svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

“บิ๊กโจ๊ก” งานเข้าอีก ศาลประทับฟ้องคดี “ผู้การเเต้ม” ฟ้องให้สัมภาษณ์หมิ่น

“บิ๊กโจ๊ก” งานเข้าอีก ศาลประทับฟ้องคดี “ผู้การเเต้ม” ฟ้องหมิ่น พร้อมเปิดคำฟ้อง อดีตบิ๊กตำรวจคนดังไปให้สัมภาษณ์ยังไงถึงกลายเป็นคดีเพิ่ม

10 กุมภาพันธ์ 2568 มีรายงานว่า ศาลนัดไต่สวนมูลฟ้องในคดี ที่ พลตำรวจตรี วิชัย สังข์ประไพ หรือ “ผู้การแต้ม” ยื่นฟ้อง พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล หรือ “บิ๊กโจ๊ก” อดีต รอง ผบ.ตร. ในความผิดฐานหมิ่นประมาท 

โดยคำฟ้องระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 24 มิ.ย. 2567 จําเลยได้ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนหลายสํานัก เผยแพร่ทาง โทรทัศน์และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งการสัมภาษณ์ดังกล่าว จําเลยได้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะใส่ความซึ่งถ้อยคําว่า “กูรูทางกฎหมายรู้จริงบ้าง ไม่รู้จริงบ้าง” ดังกล่าว หมายถึง โจทก์ซึ่งเป็นผู้ ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย เคยเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร (ข้าราชการ การเมือง) และเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

โดยโจทก์ได้รับหน้าที่ดูแลหลายด้าน รวมถึงด้านกฎหมาย ปัจจุบันโจทก์มีอาชีพเป็นสื่อมวลชน ให้ความเห็นทางกฎหมายผ่านสื่อสาธารณะอยู่ เป็นประจํา ซึ่งคําว่า “กูรูทางกฎหมาย” นั้น ประชาชนทั่วไปรับรู้ได้ว่าหมายถึงตัวโจทก์ เพราะในช่วง ระยะเวลาที่จําเลยได้ให้สัมภาษณ์นั้น เป็นช่วงระยะเวลาเดียวกันกับที่โจทก์ได้รับการติดต่อจาก สื่อมวลชน รายการทีวีหลายสํานักในการให้ไปเผยแพร่ความรู้ ความเห็นกรณีของจําเลยต่อสังคม ซึ่งเป็นเรื่องที่สื่อมวลชน และประชาชนให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
พล.ต.อ.สุรเชชษฐ์ หักพาล หรือ “บิ๊กโจ๊ก” อดีต รอง ผบ.ตร.
 

ทําให้ประชาชนทั่วไป ที่ได้รับชมหรืออ่าน การให้สัมภาษณ์ของจําเลย ในคําว่า “กูรูทางกฎหมาย” ย่อมเข้าใจได้ทันทีว่าเป็นโจทก์ ถ้อยคําดังกล่าว ของจําเลยมีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ว่า เป็นกูรูทางกฎหมายที่รู้ไม่จริง อันเป็นการลดความ น่าเชื่อถือหรือความเชี่ยวชาญความรู้ อ่านการให้สัมภาษณ์ของจําเลย แม้จําเลยจะไม่ได้เอ่ยชื่อโจทก์โดยตรง แต่ข้อความดังกล่าวมีลักษณะ เฉพาะเจาะจงถึงตัวโจทก์ ทําให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นโจทก์

ซึ่งภายหลังต่อมาเมื่อ วันที่ 28 มิ.ย.2567  จําเลยได้ยื่นฟ้องโจทก์ในคดีอาญาฐาน ความผิดหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ จึงเป็นการยืนยันว่า ในการให้สัมภาษณ์ ความเห็นทางด้านกฎหมายของโจทก์ต่อประชาชนที่ได้รับชมหรือ ของจําเลยต่อสื่อมวลชนหลายสํานัก เป็นการจงใจใส่ความโจทก์ อันเป็นเท็จต่อบุคคลที่สามจริง และถ้อยคําว่า “รับราชการตํารวจก็ไม่ประสบความสําเร็จ” ถ้อยคําดังกล่าวมีลักษณะ เป็นการใส่ความโจทก์ ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการตํารวจ ยศพลตํารวจตรี มีชื่อเล่นว่า “แต้ม” ประชาชน รวมถึงสื่อมวลชนทั่วไปรู้จักโจทก์ในนาม “พลตํารวจตรีวิชัย” หรือ “ผู้การแต้ม” หรือ “รองแต้ม” หรือ “มือปราบหูดํา”

ทําให้ประชาชนเข้าใจว่า โจทก์ไม่ประสบความสําเร็จทางราชการตํารวจ โดยโจทก์เคย รับราชการตํารวจมาเป็นเวลากว่า 30 ปี เคยดํารงตําแหน่งรองผู้บัญชาการตํารวจนครบาล ได้รับรางวัล สืบสวนดีเด่นของกรมตํารวจ ปี 2539 รางวัลข้าราชการดีเด่นของสมาคมวิชาชีพผู้สื่อข่าวแห่งประเทศ ไทย ปี 2543 รางวัลปราบปรามยาเสพติดดีเด่นของ ป.ป.ส. จากสํานักนายกรัฐมนตรี ปี2545-2546 เป็นต้น
พลตำรวจตรี วิชัย สังข์ประไพ หรือ “ผู้การแต้ม”


 

การที่จําเลยใส่ความว่า โจทก์รับราชการตํารวจก็ไม่ประสบความสําเร็จดังกล่าวเป็นเท็จ แม้จําเลยจะไม่ได้เอ่ยชื่อโจทก์โดยตรง แต่ข้อความดังกล่าวมีลักษณะชี้เฉพาะเจาะจงถึงตัวโจทก์ ทําให้ประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นโจทก์

จําเลยจงใจหมิ่นประมาท ใส่ความโจทก์ จําเลยได้ให้สัมภาษณ์ในลักษณะใส่ความโจทก์ด้วย ถ้อยคําว่า “เดี๋ยวภายในวันศุกร์ เดี๋ยวฟ้องแน่นอน” “ก็หมิ่นประมาทไง พูดเยอะไง” ซึ่งผู้สื่อข่าวได้ถาม จําเลยว่า “กตร. กับอดีต ๆ นายตํารวจที่ท่านพูดถึงนี่คนละคนกัน” จําเลยก็รับว่าเป็นบุคคลคนละคนกัน และจําเลยยังให้สัมภาษณ์ต่อผู้สื่อข่าวอีกว่า “เดี๋ยวจะสอนมวยพวกกูรูหน่อย ๆ เดี๋ยวไม่บอกก่อน เอ่อ น่ะ จะสอนมวยพวกกูรู พวก ๆ กูรูที่ ๆ อะไรเค้าเรียกว่า รู้เยอะอ่ะ พูดจนชาวบ้านงงไปหมดแล้ว

ซึ่งถ้อยคําว่า “เดี๋ยวภายในวันศุกร์ เดี๋ยวฟ้องแน่นอน” “ก็หมิ่นประมาทไง พูดเยอะไง” และจําเลยได้ยืนยันกับนักข่าวว่า บุคคลที่จะยื่นฟ้องมีอดีตตํารวจด้วย และถ้อยคําว่า “เดี๋ยวจะสอนมวย พวกกูรูหน่อย พวก ๆ กูรูที่ ๆ อะไรเค้าเรียกว่า รู้เยอะอ่ะ พูดจนชาวบ้านงงไปหมดแล้ว” ถ้อยคําดังกล่าว มีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ ซึ่งเป็นอดีตข้าราชการตํารวจยศพลตํารวจตรี เป็นเจ้าของกิจการค่าย มวย ชื่อว่า “ว.สังข์ประไพ” และเป็นผู้ทรงคุณวุฒิทางกฎหมาย โจทก์เคยเป็นที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการ จังหวัดกรุงเทพมหานคร (ข้าราชการการเมือง) และเป็นที่ปรึกษาให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

โดยโจทก์ได้รับหน้าที่ดูแลหลายด้าน รวมถึงด้านกฎหมาย อีกทั้งโจทก์ยังประกอบอาชีพเป็นสื่อมวลชน ให้ความเห็นทางกฎหมายผ่านสื่อสาธารณะอยู่เป็นประจํา ถ้อยคําดังกล่าวของจําเลยที่ประชาชนทั่วไป ได้รับชมหรืออ่านการให้สัมภาษณ์ของจําเลยนั้น ประชาชนทั่วไปสามารถรับรู้ได้ทันทีว่าเป็นโจทก์

ถ้อยคําดังกล่าวของจําเลยมีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ว่า โจทก์เป็นอดีตตํารวจที่รู้เยอะ และการ เผยแพร่ให้ความรู้ทางกฎหมายของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือ จนทําให้ชาวบ้านหรือประชาชนงงไปหมด ซึ่งได้ ลดทอนความน่าเชื่อถือทางวิชาชีพของโจทก์ และการกล่าวว่าจะสอนมวย และฟ้องฐานหมิ่นประมาท โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ก็เป็นเจ้าของกิจการค่ายมวย การให้สัมภาษณ์ของจําเลยเป็นการข่มขู่หรือทําให้เสื่อม เสียชื่อเสียงของโจทก์ แม้จําเลยจะไม่ได้เอ่ยชื่อโจทก์โดยตรง

จําเลย จงใจหมิ่นประมาท ใส่ความโจทก์ได้ให้สัมภาษณ์ต่อรายการ ชื่อว่า “THE STANDARD NOW” โดยได้เผยแพร่ทางโทรทัศน์และสื่อสังคมออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งการสัมภาษณ์ดังกล่าว จําเลยได้ให้สัมภาษณ์ ในลักษณะใส่ความโจทก์ด้วยถ้อยคําว่า “แล้วมีกูรูด้านกฎหมายหลาย ๆ คน บางคนนะครับ ไม่ได้ประสบ ความสําเร็จเลย แถมตอนก่อนจะเกษียณหนีคดี ป.ป.ช. ด้วยซ้ํา นะ พูดทุกวันเนี่ย ๆ พูดไปพูดมา อ่าว หมิ่นประมาทผมจนได้” ซึ่งข้อความที่กล่าวเป็นการหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์รวมถึงข้อความอื่นๆ

ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบในชั้นไต่สวนมูลฟ้องแล้วเห็นว่า โจทก์เบิกความยืนยันข้อความตามคำฟ้องที่จำเลยให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน และมีการนำไปเผยแพร่ทางโทรทัศน์และสื่อออนไลน์ อาทิ แอปพลิเคชันยูทูปสู่สาธารณะชนนั้น แม้จำเลยไม่ได้กล่าวถึงโจทก์โดยตรง แต่เมื่อนำถ้อยคำที่จำเลยกล่าวถึงมาประกอบเข้าด้วยกันแล้วทำให้บุคคลที่ได้รับชมอาจเข้าใจได้ว่าหมายถึงตัวโจทก์ อันมีลักษณะเป็นการใส่ความโจทก์ต่อบุคคลที่สามโดยประการ ที่น่าจะทำให้โจทก์เสื่อมเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง

ฟ้องโจทก์ครบองค์ประกอบความผิดคดี จึงมีมูลตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328 ให้ประทับฟ้องไว้พิจารณา หมายเรียกจำเลยมาให้การตรวจพยานหลักฐานและกำหนดวันนัดสืบพยาน วันที่ 19 พ.ค.2568