svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

"30 ก.ย." ชี้ชะตา "ประยุทธ์" ได้เวลาเกษียณ ปม 8 ปีนายกฯหรือได้ไปต่อ

15 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สองคนสองมุม "ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์ อดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ และ เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ กับสัญาณศาลรัฐธรรมนูญกำหนดนัดหมายอ่านคำวินิจฉัย ชี้ชะตา ปม "8 ปีนายก" 30 กันยายนนี้ จะเป็นวันเกษียณนายกฯประยุทธ์ หรือไม่ ( ชมคลิป )

 

14 กันยายน 2565 "รายการคมชัดลึก" โดย"วราวิทย์ ฉิมมณี" พิธีกรรายการสัมภาษณ์ แขกรับเชิญ "เรืองไกร  ลีกิจวัฒนะ" อดีตสมาชิกวุฒิสภา และ "ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์"  อดีตโฆษกกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในประเด็นร้อน 30 ก.ย. ชี้ชะตา "ประยุทธ์" ไปต่อหรือพอแค่นี้

 

"30 ก.ย." ชี้ชะตา "ประยุทธ์" ได้เวลาเกษียณ ปม 8 ปีนายกฯหรือได้ไปต่อ

 

รัฐธรรมนูญ ย้อนหลังจำกัดสิทธิ์ " ประยุทธ์" ไม่ได้ 

 

"ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์" อดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) มาร่วมให้ความคิดเห็นถึงเจตนารมณ์และความมุ่งหมายของการดำรงตำแหน่ง 8 ปีของนายกรัฐมนตรี ร่วมกับวราวิทย์ ฉิมมณี  พิธีกร 

 

"วราวิทย์"  ตั้งคำถามว่า  เจตนารมณ์ของความมุ่งหมายในการจำกัดอำนาจของนายกรัฐมนตรี 8 ปี หากมองแบบนี้ พลเอกประยุทธ์ก็อยู่ในตำแหน่งมาครบแปดปีจะมองไปเป็นเจตนารมณ์อย่างอื่นไปได้อย่างไร 

 

"ดร.อมร" กล่าวว่า ส่วนตัวยืนยันตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ไม่ว่าจะเป็นมาตรา  170 หรือมาตรา 158 วรรคไหน ต้องกลับไปพิจารณาดูว่านายกรัฐมนตรีที่มาตามรัฐธรรมนูญฉบับนี้คือใคร  ซึ่งคงไม่ได้มุ่งหมายไปที่ "พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา"  มิฉะนั้นแล้วจะเหมือนกับการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เพื่อ"พลเอกประยุทธ์ " มิฉะนั้นก็จะไม่ใช่กฎหมายมหาชน  แต่เป็นการเขียนรัฐธรรมนูญที่พุ่งเป้าไปที่ "พล.อ.ประยุทธ์"  นายกรัฐมนตรี 

 

"ดร.อมร" อ้างอิง รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกา ที่บัญญัติไว้ว่า หากจะใช้กฏหมายย้อนหลังเพื่อการลงโทษ จะต้องไม่ส่งผลที่เป็นโทษกับบุคคลนั้น  เพราะฉะนั้น " พล.อ.ประยุทธ" ไม่ควรได้รับการจำกัดสิทธิ์เป็นเรื่องที่ทำไม่ได้  ซึ่งอย่างที่เปรียบเทียบกันมาว่า ถ้าเริ่มนับการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ ปี 2557 หรือปี 2560  ก็จะไปกวาดอดีตนายกรัฐมนตรีอีกหลายคน แต่ควรเริ่มนับที่ปี 2562 ก็จะเริ่มต้นที่ "พล.อ.ประยุทธ์" 

 

ศ.ดร.อมร วาณิชวิวัฒน์" อดีตคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.)

 

"วราวิทย์"  ตั้งคำถามว่า แต่กรณีนี้ไม่ใช่การละเมิดสิทธิ์ เหมือนที่อ้างอิง แต่เป็นการจำกัดอำนาจของฝ่ายบริหาร นี่คือ ความมุ่งหมายของกฎหมายมหาชน
 

"ดร.อมร" ยอมรับว่า ไม่เถียงหากจะมองว่าอำนาจรัฐเป็นอำนาจที่อันตราย แต่ในขณะเดียวกันควรมองย้อนไปว่า การบริหารราชการแผ่นดินถ้าปล่อยให้เกิดอุปสรรคขัดขวาง เพราะฉะนั้นการตีความกฎหมาย ถ้าตีความเพื่อไปจำกัดสิทธิ์  ปัญหาจะคาราคาซังมากมายขนาดนี้  เพราะฉะนั้นควรที่จะหาทางออก ซึ่งไม่คิดว่าจะเป็นการทำลายระบบ หรือทำให้เกิดการขับเคลื่อนรัฐบาลต้องให้ความเป็นธรรมกับตรงนี้ด้วย  สำหรับคนที่เป็นรัฐบาลก่อนหน้าปี 2560 ที่รัฐธรรมนูญบังคับใช้ ซึ่งอาจจะไม่ใช่ "พล.อ.ประยุทธ์" กลับมาก็ได้ หรืออาจจะเป็นใครคนใดคนหนึ่งก็ได้  ถ้าไปมุ่งกำหนด 8 ปี เหมือนกับไปมุ่งหมายที่จะจำกัดบุคคลคนนี้  ซึ่งความเห็นของ ศ.ดร.อมร  อาจถูกมองว่าเคยเป็นอดีต กรธ. ที่ผลักดัน โดย คสช. ที่ตั้งตนเองมา ยกร่างกฎหมาย  หากบุคคลใดตีความหรือคิดแบบนี้ก็ชัดเจนว่ามุ่งร้ายไปที่"พล.อ.ประยุทธ์"

"เรืองไกร  ลีกิจวัฒนะ" อดีตสมาชิกวุฒิสภา

 

กฎหมายเขียนชัดไม่ต้องตีความ "นายกฯ ครบ 8 ปี"

 

"วราวิทย์" - คุณเรืองไกรมองประเด็นนี้อย่างไร การบังคับใช้ย้อนหลัง แล้วมุ่งไปจำกัดสิทธิ์ ซึ่งจริงๆ แล้วกฎหมายที่ออกมากไม่ควรย้อนกลับไปเป็นโทษให้คนที่เกี่ยวข้อง

 

"เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" - เรื่องนี้ศาลฎีกานักการเมืองฯเคยใช้ ศาลรัฐธรรมนูญก็ใช้กรณียุบพรรคอนาคตใหม่ ไม่ได้บัญญัติให้กู้เงินก็บอกเป็นรายรับก็งงกันทั้งโลก ในความเห็นผมความหมายนายกฯคือหมายถึงตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันและในอนาคต วันนี้สมมตินายกฯอภิสิทธิ์ไม่ได้ถูกคดีเหมือนคุณทักษิณคุณยิ่งลักษณ์ สามารถมาเป็น แต่ก็นับรวมกันต้องไม่เกิน 8 ปี ทีนี่ข้อเท็จจริงตอนนี้"พล.อ.ประยุทธ์" ท่านเป็นมา 8 ปีสิงหาครบไปแล้ว ต้องมาแปลความว่าถ้านายกฯอภิสิทธิ์มานับใหม่ก็เป็นได้อีก 8 ปี ซึ่งสากลเขาไม่ทำกันนะ เจตนารมณ์เรื่องนี้ถ้าเทียบต่างประเทศ มีคนเดียวที่ทำแล้วแก้รัฐธรรมนูญคือ "ปูติน" วันนี้เราก็ต้องไปทำแบบนั้นก่อน คืออันนี้ใช้กับนายกฯทุกคน ยกเว้นว่าถูกจำกัดสิทธิ์ไปแล้ว ท่านชวนเป็นครบ 8 ปีหรือยังถ้าเหลือก็มีสิทธิ์ คุณอนุทินยังไม่เคยเป็นนายกฯก็เป็นได้ 8 ปี หลักนี้ใช้ด้วยความสม่ำเสมอ

 

วราวิทย์ - คุณเรืองไกรก็ไม่ได้มีปัญหาถ้าจะไปนับรวมถึงคนที่เคยเป็นนายกฯ และมีชีวิตอยู่ ที่เคยเป็นมาแล้วต้องนับด้วย

 

"เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" - มาตรา 158 เขียนตรงๆเลยว่าตามรัฐธรรมนูญนี้ มาดูมาตรา 263 บัญญัติไว้สำหรับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาตามรัฐธรรมนูญนี้ อันนี้ชัดเพราะศาลเคยแปลความแบบนี้มาหลายคำวินิจฉัยแล้ว ถ้าเขียนว่าตามรัฐธรรมนูญนี้ผมไม่เถียงเลย คุณนับไปเลย เอา 158 คุณยังไม่ได้เลือก ซึ่งคนที่พูดยังไม่ได้เลือกก็คุณไปเขียนบทเฉพาะกาลว่า มาตรา 158 เลือกโดยผู้แทนราษฎร แต่คุณไปเขียนบทเฉพาะกาลเอาส.ว.มาจาก 200 คนก็ไปเพิ่มมาอีก 50 คน ถ้าเล่นออกแบบนี้ผมไม่ตีด้วย เพราะฉะนั้นเรื่องอย่างนี้คุณเขียนเอาแต่ได้ ตีความเอาแต่ได้ ไม่ได้ ประชาชนเขารู้สึกถึงวันพอก็ต้องพอ

 

"วราวิทย์" - ถ้าคุณเรืองไกรบอกปี 57 อาจารย์อมรบอกปี 62 แล้วปี 60 หล่ะ

 

"เรืองไกร ลีกิจวัฒนะ" - ผมยกตัวอย่างคำวินิจฉัยเลย ของคุณดอนกับหม่อมหลวงปนัดดา ผมเป็นผู้ร้องเขาแปลความ 264,170 เรื่องคุณสมบัติถือหุ้นให้นับจาก 6 เมษายน 2560 มันถูกต้องเพราะอะไร เพราะรัฐธรรมนูญปี 57 ไม่ได้เขียนเรื่องนี้ไว้ แต่ของท่านนายกฯบัญญัติเฉพาะว่านายกรัฐมนตรีเป็นเกิน 8 ปีไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นติดต่อกันหรือไม่ ยกเว้นเรื่องรักษาการฯไม่ให้นับรวม  แล้วรักษาการฯอยู่ใน 168 แต่วันนี้ถามว่าท่านรักษาการฯเหมาะไหมก็ไม่ควร เพราะฉะนั้นเมื่อแปลแค่ 264 วรรค 2 โยงกลับไป 170 วรรค 2 มันตรงกับ 158 วรรค 4 จบ

 

ชมคลิป>>>

 

logoline