19 สิงหาคม 2565 กระแสการเรียกร้องให้ล้าง "หนี้กยศ." ขึ้นเทรนด์ทวิตเตอร์ หลังมีการประกาศล่ารายชื่อ 10,000 รายชื่อ เพื่อยื่นแก้ไขกฎหมาย กองทุนกยศ. ต่อรัฐสภา เรียกร้องให้รัฐบาลเข้ามาเป็นลูกหนี้แทนผู้กู้หลังสำเร็จการศึกษา 2 ปี จนกลายเป็นกระแสดรามา ขณะ กยศ. ได้ออกขยายเวลา มาตรการลดหย่อนหนี้ เพื่อช่วยเหลือ โดยยืนยันว่าไม่สามารถยกหนี้กยศ.ได้
สื่อสังคมออนไลน์ แสดงความเห็นต่างทั้งเห็นด้วย และ ไม่เห็นด้วยกับข้อเรียกร้อง ในส่วนของผู้ทีร่ไม่เห็นด้วยมองว่า "หนี้กยศ." เป็นหนี้ที่ตัดสินใจกู้ยืมมาใช้ด้วยตนเอง ดังนั้นเมื่อจบการศึกษาก็ควรที่จะเป็นผู้ใช้คืนทั้งหมด รวมทั้งไม่เป็นธรรมกับผู้ที่ยืมและจ่ายหนี้ตามเงื่อนไขของ กยศ.
ล่าสุด นายนพดล เภรีฤกษ์ โฆษกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ออกเอกสาร "ชี้แจงข่าวกรณีล่ารายชื่อให้ยกหนี้ กยศ." ลงวันที่ 18 สิงหาคม 2565 ระบุว่า ตามที่มีข่าวการล่ารายชื่อให้ยกหนี้กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา (กยศ.) นั้น
สำนักงานฯ ขอเรียนว่า การยกหนี้ กยศ. ไม่ใช่การแก้ปัญหาหนี้ กยศ. แต่จะทำให้ผู้กู้ขาดวินัยทางการเงิน ซึ่งจะเป็นปัญหาต่อไปในอนาคต แต่รัฐบาลเข้าใจปัญหาของหนี้ กยศ. ตามกฎหมายปัจจุบัน จึงเสนอแก้ไขให้การชำระหนี้ กยศ. ยังคงเป็นไปตามหลักเป็นหนี้ต้องใช้หนี้ แต่ผ่อนปรนการชำระหนี้ กยศ. ให้สอดคล้องกับรายได้และความสามารถในการชำระหนี้ของผู้กู้ ขณะนี้ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอยู่ในชั้นการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร
พร้อมกันนี้ เว็บไซต์ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา หรือ กยศ. ได้แจ้งถึงการขยายเวลา มาตรการลดหย่อนหนี้ จากเดิม 30 มิถุนายน 2565 เป็นสิ้นสุด 31 ธันวาคม 2565 มีเนื้อหาระบุว่า
คณะกรรมการกองทุนฯ ได้มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลามาตรการลดหย่อนหนี้ เพื่อเป็นการช่วยเหลือและให้โอกาสผู้กู้ยืมเงินที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจจากสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากเดิมสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 มีทั้งสิ้น 5 แนวทาง ดังนี้
3.1 ผู้กู้ยืมเงินที่ยังไม่ถูกดำเนินคดี สามารถชำระได้ที่ธนาคารกรุงไทยและธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทยทุกสาขา
3.2 ผู้กู้ยืมเงินที่ถูกดำเนินคดีแล้ว ต้องลงทะเบียนขอรับสิทธิและนัดหมายวันที่ประสงค์จะชำระหนี้ปิดบัญชีได้ที่ เว็บไซต์ กยศ. หรือ คลิกที่นี่ โดยผู้กู้ยืมเงินต้องชำระค่าทนายความและค่าฤชาธรรมเนียมศาลให้เสร็จสิ้นก่อนปิดบัญชี