svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

27 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอธีระ อัปเดตสถานการณ์โควิด-19 วันนี้ โควิดโอมิครอนต่อยอดแล้ว 390 สายพันธุ์ย่อย ล่าสุดสายพันธุ์ XBB พบการกระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก จับตายอดผู้ติดเชื้อทั่วโลกติดเพิ่ม 298,286 คน ตายเพิ่ม 896 คน รวมแล้วติดไป 634,066,329 คน เสียชีวิตรวม 6,587,042 คน

อีกความเคลื่อนไหวทางด้านวิชาการ ล่าสุดทางด้าน ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ผ่านทางเฟซบุ๊ก Thira Woratanarat โดยระบุว่า

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

 

"27 ตุลาคม 2565...

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 298,286 คน ตายเพิ่ม 896 คน รวมแล้วติดไป 634,066,329 คน เสียชีวิตรวม 6,587,042 คน

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ ไต้หวัน และอิตาลี

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 9 ใน 10 อันดับแรก และ 17 ใน 20 อันดับแรกของโลก

จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 89.76 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 76.89

 

อัปเดตจาก WHO

ล่าสุดเมื่อคืนนี้ องค์การอนามัยโลกเผยแพร่รายงาน WHO Weekly Epidemiological Update วันที่ 26 ตุลาคม 2565 สัปดาห์ล่าสุด ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ Omicron ยังครองการระบาดทั่วโลก โดยตรวจพบในสัดส่วนถึง 99.7%

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

ปัจจุบัน Omicron แตกหน่อต่อยอดมีสายพันธุ์ย่อยไปแล้วมากถึง 390 สายพันธุ์ย่อย ทั้งนี้พบว่ามีการผสมกันระหว่างสายพันธุ์ย่อยเกิดเป็นสายพันธุ์แบบ recombinant จำนวน 48 สายพันธุ์ BA.5 ยังพบในสัดส่วนสูงถึง 77.1%, BA.4 5.4%, BA.2 4.3%

สำหรับสายพันธุ์ย่อย XBB ที่ดื้อต่อภูมิคุ้มกันอย่างมากนั้น ขณะนี้ตรวจพบว่ากระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก ในขณะที่สายพันธุ์ย่อย BQ.1.x นั้นพบว่ามีการแพร่ไปแล้ว 65 ประเทศ

ที่สำคัญคือ ขณะนี้สายพันธุ์ย่อยที่เกิดขึ้นมานั้น ทั้งจาก BA.2, BA.4, และ BA.5 มีการกลายพันธุ์ของบริเวณหนามเปลือกนอกของไวรัส (Spike) ที่ตำแหน่งกรดอมิโนที่มีความเหมือนกันหลายแห่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ตำแหน่ง S:R346X, S:K444X, S:V445X, S:N450X และ S:N460X

ลักษณะการกลายพันธุ์ดังกล่าวที่เหมือนกันของแต่ละสายพันธุ์ย่อยที่ไม่ได้เป็นลูกหลานกันโดยตรง บ่งชี้ว่าไวรัสกำลังมีพัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปในทางเดียวกัน (Convergent evolution) ซึ่งต้องจับตามองอย่างใกล้ชิด เพราะอาจส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมรรถนะของไวรัสได้

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

สถานการณ์ไทยในปัจจุบันยังมีการติดเชื้อกันรอบตัวอย่างต่อเนื่อง ประชาชนควรระมัดระวัง ป้องกันตัวอย่างสม่ำเสมอระหว่างใช้ชีวิตประจำวัน ทั้งการทำงาน ศึกษาเล่าเรียน หรือตะลอนท่องเที่ยวการไปรับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นเรื่องที่สำคัญ เหนืออื่นใด การใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง เป็นกิจวัตร จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มา

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

ก่อนหน้านี้ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวถึงการตรวจพบโอมิครอนกลายพันธุ์ตัวใหม่ "โควิดกลายพันธุ์" ไม่ว่าจะเป็น  "BQ.1.1" และ "XBB" สามารถแพร่เชื้อได้เร็ว และดื้อภูมิคุ้มกันมากกว่าทุกสายพันธุ์ ว่า จากข้อมูลการเฝ้าระวังการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ร่วมกับเครือข่ายทั่วประเทศ ยังไม่มีรายงานการตรวจพบสายพันธุ์ดังกล่าวในประเทศไทย การแพร่ระบาดส่วนใหญ่เป็น "โอมิครอน" สายพันธุ์ย่อย BA.5 

 

อ้างอิงจากฐานข้อมูล GISAID ข้อมูล ณ วันที่ 7 ตุลาคม 2565

ประเทศไทย ตรวจพบเชื้อโควิด BA.4 จำนวน 218 ราย, BA.2.75 และลูกหลาน BA.2.75.1, BA.2.75.2 พบ 24 ราย สายพันธุ์ BA.5 และลูกหลาน พบ 2,152 ราย

โดยสายพันธุ์ย่อยหลักที่พบมากในประเทศไทย ได้แก่ สายพันธุ์ BA.5.2 พบรายงานจำนวน 1,709 ราย ซึ่งแนวโน้มสอดคล้องกับทั่วโลก คือ BA.5 ยังเป็นสายพันธุ์หลัก ส่วน BA.4, BA.2.75 และลูกหลาน เช่น BA.2.75.1, BA.2.75.2 และ BA.2.75.x พบเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย

 

การกลายพันธุ์เป็นเรื่องธรรมชาติของไวรัส สำหรับสายพันธุ์ BQ.1.1 เป็นสายพันธุ์ย่อยของ BA.5 ที่มีการกลายพันธุ์ 3 ตำแหน่งบนส่วนหนาม ได้แก่ R346T, K444T, และ N460K ช่วยให้สามารถหลบภูมิคุ้มกันได้ดี ยังไม่พบรายงานในประเทศไทย 

 

สายพันธุ์ "โอมิครอน XBB" มีต้นตระกูลมาจาก BA.2 นั้น เป็นลูกผสมระหว่างโอมิครอนสายพันธุ์ BJ.1 และ BA.2.75 ปัจจุบันทั่วโลกรายงานสายพันธุ์ XBB จำนวน 260 ราย BJ.1 จำนวน 114 ราย และ BA.2.75 จำนวน 9,047 ราย สำหรับประเทศไทยรายงานพบเฉพาะสายพันธุ์ BA.2.75 จำนวน 18 ราย โดยยังไม่พบสายพันธุ์ BJ.1 และ XBB แต่เฝ้าระวังตลอดเวลา

 

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

“ขอให้ประชาชนใช้ชีวิตตามปกติ ขอย้ำว่า วัคซีนเข็มกระตุ้นยังมีความจำเป็น ขอให้ฉีดกระตุ้นอย่างน้อย 4 เดือน จากเข็มล่าสุด โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรรับถึงเข็มที่ 4 เมื่อใดที่พบการระบาดเพิ่มขึ้น มาตรการป้องกันตนเองทั้งการใส่หน้ากาก ล้างมือและเว้นระยะห่าง ยังใช้รับมือการแพร่ระบาดได้ทุกสายพันธุ์  ” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว 


 "โควิด XBB" ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากที่สุด 

โพสต์ก่อนหน้า "หมอธีระ" หรือ ศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เคยนำเสนอรายงานความคืบหน้าของวายร้ายโควิด "โอมิครอน XBB" ถือว่าเป็นหนึ่งในสายพันธุ์ที่น่ากังวล เพื่อดื้อต่อภูมิคุ้มกันมาก

 

หมอธีระ โพสต์แจ้งรายงานข่าว การค้นพบ โอมิครอน XBB เมื่อวันที่ 5 ต.ค.2565 ที่ผ่านมา ใจความระบุว่า

ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยปักกิ่งนำโดย Cao Y ได้เผยแพร่ผลการศึกษาติดตามไวรัสโรคโควิด-19 ที่กลายพันธุ์ พบว่า สายพันธุ์ XBB ซึ่งมีต้นตระกูลมาจาก BA.2 นั้น เป็นสายพันธุ์ย่อยที่ดื้อต่อภูมิคุ้มกันมากกว่าทุกสายพันธุ์ที่เคยมีมา

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

นอกจากนี้ สมรรถนะการจับกับตัวรับ ACE2 บนผิวเซลล์ ก็ไม่ได้ด้อยไปกว่าสายพันธุ์ย่อยเดิมที่มี ดังนั้น XBB จึงเป็นตัวล่าสุดที่ต้องเฝ้าระวัง

หมอธีระ อัปเดตสถานการณ์แพร่ระบาดโควิดในประเทศสิงคโปร์ เมื่อวันที่ 7 ต.ค.2565 เนื้อหาที่น่าสนใจเผยว่า

จำนวนติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้นชัดเจน ทั้งนี้นอกเหนือจาก โอมิครอน สายพันธุ์ BA.2.75 แล้ว สายพันธุ์ย่อย "โอมิครอน XBB" มีอัตราการตรวจพบเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง "โควิด XBB" เป็นสายพันธุ์ที่ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจ

 

อีกความคืบหน้าในวันที่ 15 ต.ค. 2565 คุณหมอธีระ แจ้งสถานการณ์โควิด-19 ที่สิงคโปร์ เพิ่มเติมอีกว่า

"โอมิครอน XBB" เป็นสายพันธุ์ที่ทำให้ระบาดหนักในขณะนี้ และมีแนวโน้มที่จะทำให้การระบาดหนักกว่าระลอกก่อน ส่วนสหรัฐอเมริกา สัดส่วน BA.5 ลดลงอย่างชัดเจน ในขณะที่สายพันธุ์ใหม่ๆ มีสัดส่วนที่เพิ่มขึ้น และคาดว่าระลอกใหม่จะตามมาในเวลาไม่นาน จึงเป็นเหตุผลที่มีการรณรงค์ให้ประชาชนออกมารับวัคซีน Bivalent กันในขณะนี้

 

"การป้องกันตัวไม่ให้ติดเชื้อ หรือไม่ให้ติดเชื้อซ้ำ เป็นเรื่องจำเป็น ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ระมัดระวังกิจกรรมเสี่ยง สถานที่เสี่ยง และการคลุกคลีใกล้ชิดโดยไม่ป้องกันตัว ใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงลงไปได้มาก " หมอธีระ ตอกย้ำถึงวิธีการรับมือและการป้องกันวายร้ายตัวใหม่ "โควิด XBB"

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

ทางด้าน นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า

"เบื้องต้นยังไม่พบข้อมูลการติดเชื้อจากสายพันธุ์ XBB ในประเทศไทย โดยประเทศไทยได้ยกระดับการเฝ้าระวังที่สนามบินสุวรรณภูมิและสนามบินทุกแห่ง หากตรวจพบผู้โดยสารที่มีอาการจากระบบทางเดินหายใจที่เดินทางจากประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง และประเทศที่มีรายงานการระบาดของสายพันธุ์ XBB หากมีผู้ป่วยที่เดินทางมาจากต่างประเทศ มีอาการป่วยจากระบบทางเดินหายใจที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเอกชนและโรงพยาบาลของรัฐ และเฝ้าระวังในพื้นที่ท่องเที่ยว ให้ทำการสุ่มเพื่อส่งตรวจหาสายพันธุ์ที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์"  

สำหรับผู้ที่จะเดินไปต่างประเทศขอให้ไม่ประมาท โดยศึกษาคำแนะนำของประเทศที่จะเดินทางไป ป้องกันตนเองอยู่เสมอ โดยการสวมหน้ากากอนามัยเมื่ออยู่ในสถานที่แออัด เว้นระยะห่าง ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล ซึ่งมาตรการดังกล่าวจะสามารถป้องกันโรคติดต่อระบบทางเดินหายใจได้  และหากยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นขอให้รีบไปรับวัคซีน เพราะวัคซีนเป็นตัวช่วยที่ลดความรุนแรงของโรคได้ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สายด่วน กรมควบคุมโรค โทร.1422

หมอธีระ เผยข้อมูล "โอมิครอน XBB" กระจายไปแล้ว 35 ประเทศทั่วโลก

ขอขอบคุณที่มา: Thira Woratanarat

logoline