svasdssvasds
เนชั่นทีวี

อาชญากรรม

เปิดสถิติ คนไทยเสียชีวิตเพราะปืนมากน้อยแค่ไหน และทำไมควบคุมปืนไม่ได้

07 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กราดยิงหนองบัวลำภู อีกหนึ่ง “โศกนาฏกรรมหนองบัวลำภู” ที่สร้างความสูญเสีย ความเสียใจให้กับคนไทยทั้งประเทศ คำถามที่ตามมาในตอนนี้ก็คือทำไมควบคุมปืนไม่ได้ ชวนคอข่าวเปิดสถิติไทยเสียชีวิตเพราะปืน สูงมากน้อยขนาดไหนกัน?

จากเหตุการณ์สุดอุกอาจ กราดยิงหนองบัวลำภู ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.อุทัยสวรรค์ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู ทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บหลายราย ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สร้างความโศกเศร้าเสียใจให้กับทุกคนในสังคม ทำให้ประชาชนทั่วประเทศเกิดความหวาดกลัว เสียขวัญกำลังใจ

 

เหตุการณ์รุนแรงครั้งนี้..ไม่ใช่รอบแรกที่มีการกราดยิง

จะเห็นว่า หากย้อนไปเมื่อต้นปี 2563 มีเหตุการณ์เกิดขึ้นถึง 2 ครั้ง ที่ลพบุรีและนครราชสีมา

เราอาจต้องหันมา ทำความเข้าใจความจริงที่ซุกซ่อนอยู่หลังเหตุการณ์นี้ เเละคำถามที่ว่าไทยควบคุมปืนได้ยากจริงหรือไม่ ? กฎหมายการครอบครองปืนมีประสิทธิภาพหรือไม่ และหนำซ้ำคนที่ก่อเหตุร้ายยังเป็นข้าราชการตำรวจ ซึ่งถือเป็นเครื่องมือการสร้างความมั่นคงของรัฐ แต่กลับเป็นบั่นทำลายความมั่นคง และกำลังทำลายความชอบธรรมในการถือครองอาวุธด้วยหรือไม่

 

ทีมข่าวเนชั่นออนไลน์ หยิบยกบทความที่น่าสนใจ โดยการรวบรวมข้อมูลมาอ้างอิงมาจาก ข้อมูลขององค์กรวิจัยในสวิตเซอร์แลนด์ Small Arms Survey เมื่อปี 2560 ระบุว่า

 

ไทยครอบครองอาวุธปืนมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของอาเซียน และอยู่ที่อันดับ 13 ของโลก ครอบครองปืนอยู่ 10,342,000 กระบอก เฉลี่ย 15.1 กระบอก ต่อ 100 คน

 

ขณะที่การใช้อาวุธปืนก่อเหตุในไทย ข้อมูลจากกองสารสนเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปี 2562 ระบุว่า รวมทั้งหมด 31,419 ครั้ง แบ่งเป็นปืนสั้นมีทะเบียน 6,410 ครั้ง ไม่มีทะเบียน 24,348 ครั้ง และเป็นปืนยาว 661 ครั้ง

 

ส่วนในปี 2565 ข้อมูลจาก Gun Deaths by Country 2022 ระบุว่า ไทยมีอัตราผู้มีเสียชีวิตจากอาชญากรรมปืนสูงเป็นอันดับ 3 ของเอเชีย 3.91 ต่อ 100,000 คน เป็นรองอิรัก และ ฟิลิปปินส์ 

 

เป็นคำถามว่าไทยนำเข้าอาวุธที่พลเรือนครอบครองได้มาก แล้วมาตรการควบคุมการเข้าถึงเหมาะสมหรือไม่ และมีประสิทธิภาพมากน้อยแค่ไหน

เมื่อมาดูกฎหมายในประเทศไทยมี “พระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียม อาวุธปืน พ.ศ. 2490” ใช้บังคับตั้งแต่ พ.ศ. 2490 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งตามข้อมูลงานวิจัยระบุว่า พระราชบัญญัติได้มีการแก้ไข เพิ่มเติม รวม 9 ครั้ง

 

โดยกระทรวงมหาดไทย เป็นหน่วยงานมีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินการตามบทบัญญัติของพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืนพ.ศ. 2490 และมอบหมายให้กรมการปกครอง มีหน้าที่รับผิดชอบในการบังคับใช้ควบคุมกำกับดูแล การทำ ซื้อ มีใช้ สั่ง นำเข้าจำหน่ายอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืน ตลอดจนการอนุญาต อนุมัติและการจำกัดอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนให้เป็นไปตามกฎหมาย อำนาจการควบคุมอาวุธปืนในประเทศไทย เป็นไปตามบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิงและสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490

 

ซึ่งกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทยเป็นหน่วยงานหลักในการบังคับใช้ ซึ่งมาตรการควบคุมจะเริ่มตั้งแต่การพิจารณาใช้อำนาจทางปกครองตามกรอบที่กฎหมาย มี 3 ส่วนสำคัญคือ ส่วนของประชาชนผู้ที่ต้องการอาวุธปืน ร้านค้าผู้ประกอบกิจการค้าอาวุธปืนและพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย

 

//

ประชาชนหากต้องการซื้อ มี และใช้อาวุธปืน ต้องมีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ตามกฎหมายกำหนด คือ เพื่อป้องกันชีวิตและทรัพย์สิน เพื่อการกีฬา หรือ เพื่อเก็บเท่านั้น และที่สำคัญคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด เช่น ต้องไม่เคยต้องโทษจำคุกในคดีอาญาร้ายแรงและต้องไม่มีพฤติกรรมประพฤติชั่วร้ายแรงอันอาจกระทบกระเทือนถึงความสงบเรียบร้อยของประชาชน เป็นต้น 

 

ร้านค้าผู้ประกอบกิจการค้าอาวุธปืน ปัจจุบันยังไม่มีนโยบายที่จะจำกัดร้านค้าโดยเด็ดขาดให้มีการเพิ่มจำนวนร้านค้าและร้านค้าที่มีอยู่ก็จะต่อใบอนุญาตทุกปี จำนวนอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่ร้านค้าแต่ละร้านจะมีจำหน่ายได้ถูกควบคุมโดยคำสั่งกระทรวงมหาดไทย ให้สั่งนำเข้าและมีเพื่อจำหน่ายในแต่ละปีได้ ไม่เกินจำนวนที่กำหนด คือ ปืนสั้นไม่เกิน 30 กระบอก ปืนยาวไม่เกิน 50 กระบอก/ต่อปี3

 

ส่วนการควบคุมการนำเข้าได้มีคำสั่งกระทรวงมหาดไทย จำกัดการออกใบอนุญาตให้บุคคลสั่งหรือนำเข้าซึ่งอาวุธปืนสั้นและเครื่องกระสุนที่ใช้สำหรับอาวุธปืนสั้นต้องขอรับความเห็นชอบ จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยก่อนที่นายทะเบียนท้องที่จะอนุมัติได้

 

และต้องให้ร้านค้าที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สั่งนำเข้าและให้นับอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนที่นำเข้ารวมกับจำนวนโควตาของร้านนั้นด้วย อาวุธที่ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตส าหรับให้ท า หรือสั่ง หรือนำเข้า ซึ่งอาวุธปืนหรือเครื่องกระสุนปืน เพื่อการค้าหรือเพื่อใช้ส่วนตัว เช่น ปืนกลทุกชนิด ปืนยิงเร็ว หรือปืนซึ่งมีเครื่องกลไกที่บรรจุกระสุนเองให้สามารถยิงซ้ำได้ทุก ขนาด เป็นต้น

 

และอาวุธปืนที่นายทะเบียนจะออกใบอนุญาตให้ได้ต้องเป็นอาวุธปืนชนิดและขนาดที่กล่าวไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2522) ออกตามความในพระราชบัญญัติอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน พ.ศ. 2490

 

นี่อาจะถึงเวลาแล้วหรือยังที่เราต้องกลับมาทบทวนระบบและกฎหมายเกี่ยวกับการครอบครองปืน ที่ได้ใช้บังคับมาเป็นเวลานาน บทบัญญัติบางประการเหมาะสมกับปัจจุบันหรือไม่ โดยเฉพาะหลักเกณฑ์การอนุญาตให้มีและใช้อาวุธปืน การควบคุมการตรวจสอบและการลงโทษ เพราะสภาพสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป อาจมีผลให้การควบคุมการมีและใช้อาวุธปืน ที่ไม่มีประสิทธิภาพ ไม่สอดคล้องและเหมาะสมกับปัจจุบัน ?? 

 

ขอขอบคุณที่มา : ฐานเศรษฐกิจ

 

logoline