svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

ทนายสุกิจ ป้องคดี “บอส อยู่วิทยา”เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สังคมกดดัน

15 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ทนายสุกิจ ป้องคดี “บอส อยู่วิทยา”เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สังคมกดดัน ชี้การสั่งดำเนินคดีใหม่ตามความเห็นของ "วิชา" ขัดหลักนิติธรรมความเห็น ปธ.สอบ ต้องไม่เเย้งเเนวคำพิพากษาศาลฎีกา

15 ตุลาคม 2565 ความคืบหน้าคดีมหากาพย์ คดี บอส อยู่วิทยา ทายาทเครื่องดื่มดัง ที่ขับรถสปอร์ตหรู ชนเจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทองหล่อจนเสียชีวิต ที่สั่นสะเทือน วงการยุติธรรม ของไทย 

 

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : มติ ก.อ. ให้ "เนตร นาคสุข" อดีตรองอัยการสูงสุด ออกจากราชการ คดี "บอส อยู่วิทยา" 
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : "นิโรธ" อัด ตร. แก้เกี้ยวคดี “บอส อยู่วิทยา” หลังส่ง จนท.ระดับล่างแจง กมธ.
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ตร. แจงความคืบหน้าคดี "บอส อยู่วิทยา" ย้ำตั้งใจไล่ล่าผ่านช่องทาง ตร.สากล
อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : กมธ.ตำรวจ เผยตำรวจเร่งทำสำนวนคดี "บอส อยู่วิทยา" ให้เสร็จ ธ.ค. นี้
 

 

บอส วรยุทธ อยู่วิทยา

ล่าสุดมีรายงานว่า เมื่อวันที่ 13 ต.ค. ที่ผ่านมา นายสุกิจ พูนศรีเกษม ทนายความชื่อดัง ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงคดีดังกล่าว โดยระบุว่า 

 

 

กระบวนการยุติธรรมที่สังคมกดดัน ศึกษากรณี คดีนายวรยุทธ หรือ "บอส" อยู่วิทยา ทายาทเศรษฐี

 

ความเป็นมาและสภาพปัญหา เมื่อวันที่ 3 กันยายน 2555 เวลา 05.00 น.เศษ ได้เกิดอุบัติเหตุ รถยนต์รถเฟอร์รารีเฉียวชน รถจักยานยน ขับขี่โดย ด.ต.วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อ เสียชีวิต

 

หลังเกิดเหตุ สารวัตรปราบปราม สน.ทองหล่อ พา นายสุเวศ หอมอุบล ลูกจ้างของครอบครัวอยู่วิทยา ได้มอบตัวต่อพนักงานสอบสวนว่า เป็นผู้ขับขี่รถยนต์คันที่เกิดเหตุ เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณ

 

พ.ต.อ.วิรดล ทับทิมดีพนักงานสอบสวน ได้รับตัวไว้เป็นผู้ต้องหาส่งฟ้องศาลดำเนินคดี ผู้ต้องให้ให้การรับสารภาพ  ศาลได้ลงโทษจำคุกและเปรียบปรับโทษจำคุก รอลงอาญา อัยการไม่อุทธรณ์

 

สังคมกดดันขบวนการยุติธรรมเบื้องต้นว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจ สน.ทองหล่อ ถูกกล่าวหาว่า ได้สร้างพยานเท็จ ยินยอมให้ นายสุเวศ หอมอุบล รับสมอ้างว่าเป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุ 

 

รวมถึงที่มีการปล่อยข่าวว่า รถยนต์ได้ลากศพของตำรวจไป 200 เมตร  จนท้ายที่สุดอัยการได้ชี้แจงไว้กับคณะ กมธ. ตำรวจ ถึงผลชันสูตรศพและไม่พบบาดแผล ที่ถูกรถยนต์ลากไปกับถนนแต่อย่างใด

 

เป็นเหตุให้ นายวรยุทธ หรือ "บอส" อยู่วิทยา มอบตัวต่อพนักงานสอบสวน และให้การภาคเสธ โดยอ้างว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความผิดของผู้ตาย และผู้ต้องหาเพิ่งดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ภายหลังจากเกิดเหตุการณ์แล้ว 

 

หลังจากผู้ต้องหาได้รับอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว ตำรวจก็ไม่สามารถนำผู้ต้องหานี้ เข้าสู่ขบวนการยุติธรรมได้  
 

 

ทนายสุกิจ ป้องคดี “บอส อยู่วิทยา”เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สังคมกดดัน

เป็นเหตุให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ผู้บังคับบัญชา สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการ เมืองทนายความ ถูกสังคม   กล่าวหาว่า แทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่ของกองพิสูจน์หลักฐาน ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ใช้อิทธิพลบังคับ และการสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ

 

มีการสมคบคิดกันอย่างเป็นระบบ  เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นจากการถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย เป็นข่าวทางสื่อมวลชน สังคมกดดันกระบวนการยุติธรรมตามความรู้สึกของตนเองตามที่ผู้ต้องหา ตกเป็นข่าว

 

พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี  จึงมีคำสั่งแต่งตั้งให้ นายวิชา มหาคุณ เป็นประธาน สอบข้อเท็จจริงและเสนอนายกรัฐมนตรี  ให้เจ้าหน้าที่ตำรวจดำเนินคดีกับนายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ผลการสอบข้อเท็จจริง นายวิชา มหาคุณอ้างว่า พยานกลับคำให้การ  จึงเป็นพยานหลักฐานใหม่ 

 

ทนายสุกิจ ป้องคดี “บอส อยู่วิทยา”เป็นกระบวนการยุติธรรมที่สังคมกดดัน

 

อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และ สน.ทองหล่อ ดำเนินคดีกับ นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา ตามความเห็นข้อเสนอแนะของ นายวิชา มหาคุณ นั้นจึงขัดต่อหลักนิติธรรม  จึงเป็นกรณีศึกษา

 

คดีนี้ข้อเท็จจริงรับฟังเป็นที่ยุติ เมื่อวันที่  3 กันยายน 2555 เวลา 05.00 น.ได้รับแจ้งจากศูนย์วิทยุตำรวจว่า มีเหตุรถยนต์รถเฟอร์รารี ชนรถจักยานยน มีนายดาบตำรวจ วิเชียร กลั่นประเสริฐ ผบ.หมู่งานปราบปราม สน.ทองหล่อ เป็นผู้ขับขี่ ได้ถึงแก่ความตาย เหตุเกิดบริเวณถนนสุขุมวิทชอย 45   

 

พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่ นายวรยุทธ หรือ บอส อยู่วิทยา เป็นผู้ต้องหาในความผิดฐานขับรถประมาทด้วยความเร็วสูง เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย และทำให้รถจักรยานยนต์ผู้ตายได้รับความเสียหาย ไม่หยุดรถให้ความช่วยเหลือผู้ตาย    
             
คดีมีปัญหาที่จะต้องพิจารณาคือ ผู้ต้องหา ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาหรือไม่ เห็นว่า สถานที่เกิดเหตุ มีกล้องวงจรปิดเป็นพยาน ตรงกับคำให้การ นายจารุชาติ มาดทอง ให้การเป็นพยาน ยืนยันว่าในวันเกิดเหตุผู้ต้องหา ขับมาด้วยความเร็วตามปกติ รถจักยานยนต์ของนายดาบตำรวจ วิเชียร์ ผู้ตาย  ขับรถมาทางช่องทางเดินรถซ้ายสุดโดยมิได้เปิดไฟ เกิดเสียการทรงตัว แล้วหมุนเข้าไปใน ทางเดินรถของผู้ต้องหา ในลักษณะขวางตัดหน้าใกล้ทางกลับรถ  ในทางเดินรถรถยนต์ของ ผู้ต้องหา และขวางรถที่ผู้ต้องหาขับมาในระยะกระชั้นชิด 

 

นอกจากนี้เมื่อพิจารณาตามภาพถ่ายวงจรปิดในสถานที่เกิดทุกตัวแล้วรับฟังประกอบกับผลชันสูตรศพผู้ตายไม่พบบาดแผลที่ถูกรถยนต์ลากไปกับถนนแต่อย่างใด กับรับฟังได้ว่า ในวันเกิดเหตุผู้ตาย จึงไม่ได้ขับจักรยานของตน ให้อยู่ ในช่องเดินรถด้านซ้ายตามปกติ 

 

เจือสมกับคำให้การของ พ.ต.ท.สุรพล เดชรัตนวิไชย ผู้เชี่ยวชาญของศาลชึ่งเป็นพยานคนกลาง ให้การว่า ผู้ต้องหาขับรถในขณะชน  นั้น ความเร็วไม่เกิน 80 กม/ชม จึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่า ผู้ตายเปลี่ยนช่องทางเดินรถอย่างกระทันหัน เพื่อกลับรถในช่องทางรถยนต์ ของผู้ต้องหาที่ขับขี่มาทางตรง นั้น
เห็นว่า ในภาวะเช่นนั้นไม่ว่าผู้ต้องหา จะขับมาในลักษณะเช่นใด ย่อมไม่อาจจะหลบหลีก เพื่อมิให้ชนกับรถจักรยานยนต์ผู้ตายขับขี่ได้  จึงมิใช่เป็นผลโดยตรง ที่ทำให้เกิดการเฉี่ยวชนกันรถกับผู้ต้องหา เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย

 

แม้ พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์หลักฐานความเร็ว คดี บอส อยู่วิทยา ผู้ต้องหา จะให้การกลับไปกลับมาว่า ผู้ต้องหาขับรถด้วยความเร็วสูง 

 

อีกทั้ง พนักงานสอบสวน และพนักงานอัยการ จะไม่นำคำให้การของ พ.ต.ท.สุรพล เดชรัตนวิไชย ผู้เชี่ยวชาญของศาล และผลพิสูจน์ความเร็วของรถยนต์ผู้ต้องหา ที่พยานให้การประกอบหลักฐานว่า นายบอส ขับรถในขณะชนความเร็วตามปกติมาพิจารณาก็ตาม  

 

ก็ไม่ทำให้เท็จจริง ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาต้องเปลี่ยนแปลงไป การกระทำผู้ต้องหา จึงไม่มีความผิดฐานขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ตามข้อกล่าวหาได้ ตามนัยคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4883/2553

 

หมายเหตุ  
พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เห็นว่า คดีนี้เป็นคดีขับรถประมาท เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตาย เป็นเรื่องปกติธรรมดา ที่ทุกคนไม่อยากให้เกิดขึ้น  ไม่อยากให้ต่างชาติเห็นว่าเป็นคดีการเมือง  จึงแต่งตั้งให้ นายวิชา มหาคุณ ชึ่งอตีดเป็นผู้พิพากษา เป็นประธานสอบสอบข้อเท็จจริงตามที่ได้รับมอบหมายว่า นั้น

 

ด้วยความเคารพ 
ในการตรวจข้อเท็จจริงนั้นตามหลักสากล ต้องไม่มีอคติ คดีมีมูลความผิดตามข่าวและสังคมกดดัน หรือไม่
มีเจ้าหน้าที่ประจำไม่ว่า พนักงานสอบสวน หรือพนักงานอัยการ นักการเมือง ทนายความ  มีส่วนเกี่ยวข้องในความช่วยเหลือให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากความรับผิดหรือไม่

 

การให้ความเห็นของประธานสอบข้อเท็จจริง มีหลักกฏหมายใดรองรับหรือไม่ และความเห็นต้องไม่ขัดหรือแย้งกับแนวคำพิพากษาศาลฎีกา เว้นแต่จะมีเหตุอื่น เพื่อให้หน่วยงานต้นสังกัดสอบสวนทางวินัย และดำเนินคดีอาญา

 

ข้อเสนอแนะของนายวิชาฯ เป็นเพียงความเห็นเท่านั้นแต่ อัยการตำรวจ ชึ่งปฎิบัติตามหน้าที่ ต้องถูกลงโทษโดยไม่มีความผิด จึงเป็นกรณีศึกษา เพื่อหามาตราการคุ้มครองสิทธิของบุคคล ให้พ้นจากการถูกกลั่นแกล้งได้

 

นายสุกิจ พูนศรีเกษม ทนายความชื่อดัง

logoline