svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

นิติเวช ตร.เก็บดีเอ็นเอ ศพนิรนามทุกประเภทตั้งแต่ปี 2555

สถาบันนิติเวช รพ.ตร.เก็บDNAศพนิรนาม ลงฐานข้อมูลตั้งแต่ปี 2555 หากญาติสงสัยการเสียชีวิต แจ้งพนักงานสอบสวนทำหนังสือมาเก็บหลักฐานได้ -ไม่มีค่าใช้จ่าย แต่ถ้าทำพิธีทางศาสนาแล้ว ต้องยื่นเรื่องผ่านกระทรวงยุติธรรม-พนักงานสอบสวน ก่อนตั้งคณะกรรมการวินิจฉัย

การเก็บข้อมูล ดีเอ็นเอ ถือได้ว่ามีส่วนสำคัญในการพิสูจน์ตัวบุคคลที่เสียชีวิตการเก็บข้อมูลในส่วนของศพนิรนาม ที่รอการพิสูจน์ทราบนั้น ในส่วนของ สถาบันนิติเวช รพ.ตร. ได้มีการเก็บดีเอ็นเอ ลงฐานข้อมูลในระบบตั้งแต่ปี 2555 เป็นแนวความคิดของ ผู้บังคับการสถาบันนิติเวชในสมัยนั้น ที่ต้องการให้ทางนิติเวช ตร.เก็บข้อมูลหลักฐานของศพไม่ทราบชื่อไว้

 

“เป็นนโยบายภายใน ไม่มีการกำหนดออกมาเป็นข้อกฎหมายแต่อย่างใด และการเก็บข้อมูลในส่วนนี้เป็นเพียงศพนิรนามที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รพ.ตร.เพียงเท่านั้น และเป็นศพทุกประเภทไม่เฉพาะเจาะจงเพียงแค่ศพเด็กหรือศพใดศพหนึ่ง เพื่อให้ง่ายต่อการนำมาพิสูจน์ทราบ และตรวจสอบในภายหลัง”

 

นิติเวช ตร.เก็บดีเอ็นเอ ศพนิรนามทุกประเภทตั้งแต่ปี 2555


ขณะเดียวกันในการเก็บดีเอ็นเอไว้ตรวจสอบนั้น สำหรับนิติเวชอื่นก็มีการเก็บข้อมูลไว้เช่นเดียวกับ นิติเวช รพ.ตร. แต่ขึ้นอยู่กับความพร้อมของหน่วยงาน โรงพยาบาลนั้นด้วย หากเป็น โรงพยาบาลที่ไม่มีความพร้อม หรืออยู่ห่างไกล การเก็บข้อมูลในส่วนนี้ก็ทำได้ยาก

ปัจจุบันมีการตั้งคณะกรรมการตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อบูรณาการข้อมูลจากทั่วประเทศ ทั้งข้อมูลก่อนตาย ข้อมูลคนหาย ข้อมูลจากศพที่เก็บมาชันสูตร และในส่วนของดีเอ็นเอ หรือ ประวัติการทำฟัน เพื่อเอามาประกอบให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยมีการตั้งฐานข้อมูลส่วนกลางตามกฎหมาย ไว้ที่ สถาบันนิติวิทยาศาสตร์ กระทรวงยุติธรรม ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น

 

นิติเวช ตร.เก็บดีเอ็นเอ ศพนิรนามทุกประเภทตั้งแต่ปี 2555


ในการเก็บดีเอ็นเอฐานข้อมูล ของนิติเวช รพ.ตร. สำหรับการเสียชีวิตทั่วไป หากญาติมีข้อสงสัยในการเสียชีวิต สามารถแจ้งที่พนักงานสอบสวนได้ ซึ่งทางพนักงานสอบสวนจะทำหนังสือคำขอมาให้ทางนิติเวช ในการเก็บดีเอ็นเอ หลักฐาน เพื่อไว้ใช้ตรวจสอบในภายหลัง โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งในส่วนของโรงพยาบาลตำรวจจะเก็บดีเอ็นเอ ในการเสียชีวิตจากเหตุฆาตกรรม ทุกรายโดยทันที

ส่วนการเก็บดีเอ็นเอลงฐานข้อมูลในส่วนของนิติเวชอื่นนั้นจะมีค่าใช้จ่ายหรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับกฎระเบียบของหน่วยงานนั้นๆทั้งนี้หากญาตินำศพไปประกอบพิธีทางศาสนาแล้ว เกิดข้อสงสัยในการเสียชีวิตภายหลัง สามารถดำเนินการยื่นเรื่องขอชันสูตรใหม่ รวมถึงเก็บดีเอ็นเอได้ด้วยตัวเองที่กระทรวงยุติธรรม หรือ ประสานทางพนักงานสอบสวน

นิติเวช ตร.เก็บดีเอ็นเอ ศพนิรนามทุกประเภทตั้งแต่ปี 2555

หลังจากนั้นจะมีการตั้งคณะกรรมการวินิจฉัยว่าควรมีการผ่าชันสูตรรอบสองหรือไม่อย่างไร ก่อนจะเข้าสู่กระบวนการอีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากศพถูกฌาปนกิจไปแล้ว ก็ไม่สามารถที่จะเก็บหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์ได้

 

นิติเวช ตร.เก็บดีเอ็นเอ ศพนิรนามทุกประเภทตั้งแต่ปี 2555