svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

คนไทยเฮ! "วิษณุ" เผย ยืมเงิน ครม. ซื้อลิขสิทธิ์ดูบอลโลกได้

15 พฤศจิกายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“วิษณุ เครืองาม” ยอมรับ สามารถยืมเงิน ครม.ซื้อลิขสิทธิ์บอลโลกก่อนได้ แล้วใช้คืน แต่ไม่ควรใช้งบกลางเห็นควนให้แก้กฎ “Must Have Must Carry” เพื่อให้เกิดความคล่องตัว

15 พฤศจิกายน 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายกฎหมาย กล่าวถึงการใช้งบประมาณในการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดการแข่งขันฟุตบอลโลก ว่า ในอดีตเคยมีการของบประมาณจากรัฐบาลไปจ่ายค่าลิขสิทธิ์ แต่ขณะนี้เห็นว่า ยังไม่ควรเนื่องจากมีความจำเป็นอย่างอื่นที่จะต้องใช้งบประมาณ โดยเฉพาะในช่วงที่เกิดเหตุภัยธรรมชาติที่ยังคาดการณ์ไม่ได้

นายวิษณุ ปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นถึงแนวทางออกของการกีฬาแห่งประเทศไทย หรือ (กกท.) ในการจ่ายค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดการแข่งขันฟุตบอลโลก แต่​ไม่ยืนยันว่า จะสามารถนำเงินกองทุนของ กกท. มาใช้จ่ายค่าลิขสิทธิได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องชั่งน้ำหนักดู หรือ จะมีเรื่องอื่นที่มีความจำเป็นมากกว่า แต่เรื่องการถ่ายทอดสดการแข่งฟุตบอลเป็นเรื่องการตอบสนองเฉพาะคนที่อยากดูว่าจะคุ่มค่าหรือไม่ หากค่าลิขสิทธิ์ไม่แพงก็อาจจะคุ้ม แต่ยอมรับว่าในราคา 1,600 ล้านบาท แพงไปหน่อย ซึ่งเคยได้ยินมาว่าต่างประเทศทำได้ถูกกว่านี้ 

นายวิษณุ​ กล่าวถึงกระแสข่าวว่า จะมีการเสนอยืมเงินต่อ​ ครม.บางส่วนแล้วหากได้ค่าสปอนเซอร์แล้วมาใช้คืนนั้น ยอมรับว่า​ มีเป็นไปได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด แต่อย่างเพิ่งถามว่ายืมจากไหนอะไรอย่างไร และไม่ควรใช้เงินจากงบกลาง

ทั้งนี้ไม่ทราบว่าจะมีกองทุนอื่นมาอุดหนุนอีกหรือไม่ ตนเองไม่แน่ใจ ว่ากองทุนกีฬาจะใช้ได้หรือไม่และตนไม่รู้ปัญหาทั้งหมด  หรือจะสามารถจัดการปัญหาได้แล้วเสร็จก่อนที่จะเริ่มการแข่งขันฟุตบอลโลกหรือไม่

ส่วนคนที่จะหยิบยกขึ้นมาหารือใน  ครม. หรือไม่นั้น นายวิษณุ​ กล่าวว่า​ อาจจะมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะรองนายกรัฐมนตรี​ ที่กำกับดูแลด้านกีฬาเสนอหารือในที่ประชุม

นอกจากนี้​ นายวิษณุ​ ยังกล่าวถึง​กฎ “Must Have   Must Carry”  หรือเงื่อนไขการถ่ายทอดของ กสทช. ที่เอกชนไม่สามารถเข้าถึงได้ โดยจะต้องมีการสังคายนาหรือไม่นั้นว่า เคยมีคนพูดถึงมาหลายปีแล้ว ว่าจะต้องสังคายนา แต่ส่วนตัวไม่ได้ศึกษาในรายละเอียดเรื่องนี้ และในสมัยที่ตนเคยเข้าไปเกี่ยวข้องกับการจัดระเบียบ​ กสทช. ยุค คสช. เคยติดว่าต้องมีการปรับแก้ให้เกิดความคล่องตัว ซึ่งคงค้องไปถาม กสทช.​ ว่าทำไม่ได้หรือไม่ควรทำ

logoline