svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แอมเนสตี้ เรียกร้อง บิ๊กป้อม ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ยุติดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืน

23 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

แอมเนสตี้ ยื่นหนังสือเรียกร้อง รักษาการนายกฯ ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และยุติการดำเนินคดีกับผู้ฝ่าฝืนทุกคน ชี้ กระทบสิทธิเสรีภาพการแสดงออกและการใช้ชีวิต

23 กันยายน 2565 กลุ่มแอมเนสตี้ นำโดย น.ส.ปิยนุช โครตสาร ผอ.แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย ตัวแทนนักกิจกรรมและนักวิชาการที่ถูกตั้งข้อหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน รวมตัวกันยื่นหนังสือ ถึง พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณรักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรี ให้ยุติการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และยุติการดำเนินคดีกับผู้ที่แสดงออกทางการเมือง โดยที่ผ่านมามีผู้ที่ถูกกล่าวหาฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อย่างน้อย 1,467 คน 647 คดี

 

โดยทางกลุ่ม มองว่า ตลอดระยะเวลา 2 ปีกว่า ที่ผ่านมา พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่ได้ทำเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค แต่เพื่อกีดกันการแสดงออกของประชาชน  และหลังจากโควิดบางลง แต่ พ.ร.ก.ฉุกเฉินยังถูกบังคับใช้ และมีการใช้กฎหมายควบคุมการชุมนุมกับประชาชน นอกจากนี้การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ที่ผ่านมาขัดต่อรัฐธรรมนูญ และเอื้อต่ออำนาจของรัฐบาล สร้างภาระให้กับประชาชน

 

แอมเนสตี้ ร้องรักษาการนายกฯ ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน

การประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นการใช้ข้อบังคับในภาวะฉุกเฉินเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคงของบุคคล สิทธิในการแสดงออก รวมถึงสิทธิในการชุมนุมด้วย ดังนั้นทางกลุ่มเห็นว่า รัฐบาล ควรที่จะยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน

 

นายสมพาศ นิลพันธ์ ที่ปรึกษาสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี  เป็นตัวแทนมารับหนังสือ โดยระบุว่า รัฐบาลให้ความสำคัญสิทธิเสรีภาพของประชาชน และจะนำข้อเรียกร้องทั้ง 6 ข้อ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป

 

เลขาฯ-และผอ.ศบค. ในขณะนี้

สำหรับ ข้อเรียกร้องที่ยื่นต่อรัฐบาลวันนี้รวมทั้งหมด 6 ข้อ ประกอบด้วย

  • 1. ยุติการใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินโดยคำนึงถึงความจำเป็นและความเหมาะสม
  • 2. อนุญาตและคุ้มครองให้บุคคลหรือกลุ่มใดๆสามารถแสดงความเห็นและชุมนุมประท้วงโดยสงบได้ในพื้นที่ปลอดภัย โดยรัฐต้องอำนวยความสะดวกให้
  • 3. ยุติการดำเนินคดีอาญากับบุคคลที่แสดงออกปละชุมนุมประท้วงโดยสงบ
  • 4. ดำเนินการให้มั่นใจว่า เจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่มีหน้าที่ควบคุมฝูงชนต่างได้รับการอบรมอย่างเหมาะสม สอดคล้องกับกฎหมายและมาตรฐานสิทธิมนุษยชน
  • 5. มาตรการทั้งปวงที่นำมาใช้ในสถานการณ์ฉุกเฉิน และการเลี่ยงพันธกรณีด้านสิทธิต้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับข้อกำหนดในแง่การให้ข้อมูล ความถูกต้องตามกฎหมาย รวมถึงกำหนดให้มีกลไกการตรวจสอบที่เป็นอิสระ
  • 6. พิจารณาและปรับปรุง พ.ร.บ.โรคติดต่อ 2558ให้สอดคล้องกับกติการะหว่างประเทศ และหลักความถูกต้องของกฎหมาย เพื่อนำมาใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพื่อประกันความรับผิดและการเยียวยาให้มีประสิทธิภาพ

 

ทั้งนี้วันนี้ ศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด– 19 (ศบค.) มีการประชุมพิจารณา ยกเลิกพ.ร.ก.ฉุกเฉิน ซึ่งหากที่ประชุมเห็นชอบ ก็ต้องยุบ ศบค. อย่างแน่นอน รวมทั้งยุบหน่วยงานภายใต้ ศบค. และคำสั่งต่าง ๆ ที่ออกโดยศบค. ก็ต้องยกเลิกทั้งหมด โดยจะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค. 2565 ซึ่งจะมีกลไกรองรับคือ คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (อ่านรายละเอียดที่นี่)

logoline