svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แพทย์ เผยพบซีเซียม137 ปริมาณน้อย แต่ยังเฝ้าระวังสุขภาพปชช.ในพื้นที่

22 มีนาคม 2566
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แพทย์หน่วยพิษวิทยาวชิรพยาบาลฯ เผยผลประชุมร่วมกับคณะแพทย์ศาสตร์ทั่วประเทศ พบว่าปริมาณสารซีเซียม 137 มีน้อย ไม่พบการปนเปื้อนในดินและน้ำ สั่งเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนในพื้นที่

22 มีนาคม 2566 รศ.นพ.ฤทธิรักษ์  โอทอง หน่วยพิษวิทยา  ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน  คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลฯ เปิดเผยถึงกรติดตามความคืบหน้ากรณีสารซีเซียม 137 ว่า ขณะนี้จากข้อมูลที่มีการรายงาน ซึ่งทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการเก็บตัวอย่าง ดิน น้ำ ในพื้นที่ มาตรวจวิเคราะห์หาสารกัมมันตรังสีเซียม 137  เบื้องต้นยังไม่พบการปนเปื้อน  

โดยล่าสุดได้มีการประชุมเพื่อทราบข้อมูลถึงเรื่องดังกล่าว ประกอบด้วย คณบดีโรงเรียนมหาวิทยาลัยแพทย์ทั่วประเทศ  กระทรวงอุดมศึกษาฯ  ซึ่งมีการจัดตั้งทีมเฉพาะกิจฉุกเฉินจากมหาวิทยาลัยต่างๆ จากภายนอกที่จะเข้าร่วมสำรวจ  โดยจะเปิดให้ประชาชนสามารถเข้ามาร่วมสังเกตได้ด้วย ถึงการดำเนินงาน  เพื่อสร้างความมั่นใจว่าสารซีเซียม 137  รวมถึงการตรวจสอบฝุ่นแดง ที่มาจากการหลอม ได้มีการจัดเก็บอย่างปลอดภัย ไม่ได้หลุดออกไปจากโรงงาน  ส่วนขั้นตอนที่ว่าเมื่อหลอมเสร็จแล้วมีการส่งต่อไปที่ใดบ้างก็ต้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ทำการตรวจสอบติดตามต่อไป  นอกจากฝุ่นแดงแล้ว ยังมีส่วนอื่น ที่หลุดลอดออกไปหรือไม่ เช่น ถูกนำไปหลอมเป็นเหล็กแท่งส่งไปยังโรงงานอื่นอีกหรือไม่

รศ.นพ.ฤทธิรักษ์  โอทอง หน่วยพิษวิทยา  ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน  คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาลฯ

ขณะเดียวกัน ข้อมูลทางการแพทย์ ตอนนี้ ถึงแม้จะยังไม่มีผู้ป่วย หรือได้รับผลกระทบจากซีเซียม 137   แต่หากสัมผัสสารซีเซียม 137 อาการจะมากน้อยแตกต่างกัน อยู่ที่ปริมาณการรับสารเข้าไปในร่างกาย  ทว่าจากข้อมูลที่ประชุมในเมื่อวาน เบื้องต้นปริมาณความแรงของสารซีเซียม 137  อยู่ที่ 41 มิลลิคิวรี่ หรือ เทียบเท่าการทำ CT Scan ถือว่าไม่ได้อันตรายต่อร่างกายมนุษย์มาก ขนาดที่จะมีผลทันที  ซึ่งจากข้อมูลก็ยังพบอีกว่าสารกัมมันตรังสีในแท่งซีเซียม 137 มีปริมาณน้อยมาก ซึ่งอยู่ในพื้นที่มาแล้ว 30 ปี และเหลืออีกครึ่งหนึ่ง


รศ.นพ.ฤทธิรักษ์  ยังได้อธิบายถึงการสัมผัสสารกัมมันตรังสี หากแผ่รังสีเยอะ โดนในปริมาณที่เยอะเกิน 10 เกรย์ (GY )จะเสียชีวิตภายใน 3 วัน  โดยจะมีอาการทางสมองเป็นหลัก หัวใจล้มเหลว ระบบเลือดล้มเหลวและเสียชีวิตในที่สุด หากรับในปริมาณระดับปานกลางอยู่ที่ 6 เกรย์  จะมีอาการท้องเสีย บริเวณทางเดินอาหารมีเลือดไหล ติดเชื้อได้ง่าย อาจจะใช้ระยะเวลากว่า 1 เดือน ถึงจะเสียชีวิต และหากรับในปริมาณที่น้อย 2-4 เกรย์ จะมีความผิดปกติของเลือด เม็ดเลือดขาวลดลง ติดเชื้อได้ง่าย  ซึ่งในส่วนนี้ ปัจจุบันมีการรักษาด้วยยา  ทำให้กระตุ้นเม็ดเลือดขาวเพิ่มขึ้น ซึ่งไทยยังไม่มียารักษาดังกล่าวต้องนำเข้าเท่านั้น  แต่หากรับสารในปริมาณที่น้อยมาก ไม่ถึง 1 เกรย์ อาจจะมีเพียงอาการคลื่นไส้อาเจียน และจะไม่มีอาการที่นำไปสู่อาการที่รุนแรง

แพทย์ เผยพบซีเซียม137 ปริมาณน้อย แต่ยังเฝ้าระวังสุขภาพปชช.ในพื้นที่

สำหรับการเฝ้าระวังสุขภาพประชาชนในพื้นที่โรงงานหลอม  เบื้องต้น วิธีการตรวจ คือ ตรวจเลือด ตรวจปัสสาวะ และตรวจอุจจาระ เนื่องจากหากมีการรับสารกัมมันตรังสีเข้าไปในร่างกาย ด้วยการสูดหายใจเข้าไป สารก็จะลงไปที่ตับและขับออกทางท่อน้ำดี ขับออกทางปัสสาวะและอุจจาระ โดยสามารถตรวจด้วยวิธีการสแกนหารังสีแกมมาได้ หากไม่มีรังสีออกมาก็ปลอดภัย

ทั้งนี้ หากสารซีเซียม 137 ถูกกำจัดออกไปแล้ว และมีการกำจัดอยู่ในระบบปิดอย่างที่ข้อมูลในพื้นที่รายงานออกมา  รวมถึงมั่นใจว่าไม่มีการรั่วไหลออกมาขณะที่มีการขนส่งหรือนำไปทำลาย  มีการเก็บตัวอย่างน้ำ ตัวอย่างดินอย่างละเอียด ทั้งหมดโดยรอบบริเวณ 5 กิโลเมตรแล้ว ยังไม่พบความผิดปกติ ก็คาดว่าน่าจะปลอดภัยได้ในระดับหนึ่ง จนกว่าจะมีข้อมูลถึงความผิดปกติออกมา ก็อาจจะต้องมีการตรวจซ้ำอีกครั้ง โดยเฉพาะในช่วงที่ฝนตก ซึ่งก็จะต้องเก็บตัวอย่างน้ำ ตัวอย่างดินมาตรวจอย่างละเอียด ในระยะ 5 กิโลเมตรแล้วยังไม่พบความผิดปกติก็ถือว่าปลอดภัย

แพทย์ เผยพบซีเซียม137 ปริมาณน้อย แต่ยังเฝ้าระวังสุขภาพปชช.ในพื้นที่


ส่วนการป้องกันของประชาชนในพื้นที่ ให้ระวังการหายใจ เช่น การสวมใส่หน้ากากอนามัย  การรับประทาน เลือกรับประทานอาหารให้มากขึ้น หลีกเลี่ยงแหล่งอาหารที่อยู่บริเวณโดยรอบโรงงาน เช่น ปลา พืชผัก  และแผลตามร่างกาย โดยขออย่าให้ประชาชนตื่นตระหนกจนเกินไปเนื่องจากข้อมูลในพื้นที่ เบื้องต้นในการตรวจอย่างละเอียด ยังไม่พบความผิดปกติของสารซีเซียม 137 ทั้งในดินและน้ำ และปริมาณของสารซีซั่น 137 ในตัวแท่งเหล็กมีปริมาณน้อย อย่างไรก็ตาม หากซีเซียม 137 หลุดออกไปในอากาศ จะสังเกตยาก เนื่องจากเป็นผงสีขาว  แต่หากเป็นโคบอลต์  60 จะมีลักษณะโลหะแข็ง ออกสีฟ้าๆ และจะมีค่าชีวิตหรืออายุอยู่ได้ 5 ปี  ซึ่งจะอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้ไม่นาน

ส่วนประเด็นที่มีความกังวลถึงการหลุดรอดของฝุ่นแดงจากการหลอมของซีเซียม 137 แล้วสามารถแพร่กระจาย ไกลได้ถึง 1,000 กิโลเมตรนั้น รศ.นพ.ฤทธิรักษ์  โอทอง  ระบุว่า เบื้องต้นข้อมูลน่าจะมีความคลาดเคลื่อนบ้าง เนื่องจากเวลาพูดถึงสารกัมมันตรังสี ก็จะมีการพูดไปในทิศทางที่มีการแพร่กระจายปริมาณสูง   และคาดว่าน่าจะเป็นการหยิบยกมาจากกรณีเหตุการณ์เชอร์โนบิล ประเทศยูเครน เป็นโรงงานนิวเคลียร์ ที่มีสารกัมมันตรังสีจำนวนมาก พอระเบิดแล้วขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศสูง ทำให้กระจายไปเยอะ พอเกิดฝนตก ก็จะเกิดการชะล้างและปนเปื้อนไปในสภาพแวดล้อมต่างๆ  ซึ่งต่างจากซีเซียม 137 ที่ข้อมูลขณะนี้พบในปริมาณที่น้อยมาก

โดยหากดูภาพ ลักษณะของแท่งเหล็กซีเซียม 137 ที่เห็นนั้น คือ ภายนอก คือ โลหะหนัก 25 กิโลกรัม ถือเป็นเกราะป้องกัน เช่น ตะกั่วเหล็ก  ส่วนตัวสารซีเซียม137 ข้างในไม่เยอะ อย่างไรก็ตาม หากหลุดออกไป แล้วจะเกิดอันตรายมากน้อยขนาดไหนคงต้องเก็บตัวอย่างน้ำดินไปตรวจสอบว่าพบสารที่ผิดปกติหรือไม่หรือไม่

logoline