svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ตร.ไทย- เมียนมา สานความร่วมมือ “จับผตห.-เฝ้าติดตามสารตั้งต้น”

29 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

พล.อ.อ.ชินภัทร - หัวหน้าหน่วยงานปราบปรามยาเสพติด ของทางการเมียนมา ร่วมหารือ 2 ประเด็น 1.การแลกเปลี่ยนข้อมูล นำเข้า - ส่งออก “โซเดียม ไซยาไนด์” เพื่อสกัดปัญหาตั้งแต่การผลิต และสานต่อความร่วมมือจับกุม ผู้ต้องหา ที่หลบหนีข้ามแดน

สืบเนื่องจากปัญหายาเสพติดในประเทศไทยมีสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วง ทางสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดย พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ต้องการให้แสวงหาความร่วมมือระหว่างประเทศ จึงได้มอบหมายให้ พล.ต.อ.ชินภัทร สารสิน รอง ผบ.ตร. ในฐานะ ผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันและปราบปรามยาเสพติด สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ผอ.ศอปส.ตร.)ไปพบปะหารือกับ พลตำรวจจัตวา วิน หน่าย เลขาธิการร่วมคณะกรรมการกลางเพื่อการควบคุมยาเสพติด และผู้บัญชาการสำนักปราบปรามยาเสพติด ประเทศเมียนมาร์ และคณะ ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศเมียนมาร์ เมื่อวันที่ 28 ต.ค.65 ประเด็นในการ หารือ 2 ประเด็น ดังนี้

 

ประเด็นแรก เรื่องสารตั้งต้น เนื่องจากมีการส่งสารตั้งต้นจำนวนมาก ซึ่งทางไทยได้รวบรวมสถิติไว้ ผ่านจากประเทศไทยเข้าประเทศเมียนมาร์ สารตั้งต้นนี้สามารถนำไปผลิตยาเสพติดประเภทยาไอซ์ และยาบ้า มีการอ้างอิงว่าสารตั้งต้นนี้นำไปใช้ในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ทองคำ ซึ่งมีข้อมูลแน่ชัดว่าสารตั้งต้นนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ในการผลิตยาเสพติด เช่น สารตั้งต้นชื่อ โซเดียม ไซยาไนด์ น้ำหนัก 1 ตัน สามารถผลิตยาบ้าได้ 20 ล้านเม็ด หรือยาบ้าได้ 600 กิโลกรัม ระยะ 4 ปี ที่ผ่านมาได้มีการเก็บสถิติการส่งออกสารตั้งต้นประเภทนี้ ผ่านประเทศไทย ปลายทางประเทศเมียนมาร์พบว่ามีจำนวนหลายเมตริกตัน

ตร.ไทย- เมียนมา สานความร่วมมือ “จับผตห.-เฝ้าติดตามสารตั้งต้น”

ทางคณะเจรจาหารือทางฝ่ายเมียนมาร์ ได้ขอบคุณฝ่ายไทย ที่ได้ให้ข้อมูล ถ้าไม่มีสารตั้งต้นก็ไม่สามารถผลิตยาเสพติดได้ นอกจากสารโซเดียม ไซยาไนด์ สารตั้งต้นที่น่าสนใจอีกประเภทใช้เกี่ยวกับยาเสพติดคือ คาเฟอีน โดยหน่วยปราบปรามยาเสพติดได้ให้ความสำคัญในการติดตามการใช้สารตั้งต้นทุกประเภทเพื่อป้องกันการใช้ผิดวัตถุประสงค์ 

ปัจจุบันมีการควบคุมสารเคมีประมาณ 39 ประเภท และทางเมียนมาร์ได้มีการควบคุม โดยให้มีการขออนุญาตก่อนนำเข้า มีการควบคุมจำนวนการใช้ของสารตั้งต้นและจำนวนคงเหลือ จากการแลกเปลี่ยนข้อมูลบริษัทที่เกี่ยวข้องในการนำเข้าสารตั้งต้นเป็นข้อมูลเดียวกันระหว่างไทยและเมียนมาร์ ซึ่งจะมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลอย่างต่อเนื่องเพื่อการป้องกันปราบปรามการนำสารตั้งต้นไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ต่อไป

 

ประเด็นหารือที่ 2 การขอความร่วมมือจับกุมผู้ต้องหา ตามหมายจับคดียาเสพติด ของทางการไทย 

2.1 ผบ.ตร.ขอความร่วมมือ ทางการเมียนมาร์ จับกุมผู้ต้องหาที่กระทำผิดกฎหมายยาเสพติดฝั่งไทย แล้วหลบหนีมาซ่อนตัวอยู่ในฝั่งเมียนมาร์, 

2.2 ทางการเมียนมาร์ยินดีให้ความร่วมมือ จึงได้ส่งหมายจับและตำหนิรูปพรรณผู้ต้องหาคดียาเสพติด ที่สืบทราบว่ามาซุกซ่อนตัว เพื่อให้ทางการเมียนมาร์ ดำเนินการจับกุมส่งทางการไทยรับตัวไปดำเนินคดี

2.3 ข้อจำกัด ฝ่ายเมียนมาร์ ผู้ต้องหาส่วนใหญ่กระทำผิดทั้งสองฝั่ง ต้องดำเนินคดีฝั่งพม่าก่อนส่งให้ทางการไทย และมีการหลบหนีไปซุกซ่อนตัวกับชนกลุ่มน้อยตามแนวชายแดน

2.4 ที่ผ่านมา ทางการเมียนมาร์ได้เคยจับกุมให้ทางการไทยมาโดยตลอด และจะทำการจับกุมให้เพิ่มมากขึ้น เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เมื่อมีกระทำความผิดแล้วหลบหนีข้ามแดนต่อ

พล.ต.อ.ชินภัทร กล่าวว่า จะเร่งรัดการแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งเชิงรุก และเชิงรับ ตลอดจนการประสานความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านอย่างใกล้ชิด เป็นไปตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการแก้ปัญหายาเสพติดอย่างจริงจัง และ นโยบาย 10 ข้อ ของพล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. อย่างเป็นรูปธรรม

ตร.ไทย- เมียนมา สานความร่วมมือ “จับผตห.-เฝ้าติดตามสารตั้งต้น”

logoline