svasdssvasds
เนชั่นทีวี

บันเทิง

“เพลงสองแง่หลายง่าม” เส้นแบ่งของศิลปะ หรืออนาจาร?

11 กันยายน 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เพลงลูกทุ่งของไทย ความบันเทิงที่มาพร้อมกับความสนุกของจังหวะและเนื้อหาที่คุ้นชิน ขณะเดียวกันก็มีบางเพลงที่สอดแทรกความทะลึ่งจนเกินงาม ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าอะไรคือขอบเขตของความพอดีของเนื้อเพลงนั้นอยู่ตรงไหน

ความสนุกเชิงสองแง่สามง่าม ที่แฝงความหมายมาในบทเพลง บางคนฟังแล้วไม่คิดอะไร แต่บางคนก็ตั้งคำถามถึงความทะลึ่งตึงตังหากผู้แต่งเพลงขาดศิลปะในการนำเสนอ รวมทั้งการคำนึงถึงช่วงวัยของผู้รับฟังด้วย จากเพลง “ผู้ชายในฝัน” ของ พุ่มพวง ดวงจันทร์ ที่โด่งดังในอดีต จนถึง “ปูหนีบอิปิ” ของ พร จันทพร ที่มีเส้นด้ายบาง ๆ กั้นความก้ำกึ่งระหว่างความสนุกสนานและความหยาบคายด้วยหมายในเชิงเพศ กลับได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว

 

“เพลงสองแง่หลายง่าม” เส้นแบ่งของศิลปะ หรืออนาจาร?

 

และในตอนนี้เพลงลูกทุ่งในอดีตที่กลับมาดังเปรี้ยงในโลกออนไลน์มากๆที่มีท่อนฮุกร้องว่า ‘คนจนล่ะมีสิทธิ์ไหมคะ มีงานให้ทำไหมคะ ปริญญาไม่มี แต่มี…นะคะ’ ขับร้องโดย เดือนเพ็ญ เด่นดวง กลับมาดังจนเจ้าตัวยังต้องตกใจ และการที่มีกระแสมาแรงขนาดนี้เป็นเพราะมีการนำคลิปร้องเพลงนำกลับมาเผยแพร่อีกครั้งแต่ เพลงที่มีคำหยาบคายในเนื้อเพลง ทำไมคนฟังบางกลุ่มมองเป็นเรื่องขบขัน

 

คลิกชมคลิป

 

 

ซึ่งกระแสความนิยมในปัจจุบัน วัดจากยอดวิวยอดกดไลก์หรือยอดกดฟังในยูทูปที่พุ่งถึงขั้นหลักล้าน จนเกิดข้อสงสัยขึ้นว่า อะไรคือความเหมาะสม และเพลงที่คนมองว่าด้อยค่า หรือไม่ใช่เพลงในกระแสหลัก จริงๆ แล้วเป็นเพลงในกระแสหลักไปแล้วหรือไม่? ขณะเดียวกัน เมื่อหันไปดูแนวเพลงอย่าง “ลำตัด” เห็นได้ชัดว่าจะขาดบทสองแง่สามง่ามไม่ได้เลย หากแต่ครูเพลงได้ใช้ศิลปะในการร้อยเนื้อใส่ทำนองไว้อย่างมีชั้นเชิง

 

“เพลงสองแง่หลายง่าม” เส้นแบ่งของศิลปะ หรืออนาจาร?

วิธีการ “หักคอรอจังหวะ” หรือ เว้นวรรคไว้ให้ผู้ชมรู้สึกนึกคิดกันเอาเอง กลายเป็นคำคมครื้นเครงช่วยผ่อนคลาย ที่ศิลปินแห่งชาติผู้ล่วงลับ “หวังเต๊ะ” เคยใช้เป็นหลักในการแหล่ จนถูกอกถูกใจผู้ชมผู้ฟังมาอย่างยาวนาน ซึ่งนั่นถือเป็นเสน่ห์ที่ได้รับการสืบทอดมาถึงรุ่น “แม่ศรีนวล” และส่งต่อยังลูกศิษย์ลูกหาในยุคปัจจุบัน

 

“เพลงสองแง่หลายง่าม” เส้นแบ่งของศิลปะ หรืออนาจาร?

 

จากอาชีพที่รัก จนเข้ามาแทรกซึมในชีวิต “ลำตัด” ได้ชื่อว่าเป็นความบันเทิงแบบครบเครื่อง ทั้งร้อง รำ และคำกลอนที่ต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบในการโต้ตอบไปมา พร้อมกับเอกลักษณ์ในเชิงสองแง่สามง่าม ลำตัด จึงยังอยู่ ท่ามกลางความหลากหลายของแนวเพลง 

การเปิดบ้านครูหวังเต๊ะ เพื่อฝึกสอนร้องกลอนลำตัด เพลงพื้นบ้าน เพลงเรือ เพลงเกี่ยวข้าว   ให้แก่ผู้สนใจ ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะมีทั้งชาวต่างชาติ กลุ่มชาติพันธุ์ นักเรียน นักศึกษา และคนทั่วไปมาร่วมเรียนรู้ตลอดเวลา นับเป็นการสืบทอดศิลปะแขนงนี้ให้ยังมีลมหายใจต่อไป

 

“เพลงสองแง่หลายง่าม” เส้นแบ่งของศิลปะ หรืออนาจาร?

 

หากกล่าวไปที่กระแสของ “เพลงลูกทุ่ง” ที่มีความหมายเชิงเพศ หรือสื่อโดยใช้คำสองแง่สามง่าม ปัจจุบันยังได้รับความนิยมค่อนข้างสูง และไม่ใช่เฉพาะผู้ฟังต่างจังหวัดเท่านั้น อิทธิพลของโซเชียลมีเดีย และการโคฟเวอร์โดยคนดัง ทำให้เพลงลักษณะนี้บูมขึ้นมา จนมีนักแต่งเพลงผลิตซ้ำกันอยู่เสมอ

 

“เพลงสองแง่หลายง่าม” เส้นแบ่งของศิลปะ หรืออนาจาร?

 

เราปฏิเสธไม่ได้ว่า เมื่อ “เพลง” คือสื่อบันเทิงที่ช่วยให้เรารู้สึกผ่อนคลาย และยังสามารถเข้าถึงได้ทุกคน ความสองแง่หลายง่ามจะมีความสวยงามในตัวเอง ดังนั้นจึงยากที่จะตอบว่า  คุณค่าของเพลงแนวนี้จะอยู่ตรงไหน เป็นเรื่องที่เราตอบไม่ได้ ทั้งนี้เพราะขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพลงสองแง่สองง่ามถูกด้อยคุณค่า หรือมีคุณค่าผู้ฟังเท่านั้นที่จะเป็นผู้ตัดสิน และเป็นคนเลือกว่าจะเสพหรือมองด้วยบรรทัดฐานแบบไหน

 

“เพลงสองแง่หลายง่าม” เส้นแบ่งของศิลปะ หรืออนาจาร?

 

 

ที่มา  Facebook สารคดี SOME ONE หนึ่งในหลาย

logoline