svasdssvasds
logo-pwa

เพิ่ม nation online

ลงในหน้าจอหลักของคุณ

ติดตั้ง
ปิด
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ปตท.ชู 'นวัตกรรม' เปลี่ยนอนาคตและทำให้ยั่งยืน

22 ธันวาคม 2565

นวัตกรรมเป็นเรื่องที่จำเป็น และต้องมาผนวกกับธุรกิจเพื่อธุรกิจยั่งยืน ถือเป็นความท้าทายของธุรกิจทั่วโลกที่ต้องเผชิญ คือ 4D 1. Digitalization 2. Decentralization 3. Decarbonization 4. Derisk

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ปตท. อรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ กล่าวในงานสัมมนา Next Step Thailand 2023 : ทิศทางแห่งอนาคต ระบุว่า นวัตกรรมเป็นเรื่องที่จำเป็น และต้องมาผนวกกับธุรกิจเพื่อธุรกิจยั่งยืน ถือเป็นความท้าทายของธุรกิจทั่วโลกที่ต้องเผชิญ คือ 4D แบ่งเป็น 1. Digitalization ซึ่งดิจิทัลเป็นทั้งโอกาสและอุปสรรคถ้าปรับตัวไม่ได้ 2. Decentralization จากการที่จะต้องลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อลดภาวะปัญหาโลกร้อน

3. Decarbonization ซึ่งในทางธุรกิจมาจากปัญหาในบางพื้นที่ทำให้เกิดซัพพลาย ดิสรัปชั่น ที่เกิดความเสี่ยงต่อการผลิตสินค้าและส่งสินค้าไม่ได้ เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมามักเกิดปัญหาชิปขาดตลาดในประเทศที่มีการจ้างผลิต ดังนั้นโลกธุรกิจจะต้องมองในเรื่องของการกระจายความเสี่ยงของฐานการผลิต และ 4. Derisk โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาทำให้แต่ละประเทศในพื้นที่เริ่มมองกลับมาทางธุรกิจว่าจะยืนได้ด้วยตัวเองไม่ว่าจะสภาวะใด ๆ จะเกิดขึ้น

ปตท.ชู 'นวัตกรรม' เปลี่ยนอนาคตและทำให้ยั่งยืน

สำหรับ ทั้ง 4 ปัจจัย ปตท. ต้องใช้นวัตกรรมช่วยเปลี่ยนอนาคตและทำให้ยั่งยืน โดยมี 2 นวัตกรรมคือ 1. นวัตกรรมลดโลกร้อน 2. นวัตกรรมในการยกระดับคุณภาพชีวิต โดยนวัตกรรมลดโลกร้อนมีความจำเป็น ขณะนี้ใกล้ตัวมากขึ้น จากงานวิจัยพบว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ติดอันดับ 9 ของโลกที่มีความเสี่ยงหากเกิดภาวะโลกร้อนแม้จะไม่เป็นผู้กระทำแต่ด้านภูมิศาสตร์ที่ติดทะเล ดังนั้น รัฐบาลจึงได้ประกาศเป้าหมาย Net Zero ในปี 2065 ซึ่ง ปตท. จะทำให้ถึงเป้าหมายในปี 2050 ซึ่งเร็วกว่าที่ประเทศประกาศ เพื่อช่วยค่าเฉลี่ย เพราะบริษัทใหญ่หากทำเร็วกว่าบริษัทที่ไม่มีศักยภาพทำ

สำหรับนวัตกรรมที่จะเป็นตัวช่วยลดโลกร้อนหลัก ๆ มี 3 ตัว คือ

1. Renewable ถือเป็นพลังงานทดแทนที่แพร่หลาย ปตท. จะเพิ่มพอร์ตธุรกิจไฟฟ้ามากขึ้น โดยตั้งเป้าภายในปี 2030 มีพลังงานทดแทนเข้ามาในพอร์ตกว่า 12,000 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันมีแล้วกว่า 2,000 เมกะวัตต์ จะช่วยลดการใช้ฟอสซิล ดังนั้น นวัตกรรมที่ดูแล้วน่าจะเป็นอนาคตอยู่ระหว่างการพัฒนาคือ โซลาร์และวิน ซึ่ง ปัญหาของพลังงานลมคือใบพัด ขณะนี้เริ่มสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นแท่งรับลมไม่มีกังหัน

2. การใช้เทคโนโลยีดักจับคาร์บอน (CCS) ที่ปล่อยมาจากหน่วยผลิตกลับมาเก็บไว้ใต้ดินด้วยเทคโนโลยี ซึ่งปัจจุบันกิจกรรมทางเศรษฐกิจโลกหนีไม่พ้นการปล่อยคาร์บอน แต่เมื่อปล่อยแล้วก็ต้องเก็บกลับมา

3. การนำคาร์บอนที่เก็บไว้มาใช้ประโยชน์ (CCUS) กลุ่มปตท.ได้เริ่มทำ Pilot Project ในแหล่งก๊าซอาทิตย์ สามารถเก็บได้ประมาณปีละ 1 ล้านตันคาร์บอน และกำลังศึกษาพื้นที่ที่มีศักยภาพออกไปจากชายฝั่งจะสามารถเก็บถึง 7 ล้านล้านตันคาร์บอน สามารถนำมาพัฒนาสร้างมูลค่าซึ่งขณะนี้มีการพัฒนาใน 3-4 โปรดักส์ อาทิ Methanol, Nano Calcium Carbonate, Animal Protein และ Sodium Bicarbonate คาดว่าจะต้องเกิดขึ้นปีหน้า ดังนั้น สิ่งที่จะเกิดจะส่งผลกับความยั่งยืนของประเทศและองค์กร

ทั้งนี้ ในการจัดลำดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยเริ่มตกลงเกือบทุกปี ขณะนี้อยู่อันดับ 33 จาก 63 ประเทศ ส่วนความสามารถในการแข่งขันทางดิจิทัลอยู่อันดับที่ 40 สวนทางกับการใช้อินเทอร์เน็ตอยู่ระดับ Top ของโลกแต่ก็ยังมีข้อดีคือ ประเทศไทยเหมาะกับการประกอบธุรกิจเราอยู่ในอันดับ 3 และเป็นประเทศที่มีความมั่นคงทางด้านสุขภาพเราในอันดับ 5

นวัตกรรมเพื่อการยกคุณภาพชีวิตที่ประเทศต้องมีแบ่งเป็น 3 ข้อ คือ 1. Agriculture 2. Next Generation Automative 3. MedTech & Healthcare ทั้งนี้ นวัตกรรมทางเกษตรมีศักยภาพแต่มีความท้าทายสูง โดยประชากรประกอบอาชีพเกษตรถึง 30% หรือ 1 ใน 3 เป็นเกษตรกรกลับสร้าง GDP ให้กับประเทศแค่ 8.5% ดังนั้นภาคเกษตรต้องเพิ่มผลผลิต การทำเกษตรแบบดั้งเดิมอาจจะมีปัญหาต้องเอา AI เข้ามาใช้เกิด Smart farming ซึ่ง ปตท. ได้ทำเทคโนโลยีโดรนมากพอสมควร สามารถนำไปสร้างนวัตกรรมเป็นโดรนเกษตรช่วยใส่ปุ๋ย ใส่ยาฆ่าแมลง เป็นต้น

นอกจากนี้ จึงต้องพัฒนาใส่ข้อมูลต่าง ๆ ในโดรน เช่น สภาพภูมิประเทศ สภาพดิน เพื่อเพิ่มความฉลาด ตนเชื่อว่ามีหน่วยงานราชการดูแลเรื่องนี้ แต่จะทำยังไงให้บูรณาการแล้วลงไปในพื้นที่จริงได้ อีกเรื่องคือแพลตฟอร์มค้าขายเพื่อไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง ซึ่งปตท. ได้ลงไปช่วยบ้างในบางพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนเอาสินค้าสามารถขายได้โดยตรง

 

อีกธุรกิจคือ ธุรกิจยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ถือเป็นธุรกิจยานยนต์อนาคต ซึ่งปตท.ทำอยู่โรงงานจะเสร็จภายใน 2 ปีนี้ จะกลายเป็นโรงงาน OEM ใครอยากสร้างแบรนด์และไม่ต้องการลุงทุนโรงงานผลิตก็มาดีไซน์ร่วมกับปตท. ส่วนสถานีชาร์จอีวี หากคนติดตั้งมากขึ้น แต่ก็ต้องการนวัตกรรมการบูรณาการจะเชื่อมโยงแต่ละยี่ห้อรวมถึงการจ่ายเงินค่าชาร์จ น่าจะได้เห็นภายใน 2 ปีนี้ จะช่วยกระตุ้น Eco System ของอีวี ให้เติบโตนำประเทศจะไปสู่เป้าหมาย 30% ในปี 2030