svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ข่าว

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ คาดลูกไฟสีเขียวลอยเหนือท้องฟ้า เป็น "ดาวตกชนิดลูกไฟ"

05 มีนาคม 2567
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สรุปเหตุการณ์ "ลูกไฟสีเขียว" ลอยเหนือท้องฟ้า ด้าน สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ ไขคำตอบ คาดเป็น "ดาวตกชนิดลูกไฟ" แสงสีเขียว บ่งบอกว่ามีส่วนประกอบของธาตุนิกเกิล

เมื่อช่วงค่ำวานนี้ (4 มีนาคม 2567) บนโลกออนไลน์มีคนแจ้งว่าพบเห็นลูกไฟสีเขียวขนาดใหญ่ มองเห็นได้ด้วยตาเปล่าหลายพื้นหลายพื้นที่ในจังหวัดแถบภาคกลาง และภาคตะวันออกของไทย อาทิ กรุงเทพมหานคร และปริมณฑล พระนครศรีอยุธยา สุพรรณบุรี กาญจนบรี ชลบุรี สมุทรสาคร นครนายก ปราจีนบุรี เพชรบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา เป็นต้น

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ คาดลูกไฟสีเขียวลอยเหนือท้องฟ้า เป็น \"ดาวตกชนิดลูกไฟ\"

ด้าน "สมาคมดาราศาสตร์ไทย" ออกมาแจ้งว่ากำลังเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง และจะรีบรายงานให้ทราบ ต่อมาสมาคมฯ อ้างอิงข้อความจากบัญชี X ของ Jonathan McDowell ผู้เชี่ยวชาญด้านอวกาศจากสหรัฐ 🇺🇲 สรุปคือ ดาวตกดวงใหญ่

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ คาดลูกไฟสีเขียวลอยเหนือท้องฟ้า เป็น \"ดาวตกชนิดลูกไฟ\" สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ คาดลูกไฟสีเขียวลอยเหนือท้องฟ้า เป็น \"ดาวตกชนิดลูกไฟ\"

ล่าสุดวันนี้ (5 มีนาคม 2567) นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการวิชาการและสื่อสารทางดาราศาสตร์ สดร. ออกมาให้ข้อมูลปรากฏเป็นลูกไฟสีเขียวขนาดใหญ่วิ่งพาดผ่านท้องฟ้าเป็นแนวยาว คืนวันที่ 4 มีนาคม 2567 เวลาประมาณสามทุ่มเศษ ว่า

ดาวตก (Meteorite) เกิดจากการที่วัตถุท้องฟ้าขนาดเล็กผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลก เสียดสีกับชั้นบรรยากาศ ที่ระดับความสูงประมาณ 80-120 กิโลเมตร มีลักษณะเป็นแสงสว่างวาบพาดผ่านท้องฟ้า ยิ่งวัตถุมีขนาดใหญ่ ความร้อนและแสงสว่างที่เกิดขึ้นก็มากตามไปด้วย

จากคลิปวิดีโอและภาพถ่ายดังกล่าว ดาวตกที่ปรากฏมีขนาดใหญ่ และสว่างมาก ความสว่างใกล้เคียงกับดาวศุกร์ จึงสันนิษฐานว่าเป็นดาวตกชนิด #ลูกไฟ (Fireball) ทั้งนี้ แสงสีเขียวของดาวตก สามารถบ่งบอกได้ว่ามีส่วนประกอบของธาตุนิกเกิล ซึ่งเป็นธาตุโลหะ

ปัจจัยที่ส่งผลต่อสีของดาวตก เกิดจากเศษหินและฝุ่นของดาวหาง หรือดาวเคราะห์น้อย พุ่งเข้ามาชนกับชั้นบรรยากาศโลกด้วยความเร็วสูงมาก เกิดการเสียดสีและเผาไหม้ ทำให้อะตอมของดาวตกเปล่งแสงออกมาในช่วงคลื่นต่างๆ เราจึงมองเห็นสีของดาวตกปรากฏในลักษณะที่แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับสองปัจจัย ได้แก่ องค์ประกอบทางเคมี โมเลกุลของอากาศโดยรอบ

ในแต่ละวันจะมีวัตถุขนาดเล็กผ่านเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกเป็นจำนวนมาก เราสามารถพบเห็นได้เป็นลักษณะคล้ายดาวตก และยังมีอุกกาบาตตกลงมาถึงพื้นโลกประมาณ 44-48.5 ตันต่อวัน แต่พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ห่างไกลผู้คน จึงไม่สามารถพบเห็นได้ ดาวตกนั้นจึงเป็นเรื่องปกติและสามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ คาดลูกไฟสีเขียวลอยเหนือท้องฟ้า เป็น \"ดาวตกชนิดลูกไฟ\"

ด้าน "อาจารย์เจษฎ์" รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊กเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

"เวลาอยู่บนฟ้า เรียก "ดาวตก" เจอเป็นก้อนที่พื้นค่อยเรียก "อุกกาบาต"

เย็นวันนี้ เห็นคนโพสต์กันใหญ่เลย ว่าเห็นแสงไฟประหลาด สีออกเขียว อยู่บนท้องฟ้า พุ่งลงมา เห็นได้ในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะจังหวัดภาคกลาง

ซึ่งก็ไม่น่ามีอะไรน่าตกใจนะครับ มันก็คือสะเก็ดดาวที่พุ่งจากอวกาศ เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก ลงสู่พื้นโลกนั่นเอง แล้วมันก็เกิดขึ้นเป็นระยะๆ อยู่แล้ว

ประเด็นคือ สำนักข่าวส่วนใหญ่ชอบพาดหัวข่าวว่ามีคนเห็น "อุกกาบาต" กัน...ซึ่งไม่ถูกนะครับ! ควรใช้คำว่า "ดาวตก" หรือคำว่า "ผีพุ่งไต้" หรือคำว่า "ลูกไฟ" จะถูกต้องกว่าครับ

คำว่า "สะเก็ดดาว อุกกาบาต ดาวตก ผีพุ่งไต้ ลูกไฟ ฝนดาวตก" ใช้ต่างกัน ดังนี้

สะเก็ดดาว (meteoroid) : เป็นชิ้นวัตถุแข็งจำพวกหินกับเหล็ก เกิดจากส่วนหนึ่งของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะ และบางส่วนเกิดจากเศษที่แตกหักของดาวหาง วัตถุเหล่านี้ตอนอยู่ในอวกาศ

ต่อมาเมื่อสะเก็ดดาวโคจรเข้ามาอยู่ในรัศมีแรงโน้มถ่วงของโลก ทำให้มันถูกดึงดูดลงยังพื้นโลกด้วยความเร็วช่วง 19 ถึง 40 กิโลเมตรต่อวินาที จนเกิดการเสียดสีกับบรรยากาศจนร้อนจัด และหลอมตัวเป็นลูกไฟสว่าง

ดาวตก หรือ ผีพุ่งไต้ (meteor) : ใช้เรียกเมื่อสะเก็ดดาวเคลื่อนที่เข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก จนเกิดความร้อนและแสงสว่าง ส่วนมากมักลุกไหม้หมดก่อนถึงพื้นโลก

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์ฯ คาดลูกไฟสีเขียวลอยเหนือท้องฟ้า เป็น \"ดาวตกชนิดลูกไฟ\"

ลูกไฟ (Fireball) หรือโบลายด์ (Bolide) : คือดาวตกที่ส่องแสงสว่างมาก ๆ เกิดจากวัตถุนอกชั้นบรรยากาศตกลงมาสู่โลก และเกิดการเผาไหม้จึงเห็นไฟเป็นสีต่างๆ

โดยสีที่เห็นนั้นขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมี อาทิ

  • สีแดง (มีองค์ประกอบของ ไนโตรเจนและออกซิเจน)
  • สีเหลือง (มีองค์ประกอบของ ไอรอน หรือเหล็ก)
  • สีม่วง (มีองค์ประกอบของ แคลเซียม)
  • สีส้มอมน้ำตาล (มีองค์ประกอบของ โซเดียม)
  • สีเขียวอมฟ้า (มีองค์ประกอบของ แมกนีเซียม)


อุกกาบาต (meteorite) : ใช้เรียกชิ้นส่วนของสะเก็ดดาวที่สลายตัวไม่หมด จนตกลงมาถึงพื้นโลก แบ่งเป็น 3 ประเภทคือ หิน (stone) เหล็ก (iron) เหล็กปนหิน (Stone-Iron)

ฝนดาวตก (meteor shower) : ปรากฏการณ์ที่เกิดดาวตกจำนวนมากในอัตราที่ถี่กว่าปกติ เกิดจากโลกโคจรฝ่าเข้าไปในธารอุกกาบาต ซึ่งสะเก็ดดาวเหล่านั้นก็จะตกลงสู่บรรยากาศโลกกลายเป็นดาวตก ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์บนโลก

ขอบคุณภาพจาก : Pana Pom

logoline