svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

KKP คาดเศรษฐกิจ ไทยปีหน้า โตได้เพียง 2%

29 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร หรือ KKP ปรับลด ประมาณการ ตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจ ของไทย ในปีหน้า เหลือ 2.8% หลังพบ ยังมีปัจจัยลบ จากทั้งภาวะเศรษฐกิจโลก เงินเฟ้อระดับสูง และ ราคาพลังงาน

ธนาคารเกียรตินาคินภัทร จำกัด (มหาชน) หรือ KKP ประเมินสถานการณ์ เศรษฐกิจในปีหน้า ว่า เศรษฐกิจโลก จะสู่ภาวะถดถอยมากขึ้น จากอัตราเงินเฟ้อสูง ราคาพลังงานปรับเพิ่มขึ้น และ การปรับอัตราดอกเบี้ยขึ้นอย่างรวดเร็ว เพื่อชะลอเงินเฟ้อ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทย ทำให้ภาคการส่งออกอาจจะหดตัวลงไปด้วย

โดยคาดว่าในปี 2566  เศรษฐกิจไทยจะสามารถเติบโตได้เพียง 2.8% จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะโตได้  3.6% แม้คาดว่านักท่องเที่ยวจะกลับเข้าเพิ่มขึ้นเป็น 19.2 ล้านคนจาก 10 ล้านคนในปีนี้ ชี้ให้เห็นภาพ การฟื้นตัวในปีหน้าว่า จะมีความแตกต่างอย่างมาก ระหว่างภาคบริการ และ ภาคการผลิต 

ทั้งนี้ ยังคงมี 5 ปัจจัยสำคัญ ที่ต้องจับตามอง ในปี 2566 ได้แก่

1.ความถดถอยของเศรษฐกิจโลก ที่คาดว่าในช่วงไตรมาส1-3 จะส่งผลให้การส่งออกของไทยปีหน้าหดตัวลง 1.8%  โดยเฉพาะการปิดเมือง ตามมาตรการควบคุมโควิด-19 ของประเทศจีน ที่จะกระทบต่อภาคการส่งออกและภาคการท่องเที่ยว มากขึ้น ซึ่งเชื่อว่าในกรณีเลวร้ายที่สุด เศรษฐกิจไทยจะเติบโตโตต่ำกว่า 2% 

2. ราคาน้ำมัน  ที่แม้ช่วงที่ผ่านมาจากปรับราคาลดลงบ้าง ตามทิศทางอัตราเงินเฟ้อ แต่การเปิดประเทศของหลายๆประเทศทั่วโลก ก็ทำให้ความต้องการใช้มากขึ้น และ ดันให้ราคาน้ำมันกลับมาสูงอีก อาจส่งผลกระทบค่าครองชีพและดุลการค้าของไทย

 

 

3. สถานการณ์ เงินเฟ้อ ของไทย ที่ยังคงอยู่ ในระดับสูงกว่า กรอบเป้าหมาย ของ ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ มากกว่า 3% โดยในปีหน้า ยังคงมีความไม่แน่นอนสูง และ ยังมีหลายปัจจัย ที่กดดันเงินเฟ้อ ให้สูงขึ้นได้ อาทิ การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในประเทศ การปรับค่าไฟฟ้า และ การชดเชย การอุดหนุนน้ำมันดีเซล

4. ค่าเงินบาท ในปีหน้ายังมีแนวโน้มผันผวน และมีความเสี่ยงที่จะยังคงมีทิศทางอ่อนค่าได้อยู่ จากผลตอบแทนตลาดหุ้นต่างประเทศที่ดีขึ้นหลังจากปัญหาเงินเฟ้อจบลง ทำให้เงินลงทุนอาจไหลออกจากไทยได้

5. อัตราดอกเบี้ย ประเมินว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังจำเป็นต้อง ปรับดอกเบี้ย ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปีหน้า โดยเป็นการขึ้นต่อเนื่อง จนถึงระดับ 2.25% ในช่วงไตรมาส 3 ปีหน้า ซึ่งนับเป็นความท้าทายสำคัญในภาวะที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวไม่ดี และหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูงมาก

 

 

logoline