svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน

21 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

วารสารการแพทย์ระดับสากล BMC Medicine  เผยแพร่ผลการศึกษางานวิจัยทั่วโลก พบว่ามีงานวิจัยทั้งหมด 9 ชิ้น ที่ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อโรคโควิด-19 กับการเกิดโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 โดยมีประชากรที่ทำการศึกษาทั้งหมดกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก

21 พฤศจิกายน 2565  รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat 

ใจความระบุว่า ... 

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 203,628 คน ตายเพิ่ม 373 คน รวมแล้วติดไป 643,034,979 คน เสียชีวิตรวม 6,625,861 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ฝรั่งเศส และฮ่องกง

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 14 ใน 20 อันดับแรกของโลก


จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 90.59 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 89.27

'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน

'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน

'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน 'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน

 

'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน


…ภาพรวมทั่วโลก

ข้อมูลจาก Ourworldindata เช้านี้ ชี้ให้เห็นว่า จำนวนติดเชื้อเพิ่มขึ้นชัดเจนในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มประเทศในแถบโอเชียเนีย อเมริกาใต้ และเอเชีย

และหากจำแนกตามระดับรายได้ ก็จะพบว่าจำนวนติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นมากนั้น มักอยู่ในกลุ่มประเทศรายได้สูง และรายได้ปานกลางระดับสูง

ระบบรายงานของไทยในปัจจุบันนั้นไม่ได้เอื้อให้ประชาชนทราบสถานการณ์ได้ละเอียดเพียงพอ ทำให้ต้องประเมินกันจากสถานการณ์รอบตัว และรายงานสถานการณ์ของสากล

ยามนี้ หลายคนคงเห็นแล้วว่า รอบตัวมีการติดเชื้อกันเยอะขึ้นมาก อันเป็นผลมาจากปัจจัยหลักได้แก่ การเปิดเสรีการใช้ชีวิตและท่องเที่ยวระหว่างประเทศ การป้องกันตัวที่ลดลง ไวรัสที่มีสมรรถนะหลบหลีกภูมิคุ้มกันที่มากขึ้นและมีความหลากหลายของสายพันธุ์ซึ่งมาจากการเดินทางระหว่างประเทศ และสุดท้ายคือประจวบเหมาะกับช่วงเวลาที่ระดับภูมิคุ้มกันจากวัคซีนเข็มสุดท้ายที่ได้รับนั้นตกลงไป

ควบคู่ไปกับการพบคนที่ติดเชื้อนั้นมักมีอาการป่วย เพราะไวรัสปัจจุบันนั้นได้รับการศึกษาแล้วพบว่า ทำให้ติดเชื้อแล้วมีอาการป่วยกว่า 90% คนที่ติดแบบไม่มีอาการมีสัดส่วนที่น้อย (<10%) สิ่งที่ต้องระวังเพิ่มเติมคือ ประสิทธิภาพของวัคซีนในการป้องกันการป่วยรุนแรงจะลดลงตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก 7 เดือนไปแล้ว ดังนั้นการไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นจึงมีความจำเป็น เพื่อลดโอกาสป่วยรุนแรงและการเสียชีวิต รวมถึง Long COVID ด้วย

 

…Long COVID กับโรคเบาหวาน

Zhang T และคณะ จาก Chinese Academy of Medical Science and Peking Union Medical College ประเทศจีน ได้เผยแพร่ผลการทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบและวิเคราะห์อภิมาน ตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ระดับสากล BMC Medicine เมื่อ 15 พฤศจิกายน 2565 ที่ผ่านมา

จากการทบทวนงานวิจัยทั่วโลกจนถึงมิถุนายน 2565 พบว่ามีงานวิจัยทั้งหมด 9 ชิ้น ที่ทำการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเชื้อโรคโควิด-19 กับการเกิดโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และ 2 โดยมีประชากรที่ทำการศึกษาทั้งหมดกว่า 40 ล้านคนทั่วโลก

'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน 'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน

สาระสำคัญมีดังนี้

หนึ่ง อัตราการเกิดโรคเบาหวาน ภายหลังจากการติดเชื้อโรคโควิด-19 มีราว 15.53 คนต่อ 1,000 person-years

(person-years หมายถึงการติดตามประชากรจำนวนหนึ่งไปนานระยะหนึ่ง คูณกันได้ 1,000 ประชากร-ปี เช่น ติดตาม 1,000 คนไปในระยะ 1 ปี)

สอง การติดเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้นราว 1.62 เท่า (ช่วงความเชื่อมั่นตั้งแต่ 1.45–1.80) เมื่อเทียบกับคนที่ไม่ได้ติดเชื้อ

สาม ไม่ว่าเพศชายหรือหญิง การติดเชื้อโควิด-19 ก็ทำให้เสี่ยงต่อเบาหวานพอๆ กัน

สี่ ไม่ว่าจะช่วงอายุใด <18 ปี, ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป, และคนสูงอายุ ก็ล้วนมีความเสี่ยงต่อเบาหวานมากขึ้นทั้งสิ้น

ห้า ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวานนั้นจะสูงมากในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากติดเชื้อ (ราว 1.95 เท่า) จากนั้นจะค่อยๆ ลดลง อย่างไรก็ตามแม้เลย 6 เดือนไป ก็ยังเสี่ยงกว่าการไม่ติดเชื้อราว 1.38 เท่า

 

ผลการวิจัยนี้

ตอกย้ำให้เราเห็นความสำคัญของการป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอระหว่างดำรงชีวิตประจำวัน

ไม่ติดเชื้อ หรือไม่ติดซ้ำ ย่อมดีที่สุด ลดละเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง คลุกคลีใกล้ชิดโดยไม่ได้ป้องกันตัว สถานที่แออัด ระบายอากาศไม่ดี

การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง ระหว่างออกไปใช้ชีวิตนอกบ้าน ทำงาน เรียน ท่องเที่ยว จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

สำหรับคนที่เคยติดเชื้อมาก่อน การหมั่นประเมินสุขภาพตนเอง และไปตรวจสุขภาพเป็นระยะ ก็จะเป็นประโยชน์

..

'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน 'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน

'หมอธีระ' เผยผลวิจัยประเทศจีน ชี้ชัดติดโควิดเสี่ยงโรคเบาหวาน

อ้างอิง Zhang T et al. Risk for newly diagnosed diabetes after COVID-19: a systematic review and meta-analysis. BMC Medicine. 15 November 2022.
 

ขอขอบคุณที่มา >> Thira Woratanarat 

 

logoline