svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ไทยติดกลุ่มประเทศหนุนรัฐบาลทหารเมียนมา

30 มกราคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Justice for Myanmar แฉรัฐบาลทหารเมียนมาได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลหลายประเทศ รวมทั้งไทยกับองค์กรในเครือสหประชาชาติมากกว่า 60 แห่ง ในหลากหลายรูปแบบ ที่ทำให้รัฐบาลทหารยิ่งละเมิดสิทธิมนุษยชนและอยู่ในอำนาจยาวนานขึ้นไปอีก

Justice for Myanmar กลุ่มเคลื่อนไหวที่จับตาการละเมิดสิทธิมนุษยชนในเมียนมา ได้ เผยแพร่รายงานล่าสุด "Developing a Dictatorship" เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2566 ระบุรายชื่อรัฐบาลและองค์กรระหว่างประเทศที่ให้ความช่วยเหลือด้านการเมือง, การเงินและเทคนิค แก่รัฐบาลทหารเมียนมา 

ไทยติดกลุ่มประเทศหนุนรัฐบาลทหารเมียนมา

แม้ว่าการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือนที่มาจากการเลือกตั้ง โดยการนำของนางอองซาน ซูจี เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ปี 2564 จะถูกคัดค้านอย่างรุนแรงจากชาวเมียนมาที่นำไปสู่การประท้วงทั่วประเทศ แต่รายงานของ Justice for Myanmar ระบุว่ามีรัฐบาลของ 22 ประเทศ, องค์กรระหว่างประเทศที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล 26 แห่ง, องค์กรของสหประชาชาติ 14 แห่ง, สถาบันการเงินต่างประเทศ 8 แห่ง และองค์ระหว่างประเทศอื่น ๆ อีก 8 แห่ง ได้ให้การสนับสนุนทางทางการเมืองและการเงินแก่รัฐบาลทหารเมียนมา โดยมาในรูปแบบของความสัมพันธ์ทางการทูต, การริเริ่มด้านการพัฒนา, ความร่วมมือทางเทคนิค, ความสัมพันธ์ด้านทรัพย์สินและอื่น ๆ 

ไทยติดกลุ่มประเทศหนุนรัฐบาลทหารเมียนมา

ในรายงานยังได้เอ่ยชื่อประเทศที่สนับสนุนที่รวมทั้ง รัสเซีย, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน, บังคลาเทศ, เวียดนาม, ลาวและไทย ที่ทำให้รัฐบาลทหารมีความชอบธรรมในการยึดอำนาจ ด้วยการยอมรับอย่างเป็นทางการในฐานะรัฐบาลของเมียนมา ในรายงานยังระบุถึงองค์กรภายใต้ร่มเงาของสหประชาชาติด้วย รวมทั้งองค์การกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ (UNICEF), สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNOCHA), องค์การระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (IOM), องค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ  (FAO) ที่รับรองหรือลงนามในข้อตกลงกับรัฐบาลทหารเมียนมา 

ไทยติดกลุ่มประเทศหนุนรัฐบาลทหารเมียนมา

เจ้าหน้าที่สหประชาชาติประจำนครนิวยอร์ก ยังไม่ได้แสดงความเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ แต่องค์กรด้านมนุษยธรรมของสหประชาชาติมักจะทำงานในประเทศที่อยู่ภายใต้ระบอบที่กดขี่ เพื่อให้ภารกิจช่วยชีวิตลุล่วง ส่วนองค์กรที่ถูกระบุว่าให้ความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับรัฐบาลทหารเมียนมา ได้แก่ วิทยาลัยป้องกันประเทศญี่ปุ่น (National Defense Academy of Japan) และ กองกำลังป้องกันตนเองของญี่ปุ่น (Japan Self-Defense Forces, สำนักงานการต่างประเทศของรัฐบาลกลางเยอรมนี (the German Government Federal Foreign Office) และวิทยาลัยบริหารการศึกษาแผนโคลัมโบ (Colombo Plan Staff College) ในกรุงมะนิลา และอื่น ๆ

ไทยติดกลุ่มประเทศหนุนรัฐบาลทหารเมียนมา

ยาดานาร์ หม่อง โฆษกของ Justice for Myanmar ระบุว่า มีการสนับสนุน "ระหว่างประเทศ" ที่หลากหลายรูปแบบแก่รัฐบาลทหาร ที่ช่วยสนับสนุนอาชญากรรมสงครามให้ดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่องและยืดอายุการปกครองของเผด็จการทหาร 

รายงานอีกฉบับของกลุ่มเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิมนุษยชน Human Rights Watch ที่ออกมาเมื่อเร็ว ๆ นี้ ระบุว่าบริษัทญี่ปุ่น Yokogawa Bridge Corp. ได้ร่วมมือกับกลุ่มบริษัท Myanmar Economic Corporation ของรัฐบาลเมียนมา เป็นมูลค่ามากกว่า 1 ล้านดอลลาร์ เมื่อปี 2565 โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการช่วยเหลือด้านการพัฒนาของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงต่างประเทศญี่ปุ่นได้บ่ายเบี่ยงว่า รัฐบาลไม่ได้อยู่ในสถานะที่จะชี้แจงเรื่องนี้ เพราะเป็นการติดต่อกันระหว่างบริษัทเอกชน 

ไทยติดกลุ่มประเทศหนุนรัฐบาลทหารเมียนมา

มีรายงานล่าสุดอีกชิ้นหนึ่งว่า บรรดาอดีตเจ้าหน้าที่สหประชาชาติได้ระบุชื่อบริษัทของสหรัฐฯ และในอีกอย่างน้อย 12 ประเทศในยุโรปกับเอเชีย ที่ช่วยรัฐบาลทหารเมียนมาผลิตอาวุธที่ใช้ในการละเมิดสิทธิมนุษยชน 

รายงานของ Justice for Myanmar มีทั้งหมด 185 หน้า ส่วนใหญ่มาจากการวิจัยแบบ "open-source" ที่เกิดขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565, การใช้เอกสารของรัฐบาล,เว็บไซต์ขององค์กรต่าง ๆ, สื่อสังคมออนไลน์ และการโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลทหารตลอดจนเอกสารที่รั่วไหลออกมาบางส่วน

ไทยติดกลุ่มประเทศหนุนรัฐบาลทหารเมียนมา

logoline