svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

กรมวิทย์ฯ จับตาโควิดโอมิครอน "BA.4.6" ใกล้ชิด ยืนยันยังไม่พบในไทย

09 สิงหาคม 2565

กรมวิทย์ฯ เผยไทยยังไม่พบ โอมิครอน สายพันธุ์ "BA.4.6" ขณะ "BA.2.75" พบแล้ว 5 ราย เฝ้าระวังสถานการณ์ใกล้ชิด ขณะที่ฝีดาษลิงพบผู้ป่วยยืนยัน 4 ราย เป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตกที่ไม่รุนแรง เผยเพาะเชื้อฝีดาษลิงได้มากพอแล้ว เดินหน้าทดสอบกับอาสาสมัครที่เคยฉีดวัคซีนฝีดาษ

9 สิงหาคม 2565 สถานการณ์โควิดวันนี้ โอมิครอน สายพันธุ์ย่อย "BA.4.6" ถูกจับตาในการเข้ามาแพร่ระบาดแทนสายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 ที่ครองการระบาดขณะนี้ ล่าสุด นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด19 ว่า เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม - 5 สิงหาคม 2565 การตรวจเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด จำนวน 382 ตัวอย่าง พบเป็นสายพันธุ์ต่างๆ ดังนี้

  • สายพันธุ์ BA.1 จำนวน 1 ราย คิดเป็น 0.26% 
  • สายพันธุ์ BA.2 จำนวน 58 ราย คิดเป็น 15.18% 
  • สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 จำนวน 322 ราย คิดเป็น 84.29% 
  • สายพันธุ์ BA.2.75 จำนวน 1 ราย คิดเป็น 0.26% 

กรมวิทย์ฯ จับตาโควิดโอมิครอน "BA.4.6" ใกล้ชิด  ยืนยันยังไม่พบในไทย

สำหรับ โอมิครอน สายพันธุ์ BA.4 และ BA.5 พบเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง พื้นที่กทม.พบ 91.5% ส่วนภูมิภาคพบเพิ่มขึ้นเป็น 80%

 

เมื่อถอดรหัสพันธุกรรมทั้งตัวพบเป็น BA.5 ต่อ BA.4 ในสัดส่วน 4:1 แสดงว่า BA.5 แพร่เร็วกว่า BA.4 สอดคล้องกับสถานการณ์ทั่วโลก ส่วนเรื่องความรุนแรงยังไม่สามารถสรุปได้ เนื่องจากผู้ติดเชื้อเกือบทั้งหมดเป็น BA.4 และ BA.5  จึงเปรียบเทียบความรุนแรงยาก แต่เบื้องต้นไม่น่าแตกต่างกันมาก

กรมวิทย์ฯ จับตาโควิดโอมิครอน "BA.4.6" ใกล้ชิด  ยืนยันยังไม่พบในไทย

นพ.ศุภกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับสายพันธุ์ BA.2.75 พบในประเทศไทย 5 ราย โดยตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมาสามารถตรวจ BA.2.75 ได้ในระดับพื้นที่ ทำให้ติดตามได้ว่าจะพบเพิ่มขึ้นหรือไม่

 

ส่วน โอมิครอน สายพันธุ์ BA.4.6 องค์การอนามัยโลก (WHO) ยังไม่ได้จัดลำดับชั้น และยังไม่พบในประเทศไทย จึงยังไม่มีข้อมูลเรื่องความรุนแรง ต้องติดตามข้อมูลต่อไป

 

“ทุกวันนี้โรคโควิด ยังอยู่ แต่เรามียาและวัคซีน ซึ่งมีคนฉีดวัคซีนจำนวนมากและคนส่วนใหญ่ยังสวมหน้ากากอนามัย ทำให้ปลอดภัยมากขึ้น แต่อยากย้ำให้คนที่ฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายนานกว่า 3-4 เดือน มาฉีดเข็มกระตุ้นเพื่อให้ภูมิคุ้มกันมากพอ ช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ เหมือนกรณีผู้ป่วยรายหนึ่งของสายพันธุ์ BA.2.75ที่อาการหนักต้องอยู่ในไอซียู เพราะไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย และอายุมาก ทำให้เสี่ยงเป็นอันตราย” นพ.ศุภกิจกล่าว

กรมวิทย์ฯ จับตาโควิดโอมิครอน "BA.4.6" ใกล้ชิด  ยืนยันยังไม่พบในไทย

พร้อมกันนี้ นพ.ศุภกิจ กล่าวถึงสถานการณ์ฝีดาษลิง ว่า สำหรับโรคฝีดาษลิงประเทศไทยพบผู้ป่วยยืนยัน 4 ราย เป็นสายพันธุ์ A.2 จำนวน 3 ราย และ B.1 จำนวน 1 ราย โดยทั้งหมดเป็นสายพันธุ์แอฟริกาตะวันตก ไม่ใช่สายพันธุ์แอฟริกากลาง ทำให้โรคมีความรุนแรงน้อย

 

ขณะนี้สามารถเพาะเชื้อฝีดาษลิงได้จำนวนมากพอที่จะนำมาทดสอบกับผู้ที่เคยปลูกฝีป้องกันฝีดาษในอดีต ซึ่งเลิกปลูกฝีไปแล้วกว่า 40 ปี โดยจะรับอาสาสมัครประมาณ 30-40 คน ในช่วงอายุ 40 ปี 50 ปี และ 60 ปี ประมาณช่วงอายุละ 10 คน เพื่อให้ได้ฐานข้อมูลสำหรับประเทศไทยว่า ผู้ที่ปลูกฝีในแต่ละช่วงอายุมีภูมิคุ้มกันต่อฝีดาษลิงอย่างไรเป็นไปตามข้อมูลว่าป้องกันได้ 85% จริงหรือไม่

 

กรมวิทย์ฯ จับตาโควิดโอมิครอน "BA.4.6" ใกล้ชิด  ยืนยันยังไม่พบในไทย กรมวิทย์ฯ จับตาโควิดโอมิครอน "BA.4.6" ใกล้ชิด  ยืนยันยังไม่พบในไทย