svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ผู้เลี้ยงสะเทือน! กรมประมง-ห้องเย็นยันนำเข้ากุ้งไม่กระทบเกษตรกร-ผู้ผลิต

09 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อธิบดีกรมประมงแจงยิบปมนำเข้ากุ้ง"เอกวาดอร์-อินเดีย"ชอบธรรม ขณะที่"นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย"ชี้ช่วยลดต้นทุนผลิตแปรรูป รวมถึงโรงงานสามารถซื้อกุ้งในไทยโดยเกษตรกรไม่ขาดทุน

9 สิงหาคม 2565 นายเฉลิมชัย สุวรรณรักษ์ อธิบดีกรมประมง จัดแถลงข่าวในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารจัดการห่วงโซ่การผลิตกุ้งทะเลและผลิตภัณฑ์ (Shrimp Board) เมื่อวันที่ 8 ส.ค. ที่ผ่านมา ว่า Shrimp Board อนุมัตินำเข้ากุ้งจากเอกวาดอร์และอินเดียจริง เพื่อรักษาตลาดและผู้ประกอบการส่งออก ให้สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้ จึงมีข้อตกลงร่วมกันในการนำเข้าวัตถุดิบกุ้งทะเลจากสองประเทศ เฉพาะช่วงเวลาและปริมาณผลผลิตภายในประเทศมีปริมาณน้อย

 

ผู้เลี้ยงสะเทือน! กรมประมง-ห้องเย็นยันนำเข้ากุ้งไม่กระทบเกษตรกร-ผู้ผลิต

 

ทั้งนี้ ภายใต้เงื่อนไขที่ห้องเย็นและโรงงานแปรรูปจะรับซื้อผลผลิตกุ้งทะเลจากเกษตรกรโดยประกันราคาซื้อ-ขายขั้นต่ำ โดยได้กำหนดแผนการนำเข้าในปี 2565 ปริมาณรวม 10,501 ตัน พร้อมให้ความสำคัญกับการควบคุมโรค และดำเนินการอย่างรัดกุม 

ด้าน นายผณิศวร ชำนาญเวช นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าวว่า สมาคมต้องนำเข้าสินค้ามาผลิตและแปรรูปส่งออก เพื่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมกุ้งของไทย เนื่องจากขณะนี้เอกวาดอร์ และอินเดีย เลี้ยงกุ้งได้โดยมีต้นทุนต่ำกว่าไทย การนำเข้ากุ้งจากประเทศเหล่านี้ จะช่วยลดต้นทุนการผลิตของโรงงานแปรรูป สามารถช่วยให้โรงงานมีงานทำต่อเนื่อง และจะทำให้โรงงานซื้อกุ้งในประเทศได้ในราคาที่เกษตรกรไม่ขาดทุน

 

ผู้เลี้ยงสะเทือน! กรมประมง-ห้องเย็นยันนำเข้ากุ้งไม่กระทบเกษตรกร-ผู้ผลิต

อนึ่ง ก่อนหน้านี้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเรียกร้องให้รัฐบาลรวมถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทบทวนนโยบายการนำเข้ากุ้งจากทั้งสองประเทศนี้อีกครั้ง โดยขอให้คำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศและอนาคตของเกษตรกรเลี้ยงกุ้งไทยในระยะยาว ไม่ใช่เอื้อประโยชน์ใครคนใดคนหนึ่ง

 

อย่างไรก็ตาม เพราะไม่เคยมีการนำเข้าสินค้าเกษตรชนิดใด ที่ไม่ส่งผลกระทบกับผลผลิตในประเทศ ทั้งในด้านเสถียรภาพราคา ความเสี่ยงเรื่องโรค รวมถึงคุณภาพความปลอดภัยของผลผลิตกุ้ง ตลอดจนทำลายภาพลักษณ์คุณภาพพรีเมี่ยมของกุ้งไทยที่ได้รับการยอมรับมาโดยตลอด ขณะที่แผนสนับสนุนการเพิ่มผลผลิตกุ้งให้ได้ 400,000 ตัน ในปี 2566 ที่กรมประมงประกาศเป้าหมายไว้ก็ยังคงไม่ชัดเจน

logoline