svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

วัดใจ "พลเอกประยุทธ์" ยุบสภาหนีปม "นายกฯ 8 ปี" รอดหรือร่วง ?

19 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ยิ่งนับวันก็ยิ่งใกล้เข้ามาทุกขณะ  เหมือนหายใจรดต้นคอ สำหรับวาระดำรงตำแหน่งของ"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ท่ามกลางกระแสกดดัน ของคนในแวดวงการเมืองสังคม และกลุ่มนักวิชาการ หลากหลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่สนับสนุนให"พล.อ.ประยุทธ์" อยู่ทำงานต่อไป ( มีคลิป )

 

ยิ่งนับวันก็ยิ่งใกล้เข้ามาทุกขณะ  เหมือนหายใจรดต้นคอ สำหรับ อายุการดำรงตำแหน่ง ของ"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี ท่ามกลางกระแสกดดัน ของคนในแวดวงการเมืองสังคม และกลุ่มนักวิชาการ หลากหลายกลุ่ม รวมถึงกลุ่มที่สนับสนุนให"พล.อ.ประยุทธ์" อยู่ทำงานต่อไป 

 

วัดใจ "พลเอกประยุทธ์" ยุบสภาหนีปม "นายกฯ 8 ปี" รอดหรือร่วง ?

 

"รายการคมชัดลึก เนชั่นทีวี" ดำเนินรายการโดย "วราวิทย์  ฉิมมณี" จึงเปิดทางให้ทุกกลุ่มมาแสดงเหตุและผล ประกอบด้วย "รศ.ดร. พิชาย รัตนดิลก" ผู้อำนวยการ หลักสูตรการเมืองและยุทธสาสตร์การพัฒนา ( นิด้า ) "รศ.ดร. พิชาย รัตนดิลก" ผู้อำนวยการ หลักสูตรการเมืองและยุทธสาสตร์การพัฒนา ( นิด้า ) และ  "สุทิน คลังแสง" ประธานวิปฝ่ายค้าน ในตอน วัดใจ "ประยุทธ์" ยุบสภาหนีปม 8 ปี? "   
    

 

อ่านทาง "ประยุทธ์" ยุบสภา รักษาอำนาจ ?

 

รศ.ดร. พิชาย รัตนดิลก" ผู้อำนวยการ หลักสูตรการเมืองและยุทธสาสตร์การพัฒนา ( นิด้า )

 

"วราวิทย์" ถามตรงๆได้รับสัญญาณ"พล.อ.ประยุทธ์" ยุบสภา ฟันธงหรือโยนหินถามทาง 

 

"รศ.ดร. พิชาย รัตนดิลก" ผู้อำนวยการ หลักสูตรการเมืองและยุทธสาสตร์การพัฒนา ( นิด้า ) แสดงทรรศนะถึงการดำรงตำแหน่งของ พล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะอายุครบ 8 ปี อย่างตรงไปตรงมา ว่า ปฏิเสธไม่ได้เป็นการโยนหินถามทาง แต่หลักการ วิเคราะห์จากพื้นฐานที่ "พล.อ. ประยุทธ์" รู้แน่ๆว่าตนเองจะต้องยุติตำแหน่งนายกรัฐมนตรี บนทางเลือก 2 ทาง
   

ทางที่ 1  กรณีตัดสินใจลาออกจะดูดีกว่าถูกปลดออก และการตัดสินลาออก เพื่อพ้นหน้าที่บริหารบ้านเมือง พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐก็ได้ประโยชน์เต็ม และหากต้องมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่"พล.อ.ประวิตร" มีโอกาสมากที่สุดเพราะเป็นผู้มีบารมีในสภาฯมากที่สุดในขณะนี้ 

 

อีกทั้ง มีพันธมิตรจำนวนมาก สามารถคุมเสียง ส.ส. และ ส.ว.ที่คอยเป็นกำลังสนับสนุนจำนวนมากแต่คะแนนนิยมจากประชาชนต่ำซึ่งเชื่อว่า หากมีโอกาสอยู่ตรงหน้าก็มีโอกาสเลือกในทางที่ได้ประโยชน์มากที่สุดและ"พล.อ.ประยุทธ์"ได้ประโยชน์ที่ผู้คนจะบันทึกคุณความดี และสรรเสริญว่า เป็นคนที่รู้จักพอ ไม่อยากอยู่ในอำนาจมากเกินไป แต่หากเลือกลงจากตำแหน่งเหมือน"พล.อ.เปรม" ได้ยกย่องสรรเสริญว่าเป็นคนที่รู้จักพอ แต่หากถูกปลดจากศาลรัฐธรรมนูญ ก็อาจบันทึกว่าเป็นการสืบทอดได้   

 

แต่หาก"พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ" สืบทอดตำแหน่งต่อต้องดูว่า จะมีความระหองระแหงกันหรือไม่ แต่หากความสัมพันธร้าวฉาน  "พล.อ.ประยุทธ์" ไม่มีหลักประกันอะไร หลังจากลงจากตำแหน่ง ดูแลเหมือนหมดประโยชน์ทางการเมือง เพราะหากไว้วางใจกันเต็มที่ ทางเลือกลาออกจะได้รับการยกย่องเป็นวีรบุรุษ มากกว่าถูกปลดจากศาลรธน.แต่ก็มีความเสี่ยง รอดก็ดี หากไม่รอดก็หมดไปเพราะไม่ได้เตรียมการไว้เลย 

วัดใจ "พลเอกประยุทธ์" ยุบสภาหนีปม "นายกฯ 8 ปี" รอดหรือร่วง ?

 

ทางเลือกที่  2  "ยุบสภา" ทางเลือกนี้ให้น้ำหนักมากกว่า เพราะตั้งอยู่บนฐานคิด ตัวตนของ "พล.อ.ประยุทธ์" ที่คิดว่า คุมได้ทุกอย่าง ไม่ยอมปล่อยอำนาจให้นานที่สุด และอยากอยู่ร่วมประชุม เอเปค ที่เป็นเจ้าภาพภายในสิ้นปีนี้ หากเลือกยุบสภาฯการันตีว่าได้ทำแน่ เพราะระยะเวลากว่ามีรัฐบาลใหม่มา มกราคม ช่วงนี้ก็รักษาการนายกรัฐมนตรีได้ซึ่งทางเลือกนี้"พล.อ.ประวิตร" ไม่ได้อะไร และ ถูกตัดโอกาสขึ้นเป็นรักษาการนายกรัฐมนตรี หลังจากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ ต้องเลิกเล่นการเมืองไป 


 

ยุบทำไมอยู่ไปก็รอด 

 

พล.ท.นันทเดช เมฆสวัสดิ์  อดีตหัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ ศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ(ศรภ.) แสดงความเห็นถึงกระแสการยุบสภาฯ ก่อนครบ 24 สิงหาคม  

 

วัดใจ "พลเอกประยุทธ์" ยุบสภาหนีปม "นายกฯ 8 ปี" รอดหรือร่วง ?

 

"พล.ท.นันทเดช"  กล่าวว่า "พล.อ.ประยุทธ์" ไม่จำเป็นต้องยุบสภา เพราะเข้ามาทำงานด้วยความชอบธรรม ตามคุณสมบัติ มาตรา 159 ที่ได้รับการเลือกจากสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี จะมาจากรัฐประหาร "พล.อ.ประยุทธ์" หัวหน้าคสช.ที่มาจากรัฐประหารและขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีในฐานะรัฐถาธิปัตย์ตามรัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557  ตามมติของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. เมื่อ 24 ส.ค.2557 ไม่อาจนับเป็นนายกรัฐมนตรีที่มาตามกรอบมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญ2560 ได้ เพราะไม่ได้มาจาการเลือกกันในรัฐสภาตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดแต่หากยังต้องนำบทเฉพาะกาล มาตรา 264 มานับวันที่ให้ ครม. ที่บริหารราชการแผ่นดินก่อนรัฐธรรมนูญ 2560  ทำหน้าที่เป็น ครม.ได้ต่อไป ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีพลเอกประยุทธ์ด้วย ดังนั้นการนับครบ 8 ปี จึงต้องนับตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ 2560 ใช้บังคับคือ 6 เม.ย.2560 และนับตามบทเฉพาะกาล มาตรา 264

 

ฝ่ายค้านดักทาง อย่ายุบสภาหนีปม 8 ปี 

 

"สุทิน คลังแสง" ประธานวิปฝ่ายค้าน ตอบคำถาม พิธีกร "วราวิทย์" ถามว่า หัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน แสดงความไม่เห็นด้วยที่ "พล.อ.ประยุทธ์" จะยุบสภาหนีการวินิจฉัยจากศาลรัฐธรรมนูญปม อายุนายกรัฐมนตรี 8 ปี  ทำไมฝ่ายค้านถึงไม่เห็นด้วยวิธีการนี้

 

วัดใจ "พลเอกประยุทธ์" ยุบสภาหนีปม "นายกฯ 8 ปี" รอดหรือร่วง ?

 

"สุทิน" กล่าวว่า เราคิดว่า การยุบสภา ต้องเป็นเรื่องความขัดแย้งรัฐบาลกับรัฐสภา แต่เรื่อง 8 ปี เป็นเรื่องที่ นายกฯ ต้องรับผิดชอบเอง การหนีเอาตัวรอดมาโยนให้สภา เราไม่อยากให้เกิดแบบนั้น เพราะเป็นปัญหาส่วนตัว อย่าโยนให้สภา เพราะเท่ากับโยนให้ประชาชนเลือกตั้ง และเอางบประมาณมาให้ประชาชน แก้ปัญหา

 

พิธีกร ไม่ดีหรือไม่ต้องไป ลุ้นศาลรัฐธรรมนูญ 

"สุทิน" กล่าวว่าไม่มีหลักประกันว่ายุบสภาแล้ว "พล.อ. ประยุทธ์" จะวางมือ แต่ให้ สส.กลับบ้าน เพื่อไม่ให้ตามมาตรวจสอบ หรือ ติติง และให้ส.ส.ไปยุ่งเลือกตั้ง ถือว่าเสี่ยงกว่า เพราะ "พล.อ.ประยุทธ์" อาจอยู่ต่อแบบสบายไม่มีใครมาว่า และอาจรักษาการอยู่ต่อไปได้ แบบไม่มีแรงเสียดทานทางการเมือง ทำการเมืองสบาย 

 

"สุทิน" ไม่เชื่อว่า "พล.อ.ประยุทธ์" จะยุบสภา เพราะการยุบสภา คือต้องได้เปรียบ  แต่ความเป็นรัฐบาล "พล.อ.ประยุทธ์" ในปัจจุบันอยู่ในสถานการณ์เสียเปรียบ กระแสความนิยมขาลง จะหวังพึ่งพรรคพลังประชารัฐก็ตั้งขบวนไม่ติด หรือ พรรครวมไทยสร้างชาติ ก็พึ่งจะเริ่มต้น ปัจจุบันฝ่ายค้านและพรรคร่วมรัฐบาลบางพรรคแข็งแกร่งกว่า และตอนนี้เชื่อว่าเขาคงไม่ทำ เพราะยังไม่ได้เปรียบ ยุบก่อนที่จะเสียเปรียบไปมากกว่านี้ เชื่อว่าน่าจะเดินหน้าต่อไป ไม่สนใจผลกระทบ

 

ชมคลิป >>>

logoline