครั้งต่อไป ซึ่งยังไม่กำหนดวัน" สันติ ระบุ

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะมีการเรียกประชุมเพื่ออนุมัติเซ็นสัญญากับเอกชนรายใหม่ ตามที่ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ได้ทำหนังสือถึงรมช.คลัง ในฐานะประธานกรรมการที่ราชพัสดุ เพื่อขอความเป็นธรรมและขอให้มีการนัดประชุมคณะกรรมการที่ราชพัสดุ เพื่อพิจารณาอนุมัติผลการคัดเลือกเอกชนในโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ในฐานะประธานกรรมการฯ จะเรียกประชุมเมื่อไหร่ นั้น รมช.คลัง กล่าวตอบว่า "ผมยังไม่เห็นหนังสือของบริษัทวงษ์สยามฯ"

 

สันติ กล่าวย้ำกับผู้สื่อข่าวว่า บริษัท วงษ์สยามฯ ส่งหนังสือมาว่ายังไง ตนเองยังไม่เห็นเนื้อหาในหนังสือ

 

ทั้งนี้ ตามรายงานข่าวของ สำนักข่าวอิศรา ระบุว่า เมื่อวันที่ 3 มี.ค.2565 นายอนุฤทธิ์ เกิดสินธ์ชัย กรรมการผู้จัดการ บริษัท วงษ์สยามก่อสร้าง จำกัด ได้ทำหนังสือถึงนายสันติ ในฐานะประธานกรรมการที่ราชพัสดุ เพื่อขอความเป็นธรรมโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ขอให้มีการนัดประชุมคณะกรรมการที่ราชพัสดุ เพื่อพิจารณาอนุมัติผลการคัดเลือกเอกชนในโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก

 

อธ.ธนารักษ์ เผยบรีฟข้อดี-ข้อเสียใหั "สันติ" ทราบแล้ว

 

ด้าน อธิบดีกรมธนารักษ์ ประภาศ คงเอียด ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการที่ราชพัสดุ เปิดเผย “สำนักข่าวเนชั่น” ว่า เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (7 มี.ค.2565) ได้เข้าพบรมช.คลัง สันติ พร้อมพัฒน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการที่ราชพัสดุ เพื่อสรุปข้อมูล ข้อดี ข้อเสีย ตามที่ได้รับมอบหมายจากที่ประชุมคณะกรรมการฯ เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 2565 ที่ผ่านมา โดยหลังจากสรุปประเด็นต่างๆ ให้ประธานฯ ทราบแล้ว จะต้องรอท่านประธานฯ กำหนดวันเพื่อประชุมคระกรรมการฯ ต่อไป

 

"สันติ"ปัด"วงษ์สยามฯ"ขอบอร์ดที่ราชพัสดุเคาะประมูลท่อประปา จับตาดิวพิเศษ

 

อธิบดีกรมธนารักษ์ ระบุว่า การนัดประชุมคณะกรรมการที่ราชพัสดุ ตามกฎหมาย ต้องนัดหมายล่วงหน้าอย่างน้อย 7 วัน ดังนั้น ส่วนตัวเชื่อว่าสัปดาห์หน้า จะไม่มีการประชุม ส่วนจะประชุมภายในเดือนมี.ค.2565 นี้หรือไม่ ต้องรอความชัดเจนจากประธานคณะกรรมการที่ราชพัสุด เป็นผู้กำหนดวันประชุม มา

 

ส่วนประเด็นการยื่นคำให้การต่อศาลปกครอง ในคดีที่บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ฯ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง กรณีกระบวนการประมูลเพื่อคัดเลือกผู้บริหารโครงการบริหารและดำเนินกิจการระบบท่อส่งน้ำสายหลักในภาคตะวันออก ของกรมธนารักษ์ นั้น อธิบดีฯประภาศ เผยว่า กรมธนารักษ์ ได้ยื่นคำให้การต่อศาลปกครองกลางไปแล้ว โดยยื่นผ่านพนักงานอัยการ ในฐานะทนายฝ่ายผู้ถูกฟ้อง

 

สำหรับกระบวนการพิจารณาของศาลปกครอง ในคดีอีสท์ วอเตอร์ฯ ยื่นฟ้องกรมธนารักณ์ มีรายละเอียดดังนี้ วันที่ 23 ก.ย.2564 บริษัทอีสท์ วอเตอร์ ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง ในประเด็นที่บริษัทฯมีความเห็นว่าไม่ถูกต้องและไม่เป็นธรรม ต่อมา 27 ก.ย.2564 ศาลปกครองกลาง มีคำสั่งรับคำฟ้องไว้พิจารณา และต่อมา 12 พ.ย.2564 ศาลปกครองกลางมีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาโดยยกคำขอทุเลาการบังคับของผู้ฟ้องคดี (ไม่รับคุ้มครองชั่วคราวระหว่างการพิจารณา)

 

ทั้งนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ และกรมธนารักษ์ ได้ขอขยายเวลายื่นคำให้การต่อศาลมาแล้ว 4 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ 1 ครบกำหนด 3 พ.ย. 2564 ขอขยายไปถึง 3 ธ.ค. 2564 ครั้งที่ 2 ขอขยายไปถึง 2 ม.ค. 2565ครั้งที่ 3 ขอขยายไปถึง 2 ก.พ. 2565ครั้งที่ 4 ขอขยายไปถึง 3 มี.ค. 2565 และล่าสุดอธิบดีกรมธนารักษ์ เปิดเผยว่าได้ยื่นคำให้การต่อศาลปกครองแล้ว

 

 

"สันติ"ปัด"วงษ์สยามฯ"ขอบอร์ดที่ราชพัสดุเคาะประมูลท่อประปา จับตาดิวพิเศษ

 

อธ.ศาลปกครอง เตือนผู้ถูกฟ้องไม่ทำความเห็นเท่ากับยอมรับคำฟ้อง

 

นางสาวสายทิพย์ สุคติพันธ์ อธิบดีศาลปกครองระยอง อธิบายขั้นตอนการฟ้องคดีในศาลปกครอง ว่า ศาลปกครอง ใช้กระบวนพิจารณาโดยการแสวงหาข้อเท็จจริง ผู้ถูกฟ้องที่เป็นหน่วยงานรัฐ อาจจะให้อัยการ ว่าความให้แทนได้ แต่ผู้ถูกฟ้อง จะละเลยไม่ให้ข้อมูล หรือไม่ทำคำให้การประกอบหลักฐานแก่ศาลไม่ได้  เพราะจะส่งผลร้ายแรงถึงขั้นแพ้คดีได้ เนื่องจากหลักการพิจารณาคดีศาลจะมองว่า การที่ผู้ถูกฟ้องไม่ทำคำให้การ ถือว่ายอมรับในคำฟ้อง หรือยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้อง ผู้ถูกฟ้องอาจจะแพ้คดีทั้งที่ไม่ควรจะแพ้

 

ทั้งนี้ ศาลจะยึดตามเอกสารเป็นหลัก มีบางคดีที่คู่ความไปเชื่อทนายความว่า จะใช้เทคนิคไม่ให้การเป็นเอกสาร แต่จะนำบุคคลมาเบิกความหักล้างในชั้นพิจารณา ซึ่งวิธีการนี้ไม่ใช่ระบบของศาลปกครอง เพราะศาลปกครองจะต้องใช้พิจารณาหลักฐานก่อน โดยคู่ความต้องเสนอเอกสารจนครบ หรือจนกว่าจะครบ ศาลจึงจะนัดพิจารณาคดีในศาล

 

“โอกาส ที่จะใช้บุคคลมาเบิกความหักล้างพยานที่เป็นเอกสารนั้นเป็นไปได้ยากมาก หากเป็นหน่วยงานราชการ ต้องใช้เอกสารหลักฐานทางราชการ จะใช้บุคคลไม่ได้ เมื่อหลักฐานเพียงพอจะเข้าสู่การพิจารณาตัดสินของศาล”อธิบดีศาลปกครองระยอง ระบุ

logoline