svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

กะเทาะ 8 ประเด็น-นายก 8 ปีเหตุผลศาลรธน."บิ๊กตู่"ไม่กระเด็นเก้าอี้

01 ตุลาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

จากผลคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับประเด็นนายก 8 ปี ก่อนมีมติ 6 ต่อ 3 ให้ พล.อ.ประยุทธ์ ยังไม่ครบวาระการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

เมื่อมาส่องดูเหตุผลคำตัดสินศาลรัฐธรรมนูญ 

 

1.พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 158 ตามเงื่อนไขของ มาตรา 159 

 

-สภาผู้แทนราษฎรให้ความเห็นชอบ

 

-เลือกจากบุคคลที่มีชื่ออยู่ในบัญชีพรรคการเมือง 

 

-พรรคการเมืองที่เสนอชื่อได้ ต้องมี ส.ส.มากกว่าร้อยละ 5 

 

**เป็นบทบัญญัติที่เฉพาะเจาะจง 

 

**พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญปี 60 โดยสมบูรณ์ 

 

2.การได้รับโปรดเกล้าฯ เป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวปี 57 มาจาก สนช.ถวายคำแนะนำ จึงไม่ใช่การเป็นนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญปี 60 

3.มาตรา 264 มีความมุ่งหมาย 2 ประการ 

 

-หลักความต่อเนื่องของ ครม.ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญปี 60 ประกาศใช้ ก็ให้เป็น ครม.ตามรัฐธรรมนูญปี 60 ด้วย

 

-กำหนดให้นำกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญปี 60 มาบังคับใช้กับ ครม. ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ก่อนรัฐธรรมนูญปี 60 บังคับใช้ทันที หากจะยกเว้นบางเรื่อง ก็จะบัญญัติไว้ในมาตรา 264 วรรค 2

 

4.มาตรา 158 วรรคสี่ ไม่ได้ถูกยกเว้นไว้ จึงต้องเริ่มบังคับทันที โดยนับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญปี 60 มีผลบังคับใช้ 

 

5.ข้อกล่าวอ้างของผู้ร้อง (ส.ส.ฝ่ายค้าน) ถึงคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญในอดีต (คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่3-5/2550 และ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ที่ 24/2564) มีการใช้กฎหมายย้อนหลังเพื่อเพิกถอนสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคการเมือง และการสิ้นสุดสมาชิกภาพ ส.ส. ไม่ใช่โทษทางอาญา สามารถกระทำได้ เช่นเดียวกับกรณีนายกฯ 8 ปีนั้น 

"ข่าวข้นคนข่าว" ตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า 

 

หนึ่ง เป็นคดียุบพรรคพัฒนาชาติไทย พรรคแผ่นดินไทย และพรรคไทยรักไทย พร้อมตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรค

 

สอง เป็นคดีสมาชิกภาพ ส.ส.ของ นายสิระ เจนจาคะ อดีต ส.ส.กรุงเทพ พลังประชารัฐ 

 

**ผลของทั้ง 2 คดี คือ ศาลสั่งยุบพรรค และตัดสิทธิกรรมการบริหารพรรคย้อนหลัง เช่นเดียวกับ นายสิระ พ้นสมาชิกภาพ จากคดีที่เกิดขึ้นก่อนรัฐธรรมนูญปี 60 บังคับใช้กว่า 20 ปี

 

**แต่ศาลชี้ว่าทั้งสองกรณี มีบทบัญญัติของกฎหมายที่เขียนไว้โดยชัดเจน ว่าให้มีผลย้อนหลังได้ เพราะเป็นการกระทำฝ่าฝืนกฎหมาย หรือขาดคุณสมบัติมาตั้งแต่แรก

 

**แต่บทบัญญัติรัฐธรรมนูญปี 60 ไม่ได้บัญญัติว่าระยะเวลาการดำรงตำแหน่งนายกฯที่กำหนดไว้ ให้มีผลย้อนหลังได้ ฉะนั้นคำวินิจฉัยในอดีตที่ยกมา จึงเป็นคนละกรณีกับข้อเท็จจริงในคดีนี้ 

 

6.กรณีบันทึกการประชุม กรธ.ครั้งที่ 500 เมื่อวันที่ 7 ก.ย. 61 

 

-เป็นการประชุมเพื่อพิจารณาความมุ่งหมายและคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญปี 60 

 

-เป็นเพียงการอธิบายแนวความคิดของ กรธ. และการจัดทำบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญในมาตราต่างๆ ว่ามีความมุ่งหมายอย่างไร 

 

-เป็นการพิจารณาภายหลังรัฐธรรมนูญปี 60 ประกาศใช้บังคับเป็นเวลาถึง 1 ปี 5 เดือน 

 

-ความเห็นของ "นายมีชัย ฤชุพันธ์" ประธาน กรธ. และ "นายสุพจน์ ไข่มุกด์" รองประธาน กรธ.คนที่ 1 ไม่ได้นำถูกนำไประบุไว้เป็นความมุ่งหมาย หรือคำอธิบายประกอบรายมาตราของรัฐธรรมนูญ มาตรา 158

 

7.พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯ ก่อนรัฐธรรมนูญปี 60 ประกาศใช้ และดำรงตำแหน่งต่อมาตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264 จึงเป็นนายกฯตามรัฐธรรมนูญนี้

 

-ต้องอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 158 วรรคสี่ 

 

-ต้องถือเอาวันที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นวันเริ่มต้นเข้ารับตำแหน่ง

 

8.สรุป... พล.อ.ประยุทธ์ ดำรงตำแหน่งนายกฯ ตามมาตรา 158 นับตั้งแต่วันที่ 6 เม.ย.60 ถึงวันที่ 24 ส.ค. 65 จึงยังไม่ครบกำหนดเวลาตามมาตรา 158 วรรคสี่ 

 

ดังนั้น ความเป็นรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จึงไม่สิ้นสุดลง

logoline