svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดเส้นทางชีวิต บนถนนสายการเมือง ของ “มารุต บุนนาค” อดีตประธานรัฐสภา

23 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

รายงานข่าวสุดเศร้าของวงการเมืองไทยอักครั้งหลังมีกระแสข่าว “มารุต บุนนาค” อดีตประธานรัฐสภา อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง อดีตรองหัวหน้าพรรคและอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสียชีวิตอย่างสงบในวัย 98 ปี เมื่อช่วงเที่ยงของวันนี้ ที่โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายมารุต มีอาการไม่ค่อยสู้ดีนัก ครอบครัวจึงนำตัวส่งมายังโรงพยาบาล สำหรับรายละเอียดการประกอบพิธีต่าง ๆ ทางครอบครัวของนายมารุตจะแจ้งให้ทราบต่อไป

เปิดเส้นทางชีวิต บนถนนสายการเมือง ของ “มารุต บุนนาค” อดีตประธานรัฐสภา

ทางด้าน นายองอาจ คล้ามไพบูลย์ ประธานส.ส.และ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวว่า ทราบว่านายมารุต อดีตรองหัวหน้าพรรค และอดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เสียชีวิตแล้วเมื่อช่วงก่อนเที่ยงวันนี้ ถ้ามีรายละเอียดเพิ่มเติม จะแจ้งให้ทราบภายหลัง

ชวนคอข่าวรวมรำลึก “มารุต บุนนาค” 

 

เปิดเส้นทางชีวิต บนถนนสายการเมือง ของ “มารุต บุนนาค” อดีตประธานรัฐสภา

 

“ศาสตราจารย์พิเศษ มารุต บุนนาค” 

สำหรับ ศาสตราจารย์พิเศษ มารุต บุนนาค เกิดวันที่ 21 ส.ค.2467 ปัจุบันอายุ 98 ปี  เป็นบุตรของ พระสุทธิสารวินิจฉัย (มะลิ บุนนาค) กับ ผ่องศรี บุนนาค (สกุลเดิม: เวภาระ) ธิดาขุนหลวงพระยาไกรสี (เปล่ง เวภาระ) กับคุณหญิงทองคำ 


มารุต บุนนาค เรียนมัธยมที่ โรงเรียนเทพศิรินทร์ และจบการศึกษากฎหมายจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เมื่อปี 2490 ในสมัยที่มหาวิทยาลัย ยังใช้ชื่อว่า “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” และได้รับปริญญานิติศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นิติศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต กิตติมศักดิ์ สาขารัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม และปริญญาบัตรกิตติมศักดิ์ ว.ป.อ.วุฒิบัตรกิตติมศักดิ์ วิทยาลัยการทัพบก

เส้นทางชีวิตและประวัติการทำงาน

เป็นทนายความที่มีชื่อเสียงโด่งดัง ก่อนที่จะเข้าสู่แวดวงการเมือง ด้วยการได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี 2516 เป็นสมาชิกวุฒิสภาในปี พ.ศ. 2518 และเข้าสู่พรรคประชาธิปัตย์ โดยการลงเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร เขต 2 คือ เขตพญาไทและเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ในการเลือกตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 และ พ.ศ. 2526 ได้รับการเลือกตั้งเป็น ส.ส. ในเขตกรุงเทพมหานคร ได้รับเลือกให้เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์สมัย พ.อ. (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ เป็นหัวหน้าพรรค

เผยชีวิตส่วนตัว

นายมารุต บุนนาค สมรสกับ คุณหญิงพันทิพา บุนนาค (สกุลเดิม "พันธุ์มณี") มีธิดาคือ มฤทุ บุนนาค มอริ เจ้าหน้าที่ระดับสูงใน องค์การสหประชาชาติ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยที่ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และมีบุตรคือ รุจิระ บุนนาค สำเร็จนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เนติบัณฑิตไทยสำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา สำเร็จปริญญาโทกฎหมายระหว่างประเทศ 2 ปริญญา ที่มหาวิทยาลัยทูเรนและมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย สหรัฐอเมริกา ปัจจุบันดูแลสำนักงานต่างประเทศ

ตำแหน่งทางวิชาการ เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี พ.ศ. 2517 – พ.ศ. 2519 และปี พ.ศ. 2521 และปัจจุบัน เป็นประธานร้านธรรมศาสตร์กาชาดและเป็นอุปนายกสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นกรรมการของสมาคมมิตรภาพไทย-จีน ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 – พ.ศ. 2526

เปิดเส้นทางชีวิต บนถนนสายการเมือง ของ “มารุต บุนนาค” อดีตประธานรัฐสภา

ตำแหน่งทางการเมือง

สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ 2 สมัย

สมาชิกวุฒิสภา

เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรกรุงเทพมหานคร (เขตพญาไท เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตดุสิต เขตปทุมวัน เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์)

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

ประธานรัฐสภา

ประธานสภาผู้แทนราษฎร

ประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ


เครื่องราชอิสริยาภรณ์

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นสิริยิ่งรามกีรติ ลูกเสือสดุดีชั้นพิเศษ

เข็มเกียรติยศมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในฐานะศิษย์เก่าผู้ทำคุณประโยชน์

เข็มเกียรติยศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 

นอกจากนี้ยังดำรงตำแหน่งอื่นๆ อาทิ

  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (ปี 2524 – 2526)
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (ปี 2526 – 2529 และปี 2532 – 2533)
  • อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ปี 2529 – 2531)
  • อดีตประธานรัฐสภา (ปี 2535 – 2538)
  • อดีตประธานสภาผู้แทนราษฎร (ปี 2535 – 2538)
  • อดีตประธานตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ
  • ทำหน้าที่เป็นประธานสภาชั่วคราว ในการคัดเลือกประธานสภา หลังการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 จากฐานะเป็น ส.ส.ที่อาวุโสที่สุดของสภา

เปิดเส้นทางชีวิต บนถนนสายการเมือง ของ “มารุต บุนนาค” อดีตประธานรัฐสภา

ขอขอบคุณที่มา : https://marutbunnag.com 

logoline