svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

สปสช. ไขข้อสงสัย หากติด"ฝีดาษลิง" ใช้สิทธิรักษาได้แค่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร

04 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไขข้อสงสัยการรักษา "ฝีดาษลิง" ล่าสุด สปสช. แจงรายละเอียดสิทธิบัตรทองในการรักษา "ฝีดาษลิง" ใช้สิทธิได้มากแค่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร

4 สิงหาคม 2565 สถานการณ์โรคฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร ในประเทศไทย เมื่อวันที่ 3 ส.ค. 65 กรมควบคุมโรครายงานพบผู้ป่วยยืนยันโรคฝีดาษลิงรายที่ 3 เป็นชายชาวเยอรมัน อายุ 25 ปี เดินทางเข้าประเทศไทยเมื่อวันที่ 18 ก.ค.  65 เข้ามายังจังหวัดภูเก็ต เพื่อท่องเที่ยว

 

ล่าสุด สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือ สปสช. แจ้งขั้นตอนการรักษา “ฝีดาษลิง” ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” โพสต์เผยแพร่ข้อมูลแบบถามตอบ มีรายละเอียดดังนี้

 

Q&A คลายข้อสงสัยไปกับ สปสช. 

Q : เราติดเชื้อฝีดาษลิงได้อย่างไรบ้าง?
A : ฝีดาษลิงไม่ได้แพร่จากคนหนึ่งไปอีกคนหนึ่งง่ายเท่าไหร่เพราะคนที่รับเชื้อโรคจะต้องสัมผัสกับคนที่ติดเชื้อโดยตรง โดยเฉพาะการสัมผัสกับ:

  • แผล แผลตกสะเก็ดและของเหลวจากร่างกาย
  • น้ำลาย ละอองทางเดินหายใจที่ได้รับจากการอยู่ใกล้ชิดกันเป็นเวลานาน
  • สิ่งของ เช่น ผ้าเช็ดตัวและเครื่องนอนที่ยังไม่ได้ซักทำความสะอาด
  • การสัมผัสกัน ระหว่างมีเพศสัมพันธ์

 

สปสช. ไขข้อสงสัย หากติด"ฝีดาษลิง" ใช้สิทธิรักษาได้แค่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร

สำหรับ ผู้มีสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือ สิทธิหลักประกันสุขภาพ สามารถเข้ารับบริการที่หน่วยบริการหรือสถานพยาบาลประจำตามสิทธิ หรือกรณีมีความจำเป็นสามารถเข้ารับบริการที่สถานพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ทุกแห่ง เช่น โรงพยาบาลรัฐ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) ศูนย์บริการสาธารณสุขในพื้นที่ กทม. และคลินิกเอกชนที่เข้าร่วมโครงการ หรือสถานพยาบาลตามสิทธิที่ท่านไปรักษาเป็นประจำ

 

สปสช. ไขข้อสงสัย หากติด"ฝีดาษลิง" ใช้สิทธิรักษาได้แค่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร
 

สำหรับ ฝีดาษลิง หรือ ฝีดาษวานร คือ โรคสัตว์สู่คนที่เกิดจากเชื้อไวรัส กลุ่ม Orthopoxvirus เป็นตระกูลเดียวกับเชื้อไวรัสโรคฝีดาษ

 

รูปแบบการติดต่อ 

  • จากสัตว์สู่คน โดยสัมผัสสารคัดหลั่งและแผลของสัตว์ป่วย หรือกินสัตว์ที่ปรุงไม่สุก 
  • จากคนสู่คน โดยสัมผัสกับแผลและสารคัดหลั่งทางเดินหายใจผู้ป่วย สัมผัสสิ่งของปนเปื้อนสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น เสื้อผ้า เป็นต้น

 

ฝีดาษลิง ไม่ได้ติดต่อง่ายเหมือนโรคโควิด-19 ผู้ป่วยส่วนใหญ่เกิดในกลุ่มชายที่มีเพศสัมพันธ์กับชาย โดยเฉพาะผู้ที่เปลี่ยนคู่นอนหลายคน ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ

 

มาตรการป้องกันโรคโควิด 19 ยังสามารถใช้ได้กับโรคฝีดาษลิง ดังนี้

  • 1. ล้างมือบ่อยๆ
  • 2. เว้นระยะห่าง
  • 3. เลี่ยงมีเพศสมัพันธ์กับคนที่ไม่รู้จัก
  • 4. ไม่ใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
  • 5. เลี่ยงใกล้ชิดกับผู้ป่วยที่มีตุ่มหนอง
  • 6. กินอาหารปรุงสุก
  • 7. สงสัยว่ามีอาการป่วยเป็นโรคฝีดาษวานร ควรีบพบแพทย์ทันที

 

สปสช. ไขข้อสงสัย หากติด"ฝีดาษลิง" ใช้สิทธิรักษาได้แค่ไหน มีขั้นตอนอย่างไร

logoline