svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

"วราวุธ"หารือสหรัฐฯ ร่วมลดก๊าซมีเทนปัจจัยหลักเกิด Climate Change ระดับโลก 

16 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ถกโต๊ะเล็ก "วราวุธ" หารือ อเมริกา ประเด็นการลดก๊าซมีเทน ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการเกิด Climate Change ระดับโลก 

16 พฤศจิกายน 2565 ที่ Sharm El-Sheikh International Convention Center นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนไทย COP27 พร้อมด้วย นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง นายพิรุณ สัยยะสิทธิ์พานิช เลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและ นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก เข้าหารือร่วมกับตัวแทนของประเทศสหรัฐอเมริกา  MR.John Kerry ผู้แทนพิเศษว่าด้วยประเด็นสภาพภูมิอากาศ (Special Presidential Envoy for Climate) และคณะ ภายหลังจากการกล่าวถ้อยแถลงฯ บนเวทีโลก

 

"วราวุธ"หารือสหรัฐฯ ร่วมลดก๊าซมีเทนปัจจัยหลักเกิด  Climate Change ระดับโลก 

นายวราวุธ กล่าวว่า การหารือในครั้งนี้ ประเทศไทยได้บอกกล่าวเจตนารมณ์ และเป้าหมายในการลดก๊าซเรือนกระจกใน ค.ศ. 2030 หรือที่เรียกว่า NDC (Nationally Determined Contribution)รวมถึงการวางยุทธศาสตร์ระยะยาวในการลดก๊าซเรือนกระจกในปี ค.ศ. 2065 เป็นแนวทางสำคัญในการจัดทำแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ เพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประชาชน ส่งเสริมโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-
เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy Model) อย่างจริงจัง

 

"วราวุธ"หารือสหรัฐฯ ร่วมลดก๊าซมีเทนปัจจัยหลักเกิด  Climate Change ระดับโลก 

นายวราวุธ กล่าวต่อว่า สหรัฐอเมริกาได้แสดงความเป็นห่วงเรื่องการปล่อยก๊าซมีเทน ในประเทศไทย และทั่วโลก เพราะปัญหาสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศวันนี้ เกิดจากก๊าซมีเทน ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน มากกว่าการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์  ซึ่งในประเทศไทยพบว่าสาเหตุหลักในการเกิดก๊าซมีเทน มาจากภาคการเกษตรทำนาปลูกข้าวนับล้านไร่ เป็นการทำนาในลักษณะปล่อยน้ำขังไว้ในที่นาเป็นเวลานาน ๆ ก็ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนออกมา เช่นเดียวกับภาคปศุสัตว์ ก็มีการสร้างก๊าซมีเทนออกมาเช่นกัน ซึ่งก๊าซมีเทน ถือว่ามีอานุภาพร้ายแรงกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 26-28 เท่า  โดยคาดหวังว่า การดำเนินงานดังกล่าวร่วมกัน รวมถึงจะสนับสนุนการรักษา Pathway 1.5 องศาเซลเซียสตามเป้าหมายของความตกลงปารีสต่อไป

 

ดังนั้นทางสหรัฐจึงมาหารือและเชิญชวนทุกประเทศ ช่วยกันหาแนวทางในการลดปริมาณก๊าซมีเทนลง พร้อมขอให้ประเทศไทยมาลงนามในข้อตกลง ซึ่งเรื่องนี้ประเทศไทยจะต้องรับไปหารือกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ดูแลภาคการเกษตรและปศุสัตว์ รวมถึงกระทรวงแรงงาน ในรายละเอียด และยังต้องนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบก่อนที่จะมีการลงนามในโอกาสต่อไป

logoline