30 กรกฎาคม 2565 โควิดวันนี้ การแพร่ระบาดของ “โอมิครอน BA.5” พบผู้เสียชีวิตมากขึ้น ล่าสุด “หมอธีระ” รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” คาดการณ์ตัวเลขการติดเชื้อจริงวันนี้ 6.5 หมื่นราย ขณะผู้เสียชีวิตเป็นอันดับ 4 ของเอเชีย
โควิดวันนี้ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันเสาร์ที่ 30 กรกฎาคม 2565 มีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่มรวมทั้งสิ้นจำนวน จำนวน 1,962 ราย จำแนกเป็น
ขณะที่ รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ประเมินสถานการณ์ โควิดวันนี้ ระบุว่า
1,962 --> คาดประมาณ 65,400
พร้อมกันนี้ “หมอธีระ” โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ถึง สถานการณ์โควิดวันนี้ ระบุว่า..
30 กรกฎาคม 2565 เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่ม 769,597 คน ตายเพิ่ม 1,698 คน รวมแล้วติดไป 580,219,611 คน เสียชีวิตรวม 6,416,552 คน
5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อิตาลี ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย
เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปและเอเชียครอง 6 ใน 10 อันดับแรก และ 13 ใน 20 อันดับแรกของโลก
จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชียและยุโรป รวมกันคิดเป็นร้อยละ 76.03 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 57.24
...สถานการณ์ระบาดของไทย
จากข้อมูล Worldometer เช้านี้พบว่า จำนวนเสียชีวิตเมื่อวาน สูงเป็นอันดับ 14 ของโลก และอันดับ 4 ของเอเชีย แม้สธ.ไทยจะปรับระบบรายงานตั้งแต่ 1 พ.ค.จนทำให้จำนวนที่รายงานนั้นลดลงไปมากก็ตาม
...อัพเดต Long COVID ในเด็ก
ทีมจากมหาวิทยาลัย Johns Hopkins ประเทศสหรัฐอเมริกา รายงานผลการวิจัยเกี่ยวกับผลกระทบด้านระบบประสาทและจิตเวชในกลุ่มผู้ป่วยเด็ก ที่ติดโควิด-19 แล้วประสบปัญหา Long COVID จำนวน 18 คน ที่ได้รับการส่งต่อมารับการดูแลรักษาต่อ
จากการประเมินพบว่า ส่วนใหญ่มีอาการด้านสมาธิ (83%), อ่อนเพลียและเหนื่อยล้า และนอนไม่หลับ (77.7%) รวมถึงอาการอื่นเช่น ปวดหัว วิงเวียนศีรษะ
อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ป่วยเด็กเหล่านี้ มีประวัติอดีตคือ 50% มีปัญหาด้านสมาธิ และ 72% มีปัญหาด้านอารมณ์เช่น ซึมเศร้า หรือวิตกกังวลมาก่อนที่จะติดโรคโควิด-19
ผลการศึกษานี้ ชี้ให้เห็นว่า เด็กๆ ที่มีปัญหาด้านสมาธิและอารมณ์มาก่อนนั้นอาจมีแนวโน้มที่จะประสบปัญหา Long COVID ได้มากกว่าปกติ อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์ในกลุ่มประชากรมากขึ้น และหาความสัมพันธ์ของปัจจัยอื่นๆ ที่อาจส่งผลต่อการเกิด Long COVID ด้วย
...การระบาดของไทย ยังเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
การใส่หน้ากากอย่างถูกต้องสม่ำเสมอเป็นหัวใจสำคัญ ที่จะป้องกันการติดเชื้อแพร่เชื้อ นอกจากนี้การพกสเปรย์แอลกอฮอล์ เพื่อล้างมือ และพ่นฆ่าเชื้อบริเวณที่จะจับต้องหรือใช้งานในที่สาธารณะ (เช่น สุขา) ก็จะเป็นประโยชน์ ทั้งป้องกันโควิด-19 และ ฝีดาษลิง
อ้างอิง : Rowena Ng et al. Neurocognitive and Psychosocial Characteristics of Pediatric Patients With Post-Acute/Long-COVID: A Retrospective Clinical Case Series. Archives of Clinical Neuropsychology. 29 July 2022.