svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

"ธนาธร" ค้าน "ควบทรูดีแทค” จี้ นายกฯ ต้องลงมากำกับ!! หวั่นสะเทือนศก.ดิจิทัล

05 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

"ธนาธร" เดินสายโชว์จุดยืนค้านควบรวมทรู ดีแทค ชี้เป็นเรื่องใหญ่ต้นเหตุการผูกขาด กระทบผู้บริโภคค่าบริการพุ่ง กสทช.ต้องยุติการควบรวม จี้ "นายกรัฐมนตรี" ต้องออกแอคชั่นลงมากำกับดูแล หวั่นลามสู่เศรษฐกิจดิจิทัล ชี้ไม่มีที่ไหนปล่อยให้ควบจาก 3 เหลือ 2 ราย ส่อผูกขาดชัดเจน

 

ความพยายามของค่ายสื่อสารเทคโนโลยีชั้นนำ ที่กำลังสร้างปรากฎการณ์ควบรวม ระหว่าง "ทรู -ดีแทค" ตกเป็นที่จับตามองอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการรอพิจารณาไฟเขียวจากกสทช. ท่ามกลางคำถามการ"ควบรวมทรู -ดีแทค" จะทำให้ประชาชนได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์อย่างไรหรือไม่  

 

ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวในส่วนของภาคการเมือง โดยเมื่อวันที่ 5 ส.ค. 65  "นายธนาธร  จึงรุ่งเรืองกิจ" ประธานคณะก้าวหน้า "น.ส.พรรณิการ์  วานิช"  กรรมการบริหารคณะก้าวหน้า พร้อมด้วย "นายชัยธวัช ตุลาธน" เลขาธิการพรรคก้าวไกล  "นางสาวศิริกัญญา  ตันสกุล" ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล  ได้เดินทางมาร่วมแลกเปลี่ยนให้ความเห็นผ่านสื่อเครือเนชั่นต่อประเด็น "การควบรวม ทรู-ดีแทค"  โดยแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยต่อความพยายามให้มีการควบรวม ครั้งนี้ 

 

"ธนาธร" ค้าน "ควบทรูดีแทค” จี้ นายกฯ ต้องลงมากำกับ!! หวั่นสะเทือนศก.ดิจิทัล

 

"ธนาธร"  เริ่มต้นว่า จุดยืนของคณะก้าวไกลเรื่องดีลการควบรวมทรู ดีแทค คือ การให้กสทช. ซึ่งเป็นผู้กำกับดูแล “ยุติ” การควบรวมนี้ เพราะจะส่งผลกระทบต่อประชาชน ผู้บริโภค ค่าบริการที่จะแพงขึ้นอีก ไม่มีประเทศไหน ที่ให้มีการลดผู้ให้บริการลง จาก 3 รายเหลือ 2 ราย ซึ่งจะกระทบต่อการเดินหน้าไปสู่ เศรษฐกิจดิจิทัล

 

ทั้งนี้ ดีลการควบรวมนี้ จะอยู่บนข้อสรุป 4 ข้อ คือ

 

1.อนุญาตให้ควบรวมไม่มีเงื่อนไข

2.อนุญาตให้ควบรวมโดยมีการกำหนดมาตรการเฉพาะเชิงพฤติกรรม เช่น คุมราคา อัตราค่าบริการ

3.อนุญาตให้ควบรวมโดยมีกำหนดมาตรการเฉพาะเชิงโครงสร้าง เช่น การขายสินทรัพย์ออกมา เสา สถานีฐาน คลื่นความถี่ 

4.ไม่อนุญาตให้เกิดการควบรวม

 

 

 

 

"ในส่วนของการควบรวมแบบมีเงื่อนไข เชิงพฤติกรรม หรือเงื่อนไขในเรื่องของค่าบริการ ไม่เคยมีอยู่จริง และเชื่อว่าทำไม่ได้ ดังนั้น คณะก้าวไกลจึงมองว่า ไม่ควรให้ดีลนี้เกิดขึ้น  เพราะเมื่อควบรวมไปแล้วจาก 3 ราย เหลือ 2 ราย หากจะกลับไปเป็น 3 อีก มันยากมาก ซึ่งส่วนใหญ่ทุกประเทศก็จะมีผู้ให้บริการอย่างน้อย 3 รายขึ่้นไปทั้งนั้น ไม่มีใครให้ควบ 3 แล้ว เหลือ 2 เหมือนประเทศไทย เรามองเรื่องการปกป้องผู้บริโภคสำคัญ เราต่อต้านกลุ่มทุนผูกขาด เรายึดผลประโยชน์ประชาชนเป็นหลัก"

 

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ  หัวหน้าคณะก้าวหน้า

 

ทั้งนี้ "นายธนาธร" ขยายความว่า การทำหน้าที่ของกสทช.หากเรามองที่จุดการของคุ้มครองผู้บริโภคเพื่อผลประโยชน์ของประชาชน กสทช.ต้องเลือกข้อ 4 คือ ไม่อนุญาตให้ควบรวม ซึ่งที่ตนบอกอย่างนี้ก็เพราะกสทช.ไม่มีทางรู้เท่าทันเล่เหลี่ยมของเอกชนหากกสทช.อนุญาตให้ควบรวมและกำหนดมาตรการเฉพาะเป็นสิ่งที่กสทช.จะต้องทำหน้าที่ยากมากเพราะกสทช.ไม่รู้เท่าทันของเอกชนอย่างแน่นอน และที่ผ่านกสทช.ไม่เคยใช้ยาแรงใดใดกำกับเอกชน

 

ดังนั้น กสทช.ควรจะยืนหยัดเคียงข้างประชาชน ภาพของประเทศไทยในอนาคตเราอยากเห็นอะไร อยากเห็นทุนนิยมที่ร่ำรวยจากการผูกขาดธุรกิจ หรืออยากเห็นประเทศไทยที่มีการออกดอกออกผลจากภาคธุรกิจที่ส่งผลถึงทุกคนในประเทศให้เกิดความเท่าเทียมกัน

 

 

น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล กมธ.พิจารณาผลกระทบควบรวม "ทรู-ดีแทค"

 

"จุดยืนของผมคือไม่เห็นด้วยกับการควบรวมครั้งนี้ ต้องยุติ หากเป็นในต่างประเทศกรณีใหญ่แบบนี้ เรกูเลเตอร์ เขาจะเข้มแข็งมาก และพร้อมที่จะเข้ามาพิจารณาทันที ขณะที่ ประเด็นนี้ เรื่องใหญ่ รัฐบาลต้องลงมากำกับดูแล หรือนายกฯ ต้องเข้ามาดู เพราะมันเกี่ยวพันกับการเรื่องเศรษฐกิจดิจิทัล คือ มันไม่มีแหล่งอ้างอิงว่ามีการควบผู้ให้บริการจาก 3 ราย เหลือ 2 มันมีแต่ 4 เหลือ 3 หรือ 5 เหลือ 4 ขณะที่ การควบรวมกันยังทำให้มาร์เก็ตแชร์ทั้ง 2 รายใกล้เคียงกัน ที่สำคัญมันทำให้รายเล็กเกิดไม่ได้ และจะเกิดการฮั้วกันในที่สุด"

"ธนาธร" ค้าน "ควบทรูดีแทค” จี้ นายกฯ ต้องลงมากำกับ!! หวั่นสะเทือนศก.ดิจิทัล

 

 

"ไม่ว่าในอนาคตเราจะชอบหรือไม่ชอบเศรษฐกิจดิจิทัล แต่สิ่งเหล่านี้จะถาโถมเข้ามาหาพี่น้องคนไทยทุกคนอย่างแน่นอน และเข้ามาในทุกอุตสาหกรรมทั้ง ภาคการเกษตร อุตสาหกรรมโรงงาน การแพทย์สาธารณสุข ดังนั้น การควบรวมธุรกิจจะเป็นจุดที่สร้างความได้เปรียบของกลุ่มทุนใหญ่ในประเทศ ซึ่งจะทำให้อนาคตของผู้บริโภคจะอยู่ในกำมือของเอกชนกลุ่มทุนเพียงไม่กี่ราย ซึ่งสิ่งเหล่านี้หาก กสทช.อนุญาตให้เกิดการควบรวม คนที่จะได้รับผลกระทบไม่เฉพาะแต่ประชาชนแต่ยังส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจองประเทศไทยด้วย" นายธนาธร กล่าว

logoline