svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

ผลักดันพัฒนาอาเซียนด้วยนวัตกรรมในโอกาสครบ 25 ปี ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม

"จุรินทร์" รองนายกฯและรมว.พาณิชย์ โชว์วิชั่น พัฒนาอาเซียนด้วยนวัตกรรม 4 ด้าน พร้อมหนุนเร่งใช้ประโยชน์ RCEP บนเวทีความร่วมมืออาเซียน+3 

 

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 65 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้รับเชิญจากรัฐบาลจีนให้เป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมกล่าวถ้อยแถลงในเวทีระดับผู้นำของการประชุมอาเซียนบวกสาม (จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้) ว่าด้วยความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทาน โดยมีผู้แทนระดับผู้นำของภูมิภาคอาเซียนบวกสาม ได้แก่ รองนายกรัฐมนตรีของจีน รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของกัมพูชา และรัฐมนตรีกระทรวงกิจการทางทะเลและการลงทุนของอินโดนีเซีย เข้าร่วมด้วย

 

ผลักดันพัฒนาอาเซียนด้วยนวัตกรรมในโอกาสครบ 25 ปี ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม

 

"นายจุรินทร์" กล่าวว่า การประชุมอาเซียนบวกสามว่าด้วยความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานเป็นหัวข้อที่สอดรับกับสถานการณ์ปัจจุบันที่ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหาการหยุดชะงักจากความไม่แน่นอนของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 และสถานการณ์การเมืองระหว่างประเทศ ทำให้อาเซียนบวกสามต้องหันมาร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานการผลิตมากยิ่งขึ้น

 

จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ได้รับเชิญจากรัฐบาลจีนเป็นตัวแทนประเทศไทยร่วมกล่าวถ้อยแถลงในเวทีระดับผู้นำของการประชุมอาเซียนบวกสาม

 

โดยลดการพึ่งพาแหล่งการผลิตเดียว และลดขั้นตอนของห่วงโซ่การผลิตให้สั้น  และซับซ้อนน้อยลง ซึ่งได้เสนอให้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อสร้างความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานระหว่างอาเซียนกับประเทศบวกสามอย่างเป็นรูปธรรม 4 ด้าน คือ

 

(1) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อนำไปสู่ระบบการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานระหว่างกันอย่างไร้รอยต่อ โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ

 

(2) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ให้มีความสามารถพร้อมรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมขั้นสูงและสร้างทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับแรงงาน

 

(3) การส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น การนำระบบอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในกระบวนการทางศุลกากร เพื่อช่วยลดขั้นตอนให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น

 

และ (4) การเสริมสร้างความร่วมมือระดับภูมิภาคให้แข็งแกร่ง เพื่อสร้างความเชื่อมโยงของห่วงโซ่อุปทานให้แน่นแฟ้นและส่งเสริมการค้าภายในภูมิภาค โดยการจัดทำความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ซึ่งความตกลง RCEP ถือเป็นความสำเร็จหนึ่งที่เป็นรูปธรรม ช่วยให้เกิดความเชื่อมโยงและขยายห่วงโซ่อุปทานจากการสะสมถิ่นกำเนิดในภูมิภาคได้มากยิ่งขึ้น


 
ผลักดันพัฒนาอาเซียนด้วยนวัตกรรมในโอกาสครบ 25 ปี ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม
 

การประชุมอาเซียนบวกสามว่าด้วยความร่วมมือด้านห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่อุปทานเป็นการประชุมเฉพาะกิจที่รัฐบาลจีนจัดขึ้นภายใต้งานผู้ประกอบการเอเชียตะวันออกไท่หู ครั้งที่ 2 ณ เมืองซูโจว มณฑลเจียงซู สาธารณรัฐประชาชนจีน

 

โดยแบ่งการประชุมออกเป็น 3 ช่วง คือ การประชุมระดับผู้นำ การประชุมระดับรัฐมนตรีเศรษฐกิจ และการเสวนาในหัวข้อย่อยต่าง ๆ อาทิ เขตการสาธิตร่วมเพื่อการพัฒนาการค้าและเศรษฐกิจเชิงนวัตกรรม การใช้ประโยชน์จากความตกลง RCEP และเศรษฐกิจดิจิทัลและการพัฒนาเศรษฐกิจสีเขียวซึ่งมีผู้บริหารระดับสูงภาคเอกชนและนักวิชาการที่มีชื่อเสียงของไทยเข้าร่วมการเสวนา ได้แก่ นายวิกรม กรมดิษฐ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทอมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด นายณรงค์ศักดิ์ พุทธพรมงคล ประธานกรรมการหอการค้าไทย – จีน และ รศ.ดร. ชโยดม สรรพศรี ประธานหลักสูตรเศรษฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

ผลักดันพัฒนาอาเซียนด้วยนวัตกรรมในโอกาสครบ 25 ปี ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม

 

โดยการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมจริงจากหน่วยงานภาครัฐ สมาคมการค้า สถาบันทางการเงิน และผู้ประกอบการของจีน กว่า 500 ราย และในรูปแบบออนไลน์กว่า 1.3 ล้านราย จากประเทศอาเซียนและประเทศบวกสาม ซึ่งถือเป็นกิจกรรมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 25 ปี ของกรอบความร่วมมืออาเซียนบวกสามใน 2565 นี้ด้วย
 

ผลักดันพัฒนาอาเซียนด้วยนวัตกรรมในโอกาสครบ 25 ปี ความร่วมมืออาเซียนบวกสาม

ทั้งนี้ ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2565 การค้าระหว่างอาเซียนกับประเทศบวกสาม มีมูลค่าถึง 563,530 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นถึง 14% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน ในขณะเดียวกัน ในปี 2564 การลงทุนโดยตรงของประเทศบวกสามในอาเซียน มีมูลค่าถึง 32,650 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ คิดเป็น 1 ใน 4 ของการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศทั้งหมดในอาเซียน