svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

06 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง แบ่งตามกลุ่มได้อย่างไรบ้าง จริงๆแล้วฝีดาษลิงมีความน่ากลัวสักแค่ไหน อ่านเลยตรงนี้ มีคำตอบ ล่าสุดทางดร.อนันต์เผยข้อมูลล่าสุดจากผู้ป่วยฝีดาษลิงในยุโรปที่รายงานไปที่ ECDC-WHO Regional Office

อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง แบ่งตามกลุ่มได้อย่างไรบ้าง น่ากลัวแค่ไหน

เป็นอีกคำถามที่พบเจอบ่อยๆ และมักจะเป็นกระแสอยู่บ่อยๆ ล่าสุดทางด้าน ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์ และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรม และเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟสบุ๊กส่วนตัว (Anan Jongkaewwattana)โดยมีข้อความระบุว่า 

 

ข้อมูลล่าสุดจากผู้ป่วยฝีดาษลิงในยุโรปที่รายงานไปที่ ECDC-WHO Regional Office ระบุว่า

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

ในจำนวผู้ป่วยฝีดาษลิงทั้งสิ้น 9626 คน สามารถแบ่งตามกลุ่มอาการ แบบมีอาการนำ กับ อาการตุ่มบนผิวหนังได้ ดังนี้

  แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

110 คน หรือ 1.1%  เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการอะไรเลย ทั้งอาการนำ และ อาการทางผิวหนัง แต่สามารถตรวจพบไวรัสได้ในตัวอย่างที่เก็บจากผู้ป่วย เรียกว่า Asymptomatic case ซึ่งจะแตกต่างจากกลุ่มที่อยู่ในระยะฟักตัว ซึ่งไม่มีอาการและยังตรวจไวรัสไม่พบ ซึ่งถ้าระยะฟักตัวเกิน 21 วัน ไม่แสดงอาการใดๆ แต่ตรวจผลออกมาเป็นบวก กลุ่มนี้ถึงจะจัดเป็น asymptomatic 

 

390 คน หรือ 4.1% เป็นกลุ่มที่มีอาการนำ เช่น ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อย อ่อนเพลีย หนาวสั่น แต่ไม่มีอาการตุ่มขึ้นตามผิวหนัง หรือ ขึ้นน้อยมาก  กลุ่มนี้จะสามารถแพร่เชื้อได้ผ่านช่องทางละอองฝอย หรือ น้ำลายได้มากกว่าการสัมผัส ยังไม่แน่ชัดว่า กลุ่มนี้จะมีไวรัสในร่างกายนานเท่าไหร่ จะหายไปพร้อมกับอาการหรือไม่

 

3216 คน หรือ 33.4% เป็นกลุ่มที่มีผื่นและตุ่มหนองขึ้นแบบที่ไม่มีอาการนำที่ชัดเจน ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวมาก่อนว่าตัวเองเป็นฝีดาษลิงแล้วจนกว่าตุ่มหนองจะปรากฏชัด และ เนื่องจากอาการนำมีน้อย โอกาสที่กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะมีกิจกรรมต่างๆที่เสี่ยงต่อการสัมผัสตุ่มแผล หรือ การแพร่กระจายจะมีสูง 

 

6910 คน หรือ 61.4% เป็นผู้ป่วยที่มีอาการตามตำรา คือ มีอาการนำมาก่อน และ ตามด้วยอาการทางผิวหนัง ซึ่งถึงแม้ว่าจะเป็นผู้ป่วยส่วนใหญ่ แต่ก็ถือว่าค่อนข้างน้อย เมื่อมองว่าเกือบ 40% เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการตามที่เคยทราบกันมา

 

ข้อมูลนี้ทำให้พอเห็นภาพว่า

ผู้ติดเชื้อฝีดาษลิงหลายคนอาจจะไม่รู้ความเสี่ยงของตัวเองที่จะแพร่เชื้อให้คนรอบข้างได้ เนื่องจากร่างกายไม่ได้เตือนอะไรให้ทราบล่วงหน้าก่อน

 

การเข้าใจกลไกการเกิดโรคในบริบทปัจจุบันจะสำคัญมาก เพราะถ้าอิงตามตำราที่ไม่ update เราอาจตามการเปลี่ยนแปลงของโรคนี้ไม่ทัน

 

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

ล่าสุด ดร.อนันต์ โพสต์อีกครั้ง เกี่ยวกับ ประเด็นที่น่าสนใจ ใจความระบุว่า ..

 

ข้อมูลไวรัสที่กลับขึ้นมาเป็นบวกอีกครั้ง (Rebound) ในผู้ป่วยที่ใช้ยาต้านไวรัส (NMV-r = Paxlovid) เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับยาต้าน โดยผู้ป่วยทุกคนได้รับวัคซีน mRNA และ ไปติดไวรัสตระกูล BA.2 จะเห็นภาพค่อนข้างชัดว่า กลุ่มที่ไม่ได้ใช้ยาต้านไวรัสจะขึ้นจุดสูงสุด (Ct ต่ำสุด) ช่วง 5 วันแรกและจะค่อยๆลดระดับลงมา ที่ 10 วัน ส่วนใหญ่จะมี Ct ต่ำกว่า 30 กันหมด ซึ่งทำให้การตรวจด้วย ATK ส่วนใหญ่จะเป็นลบ แต่ถ้า RT-PCR จะยังให้ผลบวกอยู่ ในบรรดา 25 ตัวอย่างที่ทำการศึกษา พบว่า มี 1 เคสที่พบการ rebound วันที่ 13 หลังไวรัสให้ผลลบไปแล้วประมาณ 4 วัน แต่ระดับของไวรัสที่ดีดตัวขึ้นมาของเคสนี้อยู่ในระดับที่ไม่มาก (Ct ประมาณ 30 หรือมากกว่า) ซึ่งการตรวจด้วย ATK ปกติอาจจะไม่พบ และ ระดับที่ rebound ขึ้นมาจะเป็นระยะเวลาสั้นๆ และ กลับมาอยู่ในระดับที่ตรวจไม่พบในที่สุด

 

ในกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้ยา 11 คน มี 8 คน ที่ไม่พบการ rebound และระดับไวรัสตกลงไวมากกว่ากลุ่มที่ไม่ใช้ยาอย่างเห็นได้ชัด ภายใน 5 วัน ทั้ง 8 คนให้ค่า Ct ต่ำกว่า 30 กันหมด และ ตกไปที่ระดับที่ RT-PCR ตรวจไม่พบอย่างรวดเร็ว ในกลุ่มนี้มี 3 คน ที่พบการ rebound ประมาณ 3-5 วัน หลังจากที่ RT-PCR ให้ผลลบ ที่น่าสนใจคือ ระดับ Ct หลัง rebound พุ่งสูงขึ้นไวมากและสูงกว่าระดับไวรัสของการติดในช่วงแรก มี 2 รายที่ Ct หลัง rebound พุ่งไปสูงถึง Ct ต่ำกว่า 20 คร่าวๆคือ ปริมาณไวรัสจะมากกว่าจุดสูงสุดหลังติดเชื้อประมาณ 10 เท่า และ การตกลงของระดับของไวรัสที่ rebound ขึ้นมาจะเป็นไปในลักษณะใกล้เคียงกับสภาวะที่ไม่ได้ใช้ยา คือ ไม่ได้ไว้เหมือนตอนที่ร่างกายมียาอยู่เหมือนตอนช่วงแรก (การกดไวรัสช่วงแรกเกิดขึ้นจากกลไกของยาต้าน แต่ช่วงกลังเกิดจากภูมิคุ้มกันที่ร่างกายกระตุ้น)

 

ไวรัสที่ rebound ขึ้นมามีปริมาณมากและเพียงพอที่จะสามารถแพร่เชื้อต่อได้ สาเหตุว่าทำไมบางคนที่ใช้ยาหายได้ไวไม่ rebound แต่บางคนกลับพบปรากฏการณ์ดังกล่าวยังไม่ชัดเจนครับ อาจจะเป็นคุณสมบัติของโฮสต์แต่ละคนที่ตอบสนองต่อยา และ การติดเชื้อที่ต่างกัน หรือ อาจจะเป็นไวรัสที่เปลี่ยนไปก็ได้ เพราะ ทีมวิจัยระบุว่า ไวรัสที่พบในกลุ่ม rebound มีการเปลี่ยนแปลงเหมือนกันที่ยีน ORF3a แต่ก็ยังหาจุดเชื่อมโยงยังไม่ชัดครับ

 

ข้อมูลอีกชุดหนึ่งระบุว่า

การ rebound ไม่ได้จำเพาะต่อ Paxlovid ตัวเลขที่ไปสำรวจมาพบว่า ยาต้านตัวอื่น เช่น Monulpiravir มีโอกาสเกิด rebound ได้สูงกว่าครับ

 

***คหสต นะครับ ไวรัสตกไปไวเกินไป โปรตีนของไวรัสยังแสดงออกไม่มากพอ ภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยบางคนยังถูกกระตุ้นไม่เต็มที่ ภูมิอาจจะขึ้นได้ช้าและน้อยกว่า ทำให้งานช่วงหลังไปได้ช้าและไม่มีประสิทธิภาพเท่าแบบที่ไม่ใช้ยา ซึ่งร่างกายเจอเชื้อนานกว่า

https://www.medrxiv.org/con.../10.1101/2022.08.04.22278378v1

 

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

แพทย์เผยข้อมูล อาการฝีดาษลิงเป็นยังไง น่ากลัวแค่ไหน

 

logoline