svasdssvasds
เนชั่นทีวี

พระราชสำนัก

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

08 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เนื่องในโอกาส วันแม่แห่งชาติ "12 สิงหาคม 2565" รำลึกถึงเรื่องราวสุดประทับใจพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ ย้อนความทรงจำชีวิตคู่และความรักของ "สมเด็จพระพันปีหลวง" ที่ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจไม่ห่างพระวรกาย

ที่สุดในใจพสกนิกรชาวไทยทั้งประเทศ

 

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

 

เรื่องราวของ “สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง” พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9) นอกจากพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจสำคัญในช่วงเป็นสมเด็จพระราชินี ยังมีเรื่องราวความรักของทั้งสองพระองค์ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีให้สังคมไทย

 

 

 

เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 90 พรรษา

 

“12 สิงหาคม 2565 หรือ “วันแม่แห่งชาติ” จึงมีเรื่องราวนำเสนอ...

 

 

 

“รักแรกเกลียด” ราชินีในรัชกาลที่ 9

 

 

 

“ตอนนั้น ข้าพเจ้าคิดถึงแต่เรื่องที่จะอยู่กับคนที่ข้าพเจ้ารักเท่านั้น ไม่ได้นึกไปไกลถึงหน้าที่ และภารกิจของพระราชินีเลย ฯลฯ”

 

 

 

ในปี 2521 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ได้พระราชทานสัมภาษณ์ ในภาพยนตร์สารคดี เรื่อง “ขวัญของชาติ” ออกเผยแพร่ ทางสถานีโทรทัศน์ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เรื่องรักแรกพบ มีความตอนหนึ่งว่า

 

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

 

“สำหรับข้าพเจ้าเป็นการเกลียดแรกพบมากกว่ารักแรกพบ เนื่องเพราะพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รับสั่งว่าจะเสด็จถึงเวลาบ่าย 4 โมง แต่จริงแล้ว เสด็จมาถึง 1 ทุ่ม ช้ากว่านัดหมายตั้ง 3 ชั่วโมง ทรงทำให้ข้าพเจ้าต้องซ้อมถอนสายบัว อยู่จนแล้วจนเล่า จึงเป็นการเกลียด เมื่อแรกพบมากกว่ารักเมื่อแรกพบ

 

 

 

ข้าพเจ้าไม่ทราบมาก่อนว่า พระองค์ท่านทรงรักข้าพเจ้า เพราะเวลานั้นอายุเพิ่งย่าง 15 ปี ตั้งใจไว้ว่าจะเป็นนักเปียโน เป็นนักเปียโนที่แสดงในงานคอนเสิร์ต ตอนพระองค์ท่านประทับที่โรงพยาบาล หลังประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ (4 ต.ค.2491 ) มีพระอาการหนักมาก ตำรวจเขาโทรศัพท์ ไปกราบบังคมทูลสมเด็จพระราชชนนี"

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

ในระหว่างที่ ในหลวงภูมิพล ท่านทรงพระประชวร ทางคณะผู้แทนรัฐบาลก็ได้ไปเข้าเฝ้าฯ เพื่อเยี่ยมพระอาการ เมื่อพระองค์ท่านทรงทราบว่าในคณะที่มา มีหม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ ท่านก็ได้มีกระแสรับสั่งให้หม่อมเจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ จักรพันธุ์ เข้าเฝ้าฯ เป็นการพิเศษ และโดยเฉพาะพระองค์ท่านรีบเสด็จไปทันที แต่แทนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะมีพระราชปฏิสันถารกับพระองค์

"ท่านกลับทรงหยิบรูปข้าพเจ้า ออกมาจากกระเป๋า โดยที่ข้าพเจ้าไม่เคยทราบมาก่อนเลยว่า พระองค์ทรงมีรูปของข้าพเจ้าอยู่แล้ว พระองค์ก็ตรัสให้นำตัวข้าพเจ้าเข้าเฝ้า พระองค์ก็ได้มีพระราชกระแสรับสั่งว่า “พระองค์ได้ทรงรักหม่อมราชวงศ์ สิริกิติ์ กิติยากร อย่างแน่นอน” 

เหตุผลเพราะว่า

“เมื่อทรงฟื้นคืนพระสติครั้งแรกนั้น ก็ทรงระลึกถึงบุคคลเพียงสองคนคือ สมเด็จพระราชชนนี และ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์” ซึ่งแสดงถึงความจริงที่สถิตอยู่ในพระราชหฤทัย”

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

พิธีราชาภิเษกสมรส

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2493 ในหลวง รัชกาลที่ เสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศไทย โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ระหว่างวันที่ 28-30 มีนาคม 2493

 

และต่อมาเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2493 ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรส กับ หม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร ที่วังสระปทุม โดยสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า พระราชทานหลั่งน้ำพระมหาสังข์ ทรงจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายเช่นเดียวกับประชาชน และได้ทรงสถาปนาหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ ขึ้นเป็น สมเด็จพระราชินีสิริกิติ์

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

เมื่อ พ.ศ. 2499 ในหลวง รัชกาลที่ 9 มีพระราชประสงค์จะทรงผนวชเป็นพระภิกษุระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม ถึง 5 พฤศจิกายน เป็นระยะเวลา 15 วัน จึงต้องมีการแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

ดังนั้น พระองค์ทรงพระราชดำริว่าสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้ทรงพระปรีชาสามารถในอันที่จะรับพระราชภารกิจในคราวนี้ได้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในระหว่างที่ทรงผนวช

และได้ปฏิบัติพระราชภารกิจแทนพระองค์ด้วยพระปรีชาสามารถ สนองพระราชประสงค์เป็นที่เรียบร้อย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระอภิไธยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีว่า "สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ"

นับว่า ทรงเป็นสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระองค์ที่ 2 ในประเทศไทย โดยพระองค์แรก คือสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ (ภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง)

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

ทรงเคียงข้างเยือนอเมริกา

ปี พ.ศ.2503 ช่วงที่ในหลวง รัชกาลที่ 9 ทรงเยือนอเมริกาและประเทศต่างๆ ในยุโรปอย่างเป็นทางการ เพื่อเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศ เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศไทย เพื่อยืนยันสถานะ ทำให้ชาวโลกรู้ว่า ประเทศไทยเดินตามแนวทางประชาธิปไตย มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของชาติ

การเสด็จพระราชดำเนินเยือนอเมริกาและยุโรปครั้งนั้น สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ตามเสด็จด้วย และมีพระราชประสงค์ทรงฉลองพระองค์แบบสากล  ตัดเย็บด้วยผ้าไหมไทย โดยให้นายปิแอร์ บัลแมง นักออกแบบชาวฝรั่งเศสที่มีประสบการณ์ในการออกแบบฉลองพระองค์ถวายให้กับพระราชวงศ์ยุโรป เป็นผู้ดูแลการตัดเย็บฉลองพระองค์ทั้งหมดถือเป็นพระราชกุศโลบายในการส่งเสริมผ้าไทยให้เป็นที่รู้จักทั่วโลก

ฉลองพระองค์ในครั้งนั้น ออกแบบโดยการผสมผสานความงามแบบตะวันออกกับแฟชั่นตะวันตก เคยเปิดให้ประชาชนชมในพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ หอรัษฎากรพิพัฒน์ ในพระบรมมหาราชวัง ถนนหน้าพระลาน นานกว่า 10 ปี

มีทั้งฉลองพระองค์ทรงงาน ฉลองพระองค์ชุดราตรีสั้น ฉลองพระองค์ชุดราตรียาว ตลอดจนพระมาลา ฉลองพระบาท และกระเป๋าเดินทางที่สั่งทำพิเศษ

พร้อมทั้ง ภาพร่างแบบฉลองพระองค์จากห้องเสื้อบัลแมง และผ้าตัวอย่างการปักประดับจากสถาบันปักเลอซาจ 

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9 90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

มีการบันทึกไว้ว่า ในหลวง รัชกาลที่ 9 โปรดเกล้าฯ ให้ใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการจัดเตรียมฉลองพระองค์ทั้งหมด และครั้งนั้นนายบัลแมง เลือกให้สถาบันปักเลอซาจรับผิดชอบด้านการปักฉลองพระองค์ และรับผิดชอบในการดูแลเครื่องแต่งพระองค์อื่นๆ ด้วย มีการสั่งทำกระเป๋าเดินทางจากหลุยส์ วิตตอง สำหรับเชิญฉลองพระองค์ รวมถึงเลือกให้เรอเน มันชินี ดูแลฉลองพระบาท ในการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศครั้งนั้น

90 พรรษา “สมเด็จพระพันปีหลวง” แบบอย่างชีวิตคู่ ทรงเคียงข้างในหลวง รัชกาลที่ 9

อ้างอิง : เว็บไซต์เครือข่ายกาญจนาภิเษก และพิพิธภัณฑ์ผ้าในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

ขอขอบคุณภาพส่วนหนึ่ง : จาก gettyimages.com

เครดิตบทความจาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 

logoline