svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

“ซิโนแวค ไบโอเทค” เผยผลวิจัย “วัคซีนเชื้อตาย” ความปลอดภัยสำหรับเยาวชน

02 สิงหาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

“ซิโนแวค ไบโอเทค” เผยผลวิจัยความปลอดภัยของ “วัคซีนเชื้อตาย” สำหรับเด็กและเยาวชน พบอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์เพียง 10 ต่อ 100,000 คน สร้างภูมิคุ้มกันได้ถึงร้อยละ 90 มี 14 ประเทศทั่วโลก อนุมัติให้ใช้กรณีฉุกเฉินในเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปแล้ว ขยายผลวิจัยในเด็กเล็กเพิ่ม

2 สิงหาคม 2565 บริษัท ซิโนแวค ไบโอเทค (ซิโนแวค) บริษัทชีวเภสัชผู้พัฒนา วิจัย และผลิตวัคซีนป้องกันโควิด-19 ซิโนแวค หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัคซีนโคโรนาแวค (CoronaVac)” ได้เผยผลการวิจัยล่าสุดในต่างประเทศเกี่ยวกับความปลอดภัยและประสิทธิภาพของวัคซีนเชื้อตาย ในการป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 จากการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างเด็กและเยาวชนผู้รับวัคซีน พบว่า 

 

วัคซีนเชื้อตาย มีอัตราการเกิดอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ต่อร่างกายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งยังสามารถเพิ่มระดับแอนติบอดี ในการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันเชื้อไวรัสโควิด-19 ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิมและสายพันธุ์โอมิครอนได้ เมื่อได้รับวัคซีนครบสามเข็ม

 

“ซิโนแวค ไบโอเทค” เผยผลวิจัย “วัคซีนเชื้อตาย” ความปลอดภัยสำหรับเยาวชน

 

ทั้งนี้ “ซิโนแวค” เตรียมเดินหน้าศึกษาวิจัยวัคซีนในเด็กเพิ่มเติม หลังได้รับการรับรองด้านประสิทธิภาพ ของวัคซีนเชื้อตายที่มีการอนุมัติให้ใช้ในเด็กที่มีอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไป ใน 14 ประเทศทั่วโลก 

 

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนที่มีการกลายพันธุ์เป็น BA.4 – BA.5 ได้เพิ่มจำนวนยอดผู้ติดเชื้อสูงขึ้นอย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงกลางเดือนมิถุนายนเป็นต้นมา โดยองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า เชื้อไวรัสสายพันธุ์ดังกล่าวเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้จำนวนผู้ป่วยเพิ่มขึ้นในพื้นที่ทวีปยุโรปและสหรัฐ 

 

ขณะที่มีการพบไวรัสสายพันธุ์ที่แตกต่างออกไปในพื้นที่ประเทศอื่น ๆ เช่น อินเดีย รวมถึงในประเทศไทย โดยการแพร่ระบาดในระลอกนี้มีกลุ่มเสี่ยงสำคัญคือกลุ่มเด็กนักเรียน เนื่องจากโรงเรียนทั่วประเทศได้กลับมาเปิดเทอมพร้อมเรียนออนไซต์อีกครั้งในช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา

“ซิโนแวค ไบโอเทค” เผยผลวิจัย “วัคซีนเชื้อตาย” ความปลอดภัยสำหรับเยาวชน

 

ขณะที่ข้อมูลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ในไทยได้ออกมาให้ข้อมูลว่า การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในรอบนี้ กลุ่มนักเรียนจะเป็นผู้ขยายและกระจายโรค เช่นเดียวกันกับโรคทางเดินหายใจอื่น เช่น ไข้หวัดใหญ่ ที่มักพบการระบาดสูงมากในช่วงเปิดเทอมหรือฤดูฝนโดยเด็กนักเรียนจะรับเชื้อและติดต่อกันง่ายขึ้นเมื่อมีการเปิดเทอม 

 

นอกจากนี้ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญยังมีคำแนะนำถึงการฉีดวัคซีนว่า การติดเชื้อโควิด-19 สามารถติดซ้ำได้ และถึงจะฉีดวัคซีนแล้วก็ยังสามารถติดได้ ซึ่งการฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันความรุนแรงของโรคหลังจากติดเชื้อ แต่ที่น่าเป็นห่วงคือกลุ่มเด็กและเยาวชน  เพราะเด็กส่วนใหญ่เพิ่งได้รับวัคซีนเป็นเข็มแรก และยังไม่ได้รับเข็มกระตุ้น รวมถึงยังมีเด็กบางกลุ่มที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 แต่อย่างใด 

 

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันประเทศไทยวัคซีนสำหรับเด็กที่ได้รับการรองรับโดย อย.ให้ฉีดในเด็ก ได้แก่ วัคซีนชนิดเชื้อตาย สำหรับเด็กตั้งแต่ อายุ 6 ปีขึ้นไป และวัคซีน mRNA สำหรับเด็กอายุ 5 ปีขึ้นไป โดยสำหรับวัคซีนชนิดเชื้อตาย เป็นเทคโนโลยีวัคซีนที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ป้องกันโรคต่างๆ ในเด็กมาอย่างยาวนาน อาทิ วัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ และวัคซีนไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
 

“ซิโนแวค ไบโอเทค” เผยผลวิจัย “วัคซีนเชื้อตาย” ความปลอดภัยสำหรับเยาวชน

ด้าน นาย หลิว เพ่ยเฉิง ผู้อำนวยการอาวุโส ซิโนแวค กล่าวว่า ที่ผ่านมา ซิโนแวค ไบโอเทค ได้ทำการศึกษาวิจัยวัคซีนเชื้อตายอย่างต่อเนื่อง ในด้านของความปลอดภัยและประสิทธิภาพในการสร้างภูมิคุ้มกันป้องกันโควิด-19 ในกลุ่มเด็ก ทั้งในฮ่องกงและต่างประเทศ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้ปกครอง 

 

“ ล่าสุดนอกจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดเชื้อตาย จะได้รับการรับรองให้สามารถฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มผู้ใหญ่ใน 60 ประเทศทั่วโลกแล้วยังได้รับรองให้นำมาใช้กับกลุ่มเด็กอายุตั้งแต่ 3 ปี ขึ้นไปใน 14 ประเทศ อีกด้วย โดยในปัจจุบัน วัคซีนเชื้อตายของซิโนแวคได้ถูกแจกจ่ายไปยังกลุ่มเด็กทั่วโลกไปแล้วมากกว่า 260 ล้านโดส ”

 

“ซิโนแวค ไบโอเทค” เผยผลวิจัย “วัคซีนเชื้อตาย” ความปลอดภัยสำหรับเยาวชน

 

นอกจากนี้ ซิโนแวค ยังได้เผยข้อมูลงานวิจัยเกี่ยวกับอัตราการเกิดผลข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนในเด็กที่น่าสนใจจากประเทศชิลี โดยอ้างอิงข้อมูลของสถาบันสาธารณสุขชิลี (ISP) จากรายงานประเมินผลการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ในเด็กและเยาวชนอายุตั้งแต่ 3 ปีขึ้นไปเป็นจำนวนกว่า 6.9 ล้านเข็มทั่วประเทศ 

 

ในช่วงระยะเวลาของการสำรวจ พบว่า มีการรายงานอาการข้างเคียงหลังฉีดวัคซีนในเด็กทุกประเภท คิดเป็น 0.01% หรือจำนวน 868 ครั้งของการฉีดวัคซีนในเด็กทั้งหมด ซึ่งรายละเอียดของผลการรายงานสำหรับอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์ ยังพบว่าวัคซีนเชื้อตายมีอัตรารายงานผลต่ำที่สุดอยู่ที่ 10.67 ต่อ 100,000 โดส ตามมาด้วยวัคซีน mRNA 15.35 ต่อ 100,000 โดส  

 

นอกจากเรื่องของความปลอดภัยของวัคซีน ก่อนหน้านี้ประเทศชิลีก็ได้มีการศึกษาประสิทธิภาพของวัคซีนเชื้อตายในเด็ก โดยเก็บข้อมูลจากการใช้งานจริง พบว่าวัคซีนเชื้อตายมีประสิทธิภาพป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 ในเด็กได้ 74.5% พร้อมลดอัตราการเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ 91% และลดอัตราการแอดมิทห้องฉุกเฉินได้ 93.8% 

 

ในส่วนของเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน พบว่า วัคซีนเชื้อตายสามารถลดอัตราเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ 64.6% และลดอัตราการแอดมิทห้องฉุกเฉิน ในกลุ่มเด็กอายุ 3-5 ปี ได้ 69% ซึ่ง ซิโนแวค ไบโอเทค เองได้ทำการวิจัยที่ให้ผลสอดคล้องกัน โดยพบว่าระดับภูมิคุ้มกันในกลุ่มตัวอย่างเด็กเพิ่มขึ้นเมื่อได้รับวัคซีนเชื้อตายครบ 2 เข็ม และเพิ่มขึ้นกว่า 30 เท่าในเข็มที่ 3 โดยอัตราการเพิ่มขึ้นของแอนติบอดีป้องกันเชื้อไวรัสโควิด อยู่ที่กว่า 90% 

 

“ซิโนแวค ไบโอเทค” เผยผลวิจัย “วัคซีนเชื้อตาย” ความปลอดภัยสำหรับเยาวชน

ขอบคุณข้อมูล : เจาะลึกระบบสุขภาพ

 

logoline