svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เตรียมชม ‘จันทรุปราคาเต็มดวง’ ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย.นี้

29 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

คนไทยรอชม ปรากฏการณ์ "จันทรุปราคาเต็มดวง" ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย.นี้ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคของประเทศไทย

จากการเปิดเผยของ หรือ NARITสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เผย วันที่ 8 พ.ย. 2565 คืนเทศกาล "วันลอยกระทง" เตรียมชมปรากฏการณ์ "จันทรุปราคาเต็มดวง" สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคของประเทศไทย


เฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ โพสต์ข้อความโดยระบุว่า วันที่ 8 พ.ย. 2565 จะเกิดปรากฏการณ์จันทรุปราคา ตั้งแต่เวลาประมาณ 15.02-20.56 น. (ตามเวลาประเทศไทย) สามารถสังเกตได้จากหลายพื้นที่ทั่วโลก ได้แก่ ทวีปยุโรปตอนเหนือและตะวันออก, ทวีปเอเชีย, ทวีปออสเตรเลีย, ทวีปอเมริกาเหนือ, บางส่วนของทวีปอเมริกาใต้, มหาสมุทรแปซิฟิก, มหาสมุทรแอตแลนติก, มหาสมุทรอินเดีย ขั้วโลกเหนือ และบางส่วนของขั้วโลกใต้

เตรียมชม ‘จันทรุปราคาเต็มดวง’ ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย.นี้

เตรียมชม ‘จันทรุปราคาเต็มดวง’ ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย.นี้

เตรียมชม ‘จันทรุปราคาเต็มดวง’ ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย.นี้

ขณะที่ ประเทศไทยตรงกับคืนเดือนเพ็ญ และเป็นวันลอยกระทงของปีนี้ด้วย ดวงจันทร์จะโผล่พ้นขอบฟ้าทางทิศตะวันออกเวลา 17.44 น. จึงไม่สามารถสังเกตช่วงแรกของการเกิดปรากฏการณ์ได้ และจะเริ่มเห็นได้ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวงพอดี สามารถสังเกตได้ด้วยตาเปล่าทุกภูมิภาคของประเทศไทย บริเวณขอบฟ้าทางทิศตะวันออก ตั้งแต่เวลา 17.44 น. เป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดคราสเต็มดวง จะมองเห็นดวงจันทร์เต็มดวงปรากฏเป็นสีแดงอิฐ จนถึงเวลา 18.41 น. รวมระยะเวลานาน 57 นาที

เตรียมชม ‘จันทรุปราคาเต็มดวง’ ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย.นี้
หลังจากนั้นจะเริ่มเห็นดวงจันทร์ปรากฏเว้าแหว่งบางส่วน และค่อยๆ ออกจากเงามืดของโลก จนกระทั่งเข้าสู่เงามัวหมดทั้งดวงในเวลา 19.49 น. เปลี่ยนเป็นจันทรุปราคาเงามัวที่สังเกตได้ยาก เนื่องจากความสว่างของดวงจันทร์เปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และสุดท้ายดวงจันทร์จะพ้นจากเงามัวของโลกเวลา 20.56 น. ถือว่าสิ้นสุดปรากฏการณ์จันทรุปราคาในครั้งนี้โดยสมบูรณ์

 

ปรากฏการณ์จันทรุปราคา เป็นปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ โลก และดวงจันทร์โคจรมาอยู่ในแนวระนาบเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลางระหว่างดวงอาทิตย์กับดวงจันทร์ เกิดขึ้นเฉพาะในวันที่ดวงจันทร์เต็มดวง หรือช่วงขึ้น 14-15 ค่ำ ขณะที่ดวงจันทร์โคจรผ่านเข้าไปในเงามืดของโลกที่ทอดไปในอวกาศ ผู้สังเกตบนโลกจะมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งไปเรื่อยๆ จนดวงจันทร์เข้าไปอยู่ในเงามืดทั้งดวง และเริ่มมองเห็นดวงจันทร์เว้าแหว่งอีกครั้งหนึ่งเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่ออกจากเงามืดของโลก

เตรียมชม ‘จันทรุปราคาเต็มดวง’ ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย.นี้

ขอขอบคุณที่มา : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ

 

 

 

 

จับตาโพสต์ล่าสุด

นี่คือภาพล่าสุดของ “Pillars of Creation” เสาแห่งการก่อกำเนิดเหมือนเดิมแต่เป็นโทนสีส้มเข้ากับเทศกาลฮาโลวีน ฝีมืออุปกรณ์ MIRI ของกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ กล้องสุดเทพของมวลมนุษยชาติในขณะนี้

ทีมนักวิทยาศาสตร์ในโครงการกล้องโทรทรรศน์อวกาศเจมส์ เว็บบ์ (James Webb Space Telescope : JWST) ได้เปิดเผยภาพถ่ายกลุ่มเมฆฝุ่นแก๊สในอวกาศที่มีชื่อว่า “เสาแห่งการก่อกำเนิด” หรือ “Pillars of Creation” อีกครั้งซึ่งมีเฉดสีและรายละเอียดภาพแตกต่างออกไปจากเดิม แสดงให้เห็นกลุ่มเมฆฝุ่นมีแสงเรืองออกไปทางโทนสีฟ้าปรากฏอยู่หน้าฉากหลังที่มีโทนสีส้มแดง

ภาพนี้ถ่ายด้วยอุปกรณ์ Mid-Infrared Instrument หรือ MIRI ที่ใช้บันทึกภาพในช่วงคลื่นอินฟราเรดกลาง ค่าความยาวคลื่นตั้งแต่ 5 - 28 ไมครอน ภาพที่ได้จึงแตกต่างไปจากภาพที่เผยแพร่เมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา [1] จะไม่สามารถสังเกตดวงดาวนับหลายพันดวงที่อยู่ในบริเวณนี้ได้ และชั้นฝุ่นแก๊สมีความโดดเด่นมากขึ้น ซึ่ง “ฝุ่นในอวกาศ” ถือว่าเป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญต่อการก่อตัวของดวงดาว และยังเป็นตัวช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถศึกษาการก่อตัวและวิวัฒนาการของกลุ่มเมฆฝุ่นแก๊สแห่งนี้ ที่ปรากฏในกลุ่มดาวงู (Serpens) และอยู่ห่างจากโลกไป 7,000 ปีแสง

ในบริเวณที่ฝุ่นแก๊สอยู่กันหนาแน่น (บริเวณสีฟ้า-เทาในภาพ) ของกลุ่มเมฆฝุ่นแก๊สรูปเสาแห่งนี้ มีดาวจำนวนมากกำลังก่อตัวอยู่ เมื่อฝุ่นแก๊สในพื้นที่บริเวณนี้รวมตัวกันจนมีมวลมากพอ จะเริ่มยุบตัวลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง และค่อย ๆ ร้อนขึ้น จนก่อกำเนิดเหล่าดาวดวงใหม่ ๆ ในที่สุด

“เสาแห่งการก่อกำเนิด” เคยปรากฏในภาพถ่ายจากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ซึ่งเป็นกล้องโทรทรรศน์อวกาศรุ่นก่อนหน้านี้ และยังคงใช้งานอยู่ในปัจจุบัน โดยกล้องฮับเบิลเคยถ่ายไว้ในปี ค.ศ.1995 และ 2014 ก่อนที่ JWST จะถ่ายในปีนี้ เพียงแต่กล้องฮับเบิลและ JWST ถ่ายภาพในช่วงความยาวคลื่นที่แตกต่างกัน

ภาพถ่ายเสาแห่งการก่อกำเนิด 2 ภาพล่าสุดจาก JWST ก็มีความแตกต่างกันด้วย โดยภาพถ่ายก่อนหน้าที่เผยแพร่ในช่วงต้นเดือนนี้ มาจากกล้องถ่ายภาพในช่วงรังสีอินฟราเรดใกล้ (NIRCam) แต่ภาพถ่ายที่เพิ่งเผยแพร่ตอนปลายเดือนนี้มาจากอุปกรณ์ถ่ายภาพในช่วงรังสีอินฟราเรดกลาง ซึ่งภาพถ่ายทั้งคู่ต่างแสดงรายละเอียดของกลุ่มเมฆฝุ่นแก๊สในอวกาศแห่งนี้ได้ละเอียดกว่าภาพถ่ายจากกล้องฮับเบิล เนื่องจากกระจกหลักของ JWST ที่มีขนาดใหญ่กว่า รวมแสงได้มากกว่า และตำแหน่งที่ตั้งของ JWST ที่อยู่ลึกในห้วงอวกาศมากกว่ากล้องฮับเบิล

เรียบเรียง : พิสิฏฐ นิธิยานันท์ - เจ้าหน้าที่สารสนเทศดาราศาสตร์ชำนาญการ สดร.


 

ภาพถ่ายของ Pillars of Creation หรือเสาแห่งการก่อกำเนิดในโทนสีฟ้าที่เราคุ้นเคยกันดี จากกล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล และกล้องโทรทรรศน์เจมส์ เว็บบ์

เตรียมชม ‘จันทรุปราคาเต็มดวง’ ในคืนวันลอยกระทง 8 พ.ย.นี้

ปิดท้ายข่าวเด่นวันนี้ ด้วยภาพสวยๆ จากโพสต์นี้ แล้วเจอกันคืนวันลอยกระทง 

 

logoline