svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ผู้เชี่ยวชาญเตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทุกภาค เสี่ยงน้ำท่วมรอระบาย

22 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทั่วทุกภาค กทม.-ปริมณฑล เสี่ยงสูงน้ำท่วมรอระบาย แนะเตรียมวางแผนการเดินทาง

ผู้เชี่ยวชาญเตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทุกภาค เสี่ยงน้ำท่วมรอระบาย

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทั่วทุกภาค กทม.-ปริมณฑล เสี่ยงสูงน้ำท่วมรอระบาย

จากกรณีที่ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเตือน ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณประเทศไทยและคลื่นลมแรงบริเวณอ่าวไทยตอนบน ในช่วงวันที่ 21-24 พ.ย. 2565

ทางด้าน ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ได้โพสต์เฟซบุ๊กเตือนภัยประชาชนเกี่ยวกับฝนตกหลงฤดู , น้ำท่วม และแนะรัฐถึงการบริหารจัดการน้ำ โดยมีการระบุว่า

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทั่วทุกภาค กทม.-ปริมณฑล เสี่ยงสูงน้ำท่วมรอระบาย แนะเตรียมวางแผนการเดินทาง

"ฝนตกหนักหลงฤดูระวังน้ำท่วมรอระบายในเมือง บริหารน้ำต้องรู้พื้นที่จริงศึกษาจริงปฏิบัติจริงเจ้าภาพชัดเจน

ตั้งแต่วันที่ 22-25 พฤศจิกายน ฝนตกหนักหลงฤดูทั่วทุกภาค (แต่ลมไม่แรงมาก อุณหภูมิสูงขึ้นมานิดหน่อย) จากหย่อมความกดอากาศต่ำในทะเลจีนใต้ และทะเลอันดามัน เริ่มจากภาคอีสานล่าง (วันที่ 22 พ.ย.) ต่อเนื่องภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคอีสาน ภาคใต้ตอนบน (วันที่ 23-24-25 พ.ย.) และค่อยๆเบาลงทั่วทุกภาค (วันที่ 26 พ.ย.) เกษตรกรควรงดตากผลผลิตในช่วงวันดังกล่าว  พื้นที่เปิดในต่างจังหวัด พื้นที่ที่มีความชื้นในดินต่ำ ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำ ลำคลองลดต่ำลงกว่าตลิ่งจะมีความเสี่ยงน้ำท่วมต่ำ แต่พื้นที่ปิดในเมืองพื้นผิวแข็ง รวม กทม. และปริมณฑล จะมีความเสี่ยงสูงกว่าจากน้ำท่วมรอระบาย จึงควรวางแผนการเดินทางช่วงวันที่ 23-24-25 พฤศจิกายนนี้ด้วยน่ะครับ

ผู้เชี่ยวชาญเตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทุกภาค เสี่ยงน้ำท่วมรอระบาย

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทั่วทุกภาค กทม.-ปริมณฑล เสี่ยงสูงน้ำท่วมรอระบาย รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทั่วทุกภาค กทม.-ปริมณฑล เสี่ยงสูงน้ำท่วมรอระบาย แนะเตรียมวางแผนการเดินทาง

ผู้เชี่ยวชาญเตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทุกภาค เสี่ยงน้ำท่วมรอระบาย ผม และคณะทำงานฯได้เดินทางไปสำรวจน้ำภาคอีสาน (ขอนแก่น ร้อยเอ็ด) วันที่ 17-18 พฤศจิกายน  (หลังน้ำลด) พบว่า ยังคงมีน้ำค้างทุ่งอยู่ปริมาณมาก และบางแห่งเริ่มเน่าเสีย โดยเฉพาะในลุ่มน้ำชี สำรวจผนังกั้นน้ำขาดหลายแห่ง สำรวจสภาพตลิ่งซึ่งปัจจุบันน้ำกำลังลดลง และปัญหาวิกฤติที่จะตามมาคือ ตลิ่งกำลังพังจาก Rapid drawdown (ระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็ว) เนื่องจากเป็นตลิ่งแบบดินปนทราย จะต้องใช้งบประมาณมหาศาล จึงควรแก้ปัญหาให้ตรงจุด ร่วมกับท้องถิ่น ชาวบ้าน สถานศึกษา (นวัตกรรม Soil cement เป็นทางออกหนึ่งที่ประหยัด และรวดเร็วในการทำงาน)

พื้นที่ภาคอีสานกลับมาแล้งอีก หลังจากน้ำท่วมหนัก 2-3 เดือนที่ผ่านมา มันเกิดอะไรขึ้น เรื่องของการจัดการทั้งนั้นเลย ด้าน Supply มีอ่างเก็บน้ำ พื้นที่ชุ่มน้ำหลายแห่งไม่มีน้ำ ตื้นเขิน ทั้งๆที่เพิ่งท่วมไป ห้วยหนอง คลองบึง ฝนทุกเม็ด น้ำทุกหยด ต้องกัก เก็บ หน่วง และใช้เป็นน้ำต้นทุน ในขณะเดียวกันด้าน Demand ต้องถามตรงๆว่าเราใช้น้ำกันอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลหรือไม่ ทำไมผลผลิตข้าวต่อไร่เราต่ำกว่าค่าเฉลี่ยโลก ทำไมชาวนายิ่งทำ ยิ่งจน ทำมาก ได้น้อย และทำไมปล่อยปะละเลยกันมาหลายสิบปี คิดกันเฉพาะโครงการใหม่ๆ ใหญ่ๆ งบประมาณมากๆ คันกั้นน้ำพังทุกปี ชาวบ้านรับเคราะห์ทุกปี ตั้งงบประมาณซ่อมแซมทุกปี 


ผมรับประกันได้เลยว่าถ้าทำตามสิ่งที่ผมพูดมาทั้งหมด ใช้คนรู้พื้นที่จริง ศึกษาจริง ทำจริง มีเจ้าภาพชัดเจน ภายใน 5 ปี ภาคอีสานจะไม่มีท่วม และไม่มีแล้ง และ จะกลับมาสมบูรณ์พูลสุขตลอดไป"

นอกจากนี้ ท่านอาจารย์เสรี ยังโพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับ ประเด็นร้อนๆ ของสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจ จึงขอนำมาฝากคอข่าวเนชั่นกันตรงนี้ ..

ผู้เชี่ยวชาญเตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทุกภาค เสี่ยงน้ำท่วมรอระบาย

COP27กับการเปลี่ยนผ่านจากรหัสแดงสู่เส้นทางนรกของสภาพภูมิอากาศ

#การเปลี่ยนผ่านจากการพัฒนาอย่างยั่งยืนไปสู่CRD

• แม้จะเป็นเรื่องยากต่อความเข้าใจ แต่สังคมไทยต้องเรียนรู้ เพราะอนาคตลูกหลานไทยขึ้นอยู่กับการกระทำในอดีต-ปัจจุบันของพวกเรา สถานการณ์ล่าสุดของโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงการปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกกำลังเผชิญกับจุดพลิกผันของวิกฤติสภาพภูมิอากาศที่ไม่สามารถหวนคืนกลับได้ เสมือนว่าเรากำลังอยู่บนถนนที่มุ่งไปสู่นรกของสภาพภูมิอากาศ (Climate hell) ตามคำกล่าวของเลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส ในการเปิดประชุม COP27 ที่ประเทศอียิปต์ เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

• ผมในฐานะหนึ่งในคณะทำงาน IPCC ซึ่งได้ร่วมประเมินกับนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกมีข้อมูลวิทยาศาสตร์ที่สำคัญหลายประการ กล่าวคือ 1) การปลดปล่อยแก๊สเรือนกระจกโดยรวมในปัจจุบันเพิ่มขึ้นประมาณ 12% และ 54% (จากปี 2553 และ 2543) แต่ในทางกลับกันจะต้องทำให้ลดลง 7.6 % และ 2.7% ต่อปี (ระหว่างปี 2563-2573) เพื่อจะรักษาอุณหภูมิไม่ให้เกิน 1.5 และ 2oC ตามลำดับ 2) IPCC ยังได้ทำการประเมิน 8 แนวทางเดินที่มีความเป็นไปได้ 0-38%, 0-90% และ 4-99% ที่โลกจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น < 1.5oC, < 2oC และ < 3oC ตามลำดับ 3) การประเมินรายงานฉบับล่าสุดของทุกประเทศ NDC (National Determined Contribution) พบว่าอุณหภูมิโลกมีแนวโน้มสูงขึ้น 2.7-3oC (หากสามารถดำเนินการได้ตามแผนฯ แต่ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงปารีสได้) 4) IPCC ได้ประเมินความเสี่ยง 50% ในระยะสั้นภายใน 5 ปี ที่อุณหภูมิเฉลี่ยโลกจะสูงเกิน 1.5oC และ 5) การที่จะหลีกเลี่ยงสถานการณ์ดังกล่าวยังมีหนทาง (แม้ว่าค่อนข้างแคบ) โดยจะต้องร่วมมือกันอย่างเร่งด่วนทั้งมาตรการลดการปลดปล่อยทันที (Deep emission cut) ให้ได้ประมาณ 50% ภายในปี 2573 และต้องก้าวเข้าไปสู่การปลดปล่อยสุทธิเป็นศูนย์ภายในปี 2593 พร้อมทั้งมาตรการการปรับตัวผสมผสานระหว่าง Nature-base และ Engineering-base

• การสูงขึ้นของอุณภูมิโลกเกิน 1.5oC จะส่งผลกระทบแบบแพร่หลาย รวดเร็ว และรุนแรง ไปทั่วโลกตามรหัสแดง (คลื่นความร้อน ภัยแล้ง ฝนตกหนัก อุทกภัย และระดับน้ำทะเลสูงขึ้น) โดยเฉพาะประเทศที่มีความเปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ประเทศกำลังพัฒนา ประเทศหมู่เกาะต่างๆ รวมทั้งประเทศไทย) ดังกรณีศึกษาตัวอย่างน้ำท่วมใหญ่ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปี 2565 ดังนั้น การวางยุทธศาสตร์และ การออกแบบฉากทัศน์ประเทศไทยในอนาคต จึงมีความสำคัญมากเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบต่อความมั่นคงด้านอาหาร ความมั่นคงด้านพลังงาน และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม หลายๆประเทศจึงได้วางแผนรองรับรหัสแดง รวมทั้งการสร้างเกราะป้องกันเส้นทางนรกของสภาพภูมิอากาศดังกล่าวข้างต้น

• ในขณะที่การประชุม COP27 กำลังก้าวสู่กลางช่วงของการเจรจาในหลายเวที มีการพูดกันเรื่องการเปลี่ยนผ่านจากการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development, SD) ไปสู่การพัฒนาแบบ Climate Resilient (CRD) เนื่องจากการพัฒนาอย่างยั่งยืนมีการแยกส่วนมาก ไม่มีการกล่าวถึงความเป็นมาในอดีต และไม่ได้พูดถึงความเสี่ยงในอนาคต ตัวอย่างเช่น ประเทศที่ได้รับการประเมินว่ามีการพัฒนาอย่างยืนในปัจจุบัน ยังคงต้องเผชิญความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอนาคต และอาจจะไม่ยั่งยืนในอนาคตนั่นเอง จึงเป็นที่มาของ Climate Resilient Development ซึ่งเป็นเรื่องใหม่สำหรับโลกที่สังคมไทยควรเรียนรู้

ขอขอบคุณที่มาของข่าว เพจ รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง >>

เตือนคนไทย เตรียมรับมือพายุ 15 ลูก ระวัง"น้ำท่วมใหญ่"ปลายปี 65

ผู้เชี่ยวชาญเตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทุกภาค เสี่ยงน้ำท่วมรอระบาย ผู้เชี่ยวชาญเตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทุกภาค เสี่ยงน้ำท่วมรอระบาย

รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ เตือน ฝนหลงฤดูตกหนักทั่วทุกภาค กทม.-ปริมณฑล เสี่ยงสูงน้ำท่วมรอระบาย

logoline