svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

โควิดวันนี้ WHO จับตา "โอมิครอน BA.2.75" ใกล้ชิด ล่าสุด"BA.5" ครองการระบาด 70%

13 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

โควิดวันนี้ หมอธีระ เปิดรายงานองค์การอนามัยโลก จับตาสถานการณ์โควิด "โอมิครอน BA.2.75" อย่างใกล้ชิด ขณะการแพร่ระบาดในปัจจุบัน สายพันธุ์ย่อย BA.5 สูงสุดที่ 70% ขณะหลังหายป่วยพบ Long COVID นายหลายเดือน ย้ำไม่ติดเชื้อดีที่สุด

13 สิงหาคม 2565 โควิดวันนี้ WHO จับตา “โอมิครอน BA.2.75” ขณะ “โอมิครอน BA.5” ยังครองอันดับ 1 โดย “หมอธีระ” รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” เปิดรายละเอียดในเรื่องนี้ ระบุว่า..

โควิดวันนี้ WHO จับตา "โอมิครอน BA.2.75" ใกล้ชิด ล่าสุด"BA.5" ครองการระบาด 70%

เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 704,577 คน ตายเพิ่ม 1,751 คน รวมแล้วติดไป 593,834,743 คน เสียชีวิตรวม 6,451,014 คน

 

5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และอิตาลี

 

เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 7 ใน 10 อันดับแรก และ 15 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 79.25 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 58.13

โควิดวันนี้ WHO จับตา "โอมิครอน BA.2.75" ใกล้ชิด ล่าสุด"BA.5" ครองการระบาด 70%

...สถานการณ์ระบาดของไทย

จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 13 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม


...อัพเดตจากองค์การอนามัยโลก

จากรายงาน WHO Weekly Epidemiological Update เมื่อ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา โควิดสายพันธุ์โอมิครอน Omicron ครองการระบาดทั่วโลกกว่า 99%

 

หากดูสายพันธุ์ย่อย จะพบว่า โอมิครอน BA.5 ยังมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดสูงเกือบ 70% ของทั้งหมด ในขณะที่ BA.2 เหลือเพียง 1% และ BA.2.12.1 เหลือ 1.3%, และ BA.4 ลดลงเหลือ 9.1% ตามลำดับ

 

ส่วนสายพันธุ์ย่อยอื่นๆ ที่เป็นข่าวมาก่อนหน้านี้ ยังคงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด เช่น โอมิครอน BA.2.75 

 

โควิดวันนี้ WHO จับตา "โอมิครอน BA.2.75" ใกล้ชิด ล่าสุด"BA.5" ครองการระบาด 70%

...อัพเดต Long COVID 

งานวิจัยล่าสุดเมื่อวานนี้ 12 สิงหาคม 2565 โดย Haberland E และคณะ จากประเทศเยอรมัน เผยแพร่ในวารสารทางการแพทย์สากล International Journal of Clinical Practice ทำการศึกษาในผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 จำนวน 206 คน ที่ติดเชื้อแล้วมีอาการน้อย ส่วนใหญ่ไม่ได้รับการรักษาตัวในโรงพยาบาล โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มประชากรที่เพศและอายุใกล้เคียงกันซึ่งไม่ได้ติดเชื้อโรคโควิด-19

 

สาระสำคัญที่พบคือ หลังจากที่หายป่วยจากการติดเชื้อไปแล้ว เมื่อประเมิน ณ 7 เดือนถัดมา พบว่ากลุ่มผู้ที่เคยติดเชื้อมาก่อนจะมีผลประเมินเรื่องสมรรถนะการใช้ชีวิตประจำวันลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยใช้แบบประเมิน Post-COVID-19 Functional Status (PCFS) และยังพบว่ากลุ่มคนที่เคยติดเชื้อมาก่อนจะมีผลคะแนนประเมินด้านคุณภาพชีวิต ต่ำกว่ากลุ่มที่ไม่ติดเชื้ออีกด้วย โดยใช้แบบประเมินของ European Quality of Life-5-Dimensions-5-Level (EQ-5D-5L) และ Short Form Health 36 (SF-36)

 

ผลการศึกษาข้างต้น ย้ำเตือนให้เราเห็นถึงความสำคัญในการป้องกันตนเองอย่างสม่ำเสมอ การป้องกันตนเองไม่ให้ติดเชื้อย่อมดีที่สุด "การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องมีความสำคัญมาก"

 

อ้างอิง
Haberland E et al. Seven Months after Mild COVID-19: A Single-Centre Controlled Follow-Up Study in the District of Constance (FSC19-KN). Int J Clin Pract. 12 August 2022.

โควิดวันนี้ WHO จับตา "โอมิครอน BA.2.75" ใกล้ชิด ล่าสุด"BA.5" ครองการระบาด 70%
 

logoline