svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอมนูญ ชี้ ไทยควรเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อ้างอิงจากงานวิจัยของสหรัฐฯ

09 กันยายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอมนูญ เผยรายงานวิจัยสหรัฐฯ ระบุว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ไม่สามารถรักษาโควิดได้ แนะไทยควรเลิกใช้ตามประเทศเพื่อนบ้าน ระบุ ยาโมลนูพิราเวียร์ ราคาไม่ต่างกัน

รายงานความคืบหน้าทางด้านวิชาการ เกี่ยวกับความคืบหน้าของโควิด-19 ทางด้าน นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียูเฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ ประจำโรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟซบุ๊ก หมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ FC ยกผลงานวิจัยล่าสุดของสหรัฐอเมริกา ที่เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Clinical Infectious Diseases ถึงประสิทธิภาพของยาฟาวิพิราเวียร์ ว่า

เราทราบจากสื่อต่างประเทศตั้งแต่วันที่ 14 พฤศจิกายน 2564 ผลการศึกษาแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมเปรียบเทียบยาฟาวิพิราเวียร์กับยาหลอกที่ทำในประเทศสหรัฐอเมริกา เม็กซิโก และบราซิล สร้างความผิดหวังให้กับบริษัทยาของญี่ปุ่นที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ยาตัวนี้

หมอมนูญ ชี้ ไทยควรเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อ้างอิงจากงานวิจัยของสหรัฐฯ

หมอมนูญ ชี้ ไทยควรเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อ้างอิงจากงานวิจัยของสหรัฐฯ

ล่าสุด ผลงานวิจัยนี้เพิ่งตีพิมพ์ลงในวารสาร Clinical Infectious Diseases เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2565 การศึกษาทำในช่วงพฤศจิกายน 2563-ตุลาคม 2564 เป็นการศึกษาขนาดใหญ่ในคนติดเชื้อไวรัสโควิด 1187 ราย อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป (ชาวอเมริกัน 963 คน เม็กซิกัน 163 คน บราซิล 65 คน) โดยให้ยาภายใน 5 วันหลังเริ่มมีอาการ ให้ยาทั้งหมด 10 วัน 599 คนรับยาฟาวิพิราเวียร์ 588 คนรับยาหลอก

หมอมนูญ ชี้ ไทยควรเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อ้างอิงจากงานวิจัยของสหรัฐฯ

ผลการศึกษาพบว่า

ยาฟาวิพิราเวียร์ ไม่แตกต่างจากยาหลอก ไม่ช่วยทำให้อาการของโรคโควิดดีขึ้น ไม่ลดความรุนแรงของโร ไม่ลดการป่วยหนักเข้านอนในโรงพยาบาล ไม่ลดจำนวนไวรัสในร่างกาย แต่คนที่กินยาฟาวิพิราเวียร์ มีกรดยูริกสูงขึ้นถึง 19.9% เมื่อเปรียบเทียบกับยาหลอก 2.8%ในการศึกษานี้พูดถึงประเทศที่ยังใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ มีประเทศรัสเซีย อินโดนีเซีย ดูไบ และประเทศไทยรวมอยู่ด้วยบทสรุปของการศึกษานี้ ไม่ควรนำยาฟาวิพิราเวียร์มาใช้ในการรักษาโรคโควิด-19

“ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรหยุดใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ในการรักษาโรคโควิด-19 ยาโมลนูพิราเวียร์ปัจจุบันราคาไม่แพงกว่ายาฟาวิพิราเวียร์ ประเทศเพื่อนบ้านของเราเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์นานแล้ว และเข้าถึงยาโมลนูพิราเวียร์และแพ็กซ์โลวิดซึ่งมีหลักฐานพิสูจน์ลดความรุนแรงของโรค ลดการเข้านอนในโรงพยาบาล องค์การเภสัชกรรมควรเลิกผลิต-นำเข้าและไม่ควรส่งยาฟาวิพิราเวียร์ให้ร้านขายยาและโรงพยาบาลอีกต่อไป” นพ.มนูญ ระบุ

 

ส่องโพสต์ ก่อนหน้านี้ เตือนเกี่ยวกับโรคโควิด-19 เมื่อ 5 กันยายน 2565

ลูกหลานคนสูงอายุบางคน ไม่ยอมให้คนสูงอายุฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 เพราะกลัวว่าคนสูงอายุจะเป็นอะไรหลังฉีดวัคซีน และอ้างเหตุผลว่าคนสูงอายุไม่ได้ไปไหน อยู่แต่ในบ้าน และทุกคนในบ้านก็ฉีดวัคซีนครบแล้ว เป็นความเข้าใจที่ผิด การที่คนสูงอายุฉีดวัคซีน จะช่วยลดความรุนแรงของโรคได้มาก ให้ดูตัวอย่างผู้ป่วยอายุ 104 ปี มีโรคประจำตัวหลายโรค ยังปลอดภัยหลังติดโควิด เพราะได้รับวัคซีนครบโดสตามด้วยเข็มกระตุ้น และได้รับยาต้านไวรัสเร็ว

หมอมนูญ ชี้ ไทยควรเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อ้างอิงจากงานวิจัยของสหรัฐฯ

หมอมนูญ ชี้ ไทยควรเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อ้างอิงจากงานวิจัยของสหรัฐฯ

ผู้ป่วยหญิงอายุ 104 ปี เป็นโรคเบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความจำเสื่อม นอนติดเตียง ได้อาหารทางสายยาง ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม กระตุ้นด้วยวัคซีนโมเดอร์นา 1 เข็ม เมื่อ 4 เดือนก่อน มารพ.วันที่ 29 สิงหาคม 2565 ด้วยไข้ 38.6 องศาเซลเซียส ไอ หัวใจเต้นเร็ว ระดับออกซิเจนปกติ เอกซเรย์ปอดปกติ (ดูรูป) ตรวจ ATK ให้ผลบวก ก่อนหน้านี้ 3 วัน คนเฝ้าที่ได้รับวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า 2 เข็ม และโมเดอร์นา 2 เข็ม ติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แพร่เชื้อให้กับผู้ป่วยสูงอายุรายนี้

 

ให้นอนรักษาในรพ. เริ่มยาต้านไวรัสเรมเดซิเวียร์ชนิดฉีด ให้ทั้งหมด 5 วัน คนไข้ดีขึ้นเร็วมาก ไข้ลง ไอดีขึ้น ไม่เหนื่อย เอกซเรย์ปอดก่อนกลับบ้านปกติ (ดูรูป)

หมอมนูญ ชี้ ไทยควรเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อ้างอิงจากงานวิจัยของสหรัฐฯ

หมอมนูญ ชี้ ไทยควรเลิกใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ อ้างอิงจากงานวิจัยของสหรัฐฯ

 

logoline