svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เช็กคำตอบ ทำไมโควิด19 เป็นโรคประจำถิ่นไม่ได้ แต่จัดเป็นโรคติดต่ออันตราย

10 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เผยคำตอบ ทำไมโควิด-19 ยังเป็นโรคประจำถิ่นไม่ได้ แต่เป็นโรคติดต่ออันตราย เพราะอะไร เช็กคำตอบตรงนี้ หมอเฉลิมชัย ชี้ โควิดในอนาคต จะถือว่าเป็นโรคติดต่ออยู่ในกลุ่มใด ไม่ใช่เกิดจากการทำนายหรือการคาดการณ์

อีกหนึ่งความน่าสนใจ เกี่ยวกับ โควิดวันนี้ นำเอาบทความที่น่าอ่านจาก ทางด้าน น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" โดยมีข้อความระบุไว้ว่า

..

 

โควิด-19 ของไทย ยังไม่เป็นโรคประจำถิ่น ยังไม่เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง แต่ยังคงเป็นโรคติดต่ออันตราย

 

ตามที่สถานการณ์โควิดของประเทศไทย ได้เข้า สู่ระลอกที่ 4 ซึ่งเกิดจากไวรัสโอมิครอนตั้งแต่มกราคม 2565

 

เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสถานการณ์โควิดระลอกที่ 3 ซึ่งเกิดจาก ไวรัสเดลตา เมื่อช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564

 

จะพบชัดเจนว่า สถานการณ์ของโควิดในปัจจุบัน มีการติดเชื้อง่าย มีจำนวนผู้ติดเชื้อจากไวรัสโอมิครอนมากกว่าไวรัสเดลตาถึง 2 เท่าตัว คือติดเชื้อจากเดลตา 2 ล้านคนเศษ ส่วนติดเชื้อจากโอมิครอนมีมากกว่า 4 ล้านคนแล้ว

 

ส่วนในเรื่องความรุนแรง ไวรัสเดลตาทำให้เป็นโควิดเสียชีวิตมากกว่า 20,000 คน ในขณะที่ โอมิครอน เสียชีวิตประมาณ 10,000 คน

น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา

เช็กคำตอบ ทำไมโควิด19 เป็นโรคประจำถิ่นไม่ได้ แต่จัดเป็นโรคติดต่ออันตราย

เช็กคำตอบ ทำไมโควิด19 เป็นโรคประจำถิ่นไม่ได้ แต่จัดเป็นโรคติดต่ออันตราย

เช็กคำตอบ ทำไมโควิด19 เป็นโรคประจำถิ่นไม่ได้ แต่จัดเป็นโรคติดต่ออันตราย

 

จึงสามารถกล่าวได้ว่า ไวรัสโอมิครอนติดเชื้อง่าย แพร่ระบาดกว้างขวางมากกว่า แต่ก่อให้เกิดอาการรุนแรงน้อยกว่าไวรัสเดลตา

 

อย่างไรก็ตาม เราพบว่าจำนวนผู้ป่วยหนักที่มีปอดอักเสบ จำนวนผู้ป่วยหนักมากที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนผู้เสียชีวิตในช่วงสองสามเดือนหลังจากผ่านจุดสูงสุดมานั้น ไม่ได้ลดลงตามที่เราคาดหวังไว้ และกลับมีการขยับตัวเพิ่มขึ้นด้วย

 

เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลในสัปดาห์ที่ 10-16 กรกฎาคม 2565 เปรียบเทียบกับ 31 กรกฎาคมถึง 6 สิงหาคม 2565 พบว่า

 

ผู้ติดเชื้อรวมทั้ง PCR และ ATK เพิ่มขึ้น 58.8% จากติดเชื้อวันละ 22,542 ราย เป็น 35,800 

 

โดยแยกเป็นผู้ติดเชื้อจาก ATK เพิ่ม ขึ้น 63.9% จากวันละ 20,547 คน เป็น 33,679 คน

 

ส่วนผู้ติดเชื้อจาก PCR เพิ่มขึ้นเพียง 6.3% จาก 1995 ราย เป็น 2121 ราย

 

ผู้ป่วยหนักมีอาการปอดอักเสบเพิ่มขึ้น 16.4%

 

ผู้ป่วยหนักมาก ใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่ม 36.5%

 

ผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 20.8%

 

นอกจากนั้น ยังพบว่าการฉีดวัคซีนกระตุ้นเข็มที่ 3 ณ วันที่ 8 สิงหาคม 2565 เราฉีดไปได้เพียง 44.9% หรือ 31.2 ล้านโดส

 

ยังห่างจากเป้าหมายที่จะเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งต้องฉีดวัคซีนเข็มที่ 3 ให้ได้ 60% หรือ 42 ล้านโดส อยู่อีกราว 10 ล้านโดส

 

ซึ่งด้วยอัตราการฉีดวัคซีนในขณะนี้ จะต้องใช้เวลาอีกหลายเดือน จึงจะสามารถทำตามเป้าหมายได้

 

ทำให้หน่วยงานที่รับผิดชอบทางสาธารณสุข  ไม่สามารถประกาศการเป็นโรคประจำถิ่นของโควิด-19 ตามที่ได้เคยส่งสัญญาณสาธารณะไว้ว่าน่าจะเป็นได้ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2565

 

และในขณะนี้ก็เริ่มมีการส่งสัญญาณสาธารณะอีกครั้ง คาดว่า 1 ตุลาคม 2565 อาจจะปรับโควิดจากโรคติดต่ออันตรายไปเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง ซึ่งก็ยังเป็นเรื่องที่ไม่ได้เกิดขึ้นแต่อย่างใด

 

กล่าวโดยสรุป

 

โควิดของไทย ณ ปัจจุบัน (9 สิงหาคม 2565) ยังถือว่าเป็นโรคติดต่ออันตราย 

 

ยังไม่นับเป็นเป็นโรคประจำถิ่น

 

และยังไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง

 

ส่วนโควิดในอนาคต จะถือว่าเป็นโรคติดต่ออยู่ในกลุ่มใด ไม่ใช่เกิดจากการทำนายหรือการคาดการณ์ หากแต่เกิดจากข้อมูลข้อเท็จจริงหรือสถานการณ์จริง ซึ่งเมื่อเป็นอย่างไร ก็จะเป็นอย่างนั้น

เช็กคำตอบ ทำไมโควิด19 เป็นโรคประจำถิ่นไม่ได้ แต่จัดเป็นโรคติดต่ออันตราย

logoline