svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“การเยือนไต้หวัน”อุบายสหรัฐ ซ้อนแผนสกัดจีนขึ้นแท่น "ชาติมหาอำนาจ"

03 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ภาระกิจของ “เพโลซี" ท่ามกลางปมขัดแย้ง ไต้หวัน - จีน กับการเรียกร้องเอกราช ที่อาจกลายเป็นเรื่องบานปลาย นักรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ชี้ การเยือนไต้หวันของสหรัฐครั้งนี้ ถือเป็นการยั่วยุ ที่มีเป้าหมายสำคัญซ่อนอยู่ นั่นคือ การรักษาความเป็นชาติมหาอำนาจ??

ศ.ดร.สุรชัย ศิริไกร อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศระดับสูงและเหตุการณ์ปัจจุบัน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ชี้ การแข่งขันทางเศรษฐกิจที่มีความดุเดือด คือ ปัญหาใหญ่ที่สุด ที่จีนมีต่อสหรัฐ

 

นักเศรษฐศาสตร์ทั่วโลก มองเห็นตั้งแต่ปี 1977 - 2020 กับความสำเร็จตลอด 40 ปีที่ผ่านมาของการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน จากตัวเลขGDPจีนที่เคยพุ่งทยานเกิน 10% จนลดทอนให้เหลือ 5 - 6% ขณะที่ตัวเลขGDPสหรัฐ มีเพียง 1 - 2% 

 

ต่อมา 3 ปีที่แล้ว ผู้นำสูงสุดของจีน “สี จิ้นผิง” ประกาศนโยบายมุ่งมั่นจะเป็นประเทศมหาอำนาจ ภายในปี ค.ศ.2350 ด้วยอำนาจทางเศรษฐกิจที่ใหญ่กว่า สหรัฐ ทั้ง GDP และ กองทัพ

 

ถ้าจีนแซงหน้าสหรัฐได้ จะเกิดอะไรขึ้น? 

จากวิธีการที่จีนต่อการปฏิรูปเศรษฐกิจ คือ การขยายความสัมพันธ์ การค้าไปทั่วโลก จนทำให้ดุลการค้าของจีนได้เปรียบสหรัฐ มูลค่าแสนล้านเหรียญ  นั่นจะทำให้สหรัฐ หมดสภาพความเป็นชาติมหาอำนาจ กลายเป็นความหวาดกลัวต่อการเติบโตเศรษฐกิจของจีน เช่นเดียวกัน ในทางทหาร การพัฒนากองทัพ เทคโนโลยี ที่มีจนถึงปัจจุบน ทำให้กองทัพจีนก้าวเป็นอันดับ 3 ในทางทหาร

ทั้งนี้ ในนโยบายของ สี จิ้นผิง ยังมีข้อเสนอสำคัญเรื่อง ระบบการเมือง แบบหลายขั้วอำนาจ ทดแทนขั้วอำนาจเดียวแบบสหรัฐ ที่ใช้ความเป็นชาติมหาอำนาจ ชี้นำระบบการเมืองแบบที่สหรัฐต้องการ แต่เมื่อความเป็นชาติมหาอำนาจของสหรัฐหมดไป ทุกอย่างอาจเปลี่ยนไป รวมถึง การปฏิรูปองค์การสหประชาชาติ ที่มาจาก 5 ชาติมหาอำนาจ ที่ปัจจุบันไม่ค่อยบทบาท 

 

สรุป การเติบโตของจีน จะทำให้สหรัฐสูญเสียความเป็นผู้นำโลก

ที่นี้ หันกลับไปที่ ความต้องการเป็นเอกราชของไต้หวัน มีข้อเท็จจริงว่า อดีต รัฐบาลสหรัฐ ตั้งแต่สมัย ริชาร์ด นิกสัน - บิล คลินตัน มีการทำข้อตกลงกับรัฐบาลจีน อย่างน้อย 3 ฉบับ ในการยอมรับ “ไต้หวัน” เป็นของจีน ด้วยวิธีการเจรจาเป็นสำคัญ โดยจะไม่ใช้กำลัง

การเยือนไต้หวันของ "แนนซี เพโลซี" มีเป้าหมายอะไรกันแน่ ?

ฉะนั้น การเยือนไต้หวันของ "แนนซี เพโลซี ประธานสภาฯ สหรัฐ บุคคลระดับผู้นำทางการเมือง ถือเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม มองได้ว่าเป็นความพยายามยั่วยุอย่างมีเป้าหมายสำคัญ แต่เพราะอะไร จริงหรือที่การเยือนไต้หวันของนางแนนซี เพโลซี หรือคนในรัฐบาลสหรัฐ ไม่ทราบมาก่อนถึงข้อตกลงที่ตัวเองมีกับจีนในอดีต แล้วคำถามที่ตามมา แล้วสหรัฐจะยั่วยุจีนไปเพื่ออะไร 

 

คำตอบ คือ เป็นความจงใจของสหรัฐ ที่จะยั่วยุจีนตัดสินใจใช้กำลัง ให้จีนตกเป็นฝ่ายละเมิดข้อตกลงเสียเอง เพื่อให้รัฐบาลสหรัฐใช้เป็นข้ออ้างแบบเนียนๆ ในการตัดความสัมพันธ์การค้า หยุดความเสียเปรียบดุลการค้าที่มีอยู่กว่าแสนล้านเหรียญ สกัดการเติบโตเศรษฐกิจเพื่อไปสู่เป้าหมายใหญ่ที่สุด “สหรัฐยังเป็นชาติมหาอำนาจ” ต่อไป 

อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญยิ่งกว่า กลับกลายเป็นว่า ประเทศจีนมีจุดอ่อน ที่ยังต้องการพึ่งพาการค้ากับสหรัฐ ซึ่งจะเห็นได้ว่า การปฏิรูปเศรษฐกิจที่ความสำเร็จ 40 ปีที่ผ่านมา บนสายสัมพันธ์การค้ากับสหรัฐ มันทำให้รัฐบาลจีนสามารถส่งนักเรียนไปศึกษาในสหรัฐ ได้รับการถ่ายทอดความรู้มากมายกลับไปพัฒนาประเทศ ด้วยความใหญ่โตของเศรษฐกิจสหรัฐ ที่จีนตักตวงได้มหาศาล 

logoline