svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

จับตาบทสรุปคดี "บอส อยู่วิทยา" เมื่ออัยการสูงสุดเตรียมสอยอาญาผู้แปลงสำนวน

จับตาบทสรุปคดีมหากาพย์ "บอส อยู่วิทยา" หลังอัยการสูงสุดรับเรื่อง ป.ป.ช. ดำเนินคดีอาญา "สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง-เนตร นาคสุข" และพวก กรณีเปลี่ยนความเร็วรถ หลังขับชน "ดาบวิเชียร" เสียชีวิตเมื่อปี 55

27 กุมภาพันธ์ 2567 ยังคงเป็นมหากาพย์ที่ให้ต้องจับตากับบทสรุป โดยเฉพาะกรณีการสั่งไม่ฟ้อง "นายวรยุทธ อยู่วิทยา" หรือ "บอส" ทายาทเครื่องดื่มชูกำลังรายใหญ่ จากการขับรถซูเปอร์คาร์ชน "ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ" ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อ จนเสียชีวิต ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 3 ก.ย. 2555 

ประเด็นนี้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2566 ชี้มูลความผิดผู้ถูกกล่าวหา พร้อมทั้งยื่นให้อัยการสูงสุดดำเนินคดีอาญา ก่อนที่ล่าสุดทางอัยการสูงสุดได้รับเรื่องดังกล่าวไว้ และฟ้อง 8 ผู้ถูกกล่าวหา ประกอบด้วย

  • พล.ต.อ.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1
  • พล.ต.ต.ธวัชชัย เมฆประเสริฐสุข ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5
  • พ.ต.อ.วิรดล ทับทิมดี ผู้ถูกกล่าวหาที่ 7
  • นายเนตร นาคสุข ผู้ถูกกล่าวหาที่ 10
  • นายชัยณรงค์ แสงทองอร่าม ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9
  • นายธนิต บัวเขียว ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12
  • นายชูชัย หรือพิชัย เลิศพงศ์อดิศร ผู้ถูกกล่าวหาที่ 13
  • รองศาสตราจารย์ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม ผู้ถูกกล่าวหาที่ 19

สำหรับมติของคณะกรรมการ ป.ป.ช. มีดังนี้

(1) พล.ต.อ.สมยศ เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งกรรมาธิการ ในคณะกรรมาธิการ (กมธ.) การกฎหมาย การยุติธรรม และกิจการตำรวจ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 1)
(2) พล.ต.ต.ธวัชชัย เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งผู้บังคับการกองพิสูจน์หลักฐาน (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 5)

ทั้งนี้ ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลง

และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 86, 157, 200 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4, 7

พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 65 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

(3) พ.ต.อ.วิรดล เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งพนักงานสืบสวนสอบสวน (สบ 3) สถานีตำรวจนครบาลทองหล่อ (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 7)

ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องรับโทษหรือรับโทษน้อยลง และฐานเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด

หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83, 157, 200 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4, 7 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 65 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

(4) นายเนตร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งรองอัยการสูงสุด (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 10) ฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, ฐานเป็นเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ

เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลง และฐานเป็นเจ้าพนักงานของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157, 200 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4, 7 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

ส่วนผู้ถูกกล่าวหาที่เหลือ

(5) นายชัยณรงค์ แสงทองอร่าม พนักงานอัยการ (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 9)
(6) นายธนิต บัวเขียว (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 12)
(7) นายชูชัย หรือ พิชัย เลิศพงศ์อดิศร (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 13)
(8) รองศาสตราจารย์ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม (ผู้ถูกกล่าวหาที่ 19)

ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดหรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานในตำแหน่งพนักงานอัยการ ผู้ว่าคดี พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาหรือจัดการให้เป็นไปตามหมายอาญา กระทำการหรือไม่กระทำการอย่างใด ๆ ในตำแหน่งอันเป็นการมิชอบ เพื่อจะช่วยบุคคลหนึ่งบุคคลใดมิให้ต้องโทษหรือให้รับโทษน้อยลง

และฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่งหรือหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหรือหน้าที่โดยมิชอบเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 86, 157, 200 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2502 มาตรา 13 พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 26) พ.ศ. 2560 มาตรา 4, 7 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 มาตรา 123/1 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2554 มาตรา 65 พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 172

อัยการสูงสุด มอบหมายให้พนักงานอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต เป็นผู้ฟ้องและดำเนินคดี ผู้ถูกกล่าวหาทั้งหมดแทนอัยการสูงสุด และให้แจ้งคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทราบ เพื่อให้ดำเนินการส่งผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 8 คน ที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งรับดำเนินคดีฟ้อง โดยให้ส่งตัวไปยังสำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต เพื่อฟ้องคดีภายในอายุความตามกฎหมายต่อไป

สำหรับผู้ถูกกล่าวหาอื่น ๆ ตามมติ ป.ป.ช. ประกอบด้วย

กันไว้เป็นพยาน

  • พล.ต.ท.มนู เมฆหมอก ผู้ถูกกล่าวหาที่ 4
  • พ.ต.อ.วิวัฒน์ สิทธิสรเดช ผู้ถูกกล่าวหาที่ 6


ส่งเรื่องให้ดำเนินการตาม ป.วิ. อาญา และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 63

  • พ.ต.ท.ปัณณ์ณภณ นามเมือง หรือ คทาธร พัชรนามเมือง ผู้ถูกกล่าวหาที่ 8
  • พล.อ.ท.จักรกฤช ถนอมกุลบุตร ผู้ถูกกล่าวหาที่ 14
  • พล.อ.ท.สุรเชษฐ ทองสลวย ผู้ถูกกล่าวหาที่ 15 


ส่งเรื่องให้ผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจแต่งตั้งถอดถอนเพื่อดำเนินการตามหน้าที่และอำนาจ ตาม พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2561 มาตรา 64

  • พล.ต.ท.เพิ่มพูน ชิดชอบ ผู้ถูกกล่าวที่ 11


ไม่ชี้มูลความผิด 

  • นายธานี อ่อนละเอียด ผู้ถูกกล่าวหาที่ 2
  • พ.ต.ท.ทรงวุฒิ เจริญวิชยเดช ผู้ถูกกล่าวหาที่ 3
  • นายวรพล โสคติยานุรักษ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 16
  • นายอุสาห์ ชูสินธ์ ผู้ถูกกล่าวหาที่ 17
  • น.ส.ณัฎณิชา ทองชื่น ผู้ถูกกล่าวหาที่ 18 


ทว่า หากย้อนกลับเรื่องนี้ "พล.อ.ประยุทธ์ จัทร์โอชา" อดีตนายกรัฐมนตรี ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 225/2563 เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 2563 แต่งตั้ง "นายวิชา มหาคุณ" อดีต ป.ป.ช. ให้เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงและข้อกฎหมาย กรณีคำสั่งไม่ฟ้องคดีอาญา เนื่องจากเป็นเรื่องที่อยู่ในความสนใจของประชาชน

โดยคณะกรรมการชุดดังกล่าวใช้เวลาสอบสวนนานหลายเดือน กระทั่งมีรายงาน เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ยื่นต่อ พล.อ.ประยุทธ์ ซึ่งสรุปความเห็นเกี่ยวกับคดี คือ 

  1. กระบวนการสอบสวนตำรวจถูกแทรกแซง
  2. พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการขาดความร่วมมือเป็นเอกภาพ
  3. ระบบกฎหมายทำให้คดีเกิดความล่าช้า
  4. เกิดความเหลื่อมล้ำในระบบกระบวนการยุติธรรม
  5. กฎหมายเปิดช่องให้เจ้าหน้าที่กระทำการทุจริต
  6. กระบวนการสอบสวนไม่สอดรับกับภาพทางเศรษฐกิจและสังคม 


อย่างไรก็ตาม แม้จะผ่านมา 12 ปี โดยปัจจุบัน "บอส อยู่วิทยา" เหลือเพียงคดีเดียว คือ การขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ซึ่งจะหมดอายุความในวันที่ 3 ก.ย. 2570 ดังนั้น ต้องมาดูกันถึงบทสรุปกับคำตอบจะเป็นเช่นไร