svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

นพ.ธีระ เตือน PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19

18 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

Sheppard N และคณะ จากมหาวิทยาลัยโมนาร์ช ประเทศออสเตรเลีย ทำการทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานจากงานวิจัยทั่วโลกจำนวน 18 ชิ้น พบว่า ฝุ่น PM.2.5 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 

นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า ฝุ่น PM.2.5 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 หากสัมผัสกับฝุ่น PM2.5 ในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 66%

นพ.ธีระ เตือน PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19

 

โดย Sheppard N และคณะ จากมหาวิทยาลัยโมนาร์ช ประเทศออสเตรเลีย ทำการทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานจากงานวิจัยทั่วโลกจำนวน 18 ชิ้น


18 พฤศจิกายน 2565

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 261,086 คน ตายเพิ่ม 636 คน รวมแล้วติดไป 641,763,345 คน เสียชีวิตรวม 6,620,975 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฝรั่งเศส ไต้หวัน และฮ่องกง

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 8 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.38 ของทั้งโลก

ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 83.8

...อัปเดต ความรู้โควิด-19


"PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19"
Sheppard N และคณะ จากมหาวิทยาลัยโมนาร์ช ประเทศออสเตรเลีย ทำการทบทวนข้อมูลวิชาการอย่างเป็นระบบ และวิเคราะห์อภิมานจากงานวิจัยทั่วโลกจำนวน 18 ชิ้น

พบว่า ฝุ่น PM.2.5 มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 
ทั้งนี้ หากสัมผัสกับฝุ่น PM2.5 ในสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้น 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (μg/m3) จะมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มขึ้น 66%

นพ.ธีระ เตือน PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
จากการวิจัยต่างๆ ที่มีนั้น แม้จะยังฟันธงถึง cause-effect relationship ไม่ได้เพราะมีข้อจำกัดของการออกแบบแต่ละการวิจัย แต่อย่างน้อยก็สะท้อนถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะมีฝุ่นหรือไม่มีก็ตาม จากความรู้ที่เราเคยมีอยู่ว่า หากอยู่ในพื้นที่ หรือสถานที่ที่ระบายอากาศไม่ดี อากาศนิ่ง ย่อมมีโอกาสสูงที่เชื้อโรคจะแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นาน และทำให้คนในพื้นที่หรือสถานที่นั้นมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น 

นพ.ธีระ เตือน PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19

 


นพ.ธีระ เตือน PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19



...อัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อ (positivity rate) ของไทย
ชัดเจนว่า ปัจจุบันต้องป้องกันตัวให้ดี เพราะอัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อกลับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (23.87% ณ 22 ตุลาคม 2565) 
ข้อมูลที่เห็นนั้นบอกถึงเรื่องในอดีตที่ผ่านมาอย่างชัดเจน ว่าเหตุใดจึงต้องหยุดยั้งการระบาดให้ได้ในระลอกแรก (มีนาคม 2563) ที่ขณะนั้นไม่มีความพร้อมที่จะสู้กับโรคระบาดใหม่ที่รุนแรง ยังไม่มีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติของโรคอย่างดีพอ ไม่มียา ไม่มีวัคซีน
ในช่วงปลายปี 2563 จนถึงต้นปี 2564 ช่วงระลอกสอง สะท้อนให้เข้าใจถึงผลลัพธ์ของการระบาดวงกว้าง นำไปสู่การระบาดต่อเนื่องในชุมชน และการปะทุซ้ำระยะยาว

นอกจากนั้น ความหนักหนาสาหัสของระลอกสามจากอัลฟ่าและเดลต้า ส่งผลให้การระบาดเป็นไปอย่างรวดเร็ววงกว้างนับจากช่วงสงกรานต์เป็นต้นมา โดยมีประเด็นเกี่ยวกับการบริหารจัดการวัคซีน ทั้งเรื่องชนิด ประสิทธิภาพ ความเพียงพอ และเงื่อนเวลา และมีการติดเชื้อ ป่วย และเสียชีวิตจำนวนมาก รวมถึงผลกระทบระยะยาวอย่าง Long COVID ในคนจำนวนไม่น้อยตามมา 
สุดท้ายคือ ระลอกล่าสุดจาก Omicron ว่าหนักหนากว่าเดลต้า ตัวเลขย่อมสะท้อนทางอ้อมถึงจำนวนผู้ติดเชื้อในสังคม และอาจเป็นตัวอธิบายเรื่องจำนวนการเสียชีวิตส่วนเกินจากทุกสาเหตุ (excess death) ที่สูงกว่าหลายประเทศทั่วโลก ดังที่เห็นจาก Ourworldindata

นพ.ธีระ เตือน PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
ดังนั้น จึงควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ประมาท การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนดจะช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID 

ที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน ทำงาน เรียน หรือท่องเที่ยว จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก


อ้างอิง
Sheppard N et al. Particulate matter air pollution and COVID-19 infection, severity, and mortality: A systematic review. medRxiv. 17 November 2022.

จากการวิจัยต่างๆ ที่มีนั้น แม้จะยังฟันธงถึง cause-effect relationship ไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดของการออกแบบแต่ละการวิจัย แต่อย่างน้อยก็สะท้อนถึงความสำคัญของสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะมีฝุ่นหรือไม่มีก็ตาม จากความรู้ที่เราเคยมีอยู่ว่า หากอยู่ในพื้นที่ หรือสถานที่ที่ระบายอากาศไม่ดี อากาศนิ่ง ย่อมมีโอกาสสูงที่เชื้อโรคจะแขวนลอยอยู่ในอากาศได้นาน และทำให้คนในพื้นที่หรือสถานที่นั้นมีโอกาสติดเชื้อมากขึ้น

นพ.ธีระ ระบุถึงอัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อ (positivity rate) ของไทยว่า

อัตราการตรวจพบว่าติดเชื้อ กลับสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว (23.87% ณ 22 ตุลาคม 2565) ดังนั้น จึงควรป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอ ไม่ประมาท การฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนด จะช่วยลดโอกาสป่วยรุนแรง เสียชีวิต และ Long COVID

และที่จำเป็นอย่างยิ่งคือ การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องระหว่างใช้ชีวิตประจำวันนอกบ้าน จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก

ขอขอบคุณที่มา >>

จับตาความปังๆๆๆ ที่โพสต์ล่าสุดของคุณหมอธีระ >>

องค์กรอนามัยโลก (WHO)  ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศ ว่าหากมีเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่  50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยกรมควบคุมมลพิษ ได้ปรับปรุงค่ามาตรฐานฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 เรียบร้อยแล้ว โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ได้ประกาศลงในราชกิจานุเบกษา เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ดังนี้

ค่าเฉลี่ย 24 ชั่ว โมง ปรับลดจาก 50 เป็น 37.5 มคก./ลบ.ม. มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566
ค่าเฉลี่ยรายปี ปรับลดจาก 25 เป็น 15 มคก./ลบ.ม. มีผลตั้งแต่วันถัดจากประกาศในราชกิจจานุเบกษา

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ : ประกาศราชกิจจานุเบกษา 

นพ.ธีระ เตือน PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19
ทำความรู้จักฝุ่นพิษ PM 2.5 แบบเป็นทางการ!!
 

เป็นเรื่องปกติที่เมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ และเมืองหลวงของอีกหลายประเทศทั่วโลกต้องเผชิญปัญหามลพิษจากฝุ่นละอองในอากาศอยู่เสมอ ด้วยประชากรหนาแน่น ความคับคั่งของการจราจร รวมถึงเขม่าควัน และฝุ่นผงจากการก่อสร้าง

แต่ปัญหาวิกฤติที่ชาวกรุงเทพฯ กำลังวิตกคือ ฝุ่นละอองขนาดเล็กว่า 2.5 ไมครอน (Particulate Matter 2.5 – PM2.5) ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ทำให้ขาดความตระหนักถึงอันตรายต่อสุขภาพอย่างใหญ่หลวง ฝุ่นละอองจิ๋ว PM 2.5   ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาไหม้เครื่องจักร โดยเฉพาะเครื่องยนต์ของทั้งรถยนต์ใหม่และเก่า มักมีปริมาณสูงสุดช่วงรถติดมากๆ ในช่วงเช้าและเย็นของวันทำงาน  โดยมากจะเกิดในช่วงฤดูหนาวที่อากาศนิ่งและแห้ง ส่งผลให้ฝุ่นไม่ลอยขึ้นที่สูง  อีกทั้งปัจจุบันกรุงเทพฯ  กำลังประสบปัญหาลมพัดผ่านได้ยาก อากาศหยุดนิ่ง เนื่องจากมีตึกสูงปิดกั้นทางลม รวมถึงฝุ่นจากการก่อสร้างที่มีอยู่แทบทุกพื้นที่ มาเป็นปัจจัยเกื้อหนุนทำให้คุณภาพอากาศเลวร้ายลง


นอกจากนี้ นักวิชาการสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า

ปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพฯ ที่สำคัญเกิดจากไนโตรเจนไดออกไซด์  (NO2)  ถูกปล่อยสู่อากาศมากมายจนเกิดการทำปฏิกิริยาทางเคมีกับโอโซนและแสงแดด กลายเป็นฝุ่นผงขนาดเล็กที่เป็นปัญหา

ไนโตรเจนไดออกไซด์ เกิดจากการสันดาปภายในของเครื่องยนต์ดีเซล ซึ่งในหลายๆ ประเทศที่ห่วงใยปัญหาสุขภาพของประชาชนเป็นหลักได้พยายามลดการใช้รถยนต์ดีเซลลง

นพ.ธีระ เตือน PM2.5 เพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด-19

logoline