svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หมอธีระ เผยคนกลุ่มใดบ้างเสี่ยง "ฝีดาษลิง" หลังพบผู้ป่วยรายแรกในไทย

22 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

หมอธีระ อัปเดตสถานการณ์ผู้ป่วยฝีดาษลิงทั่วโลก พร้อมเปิดถึงกลุ่มเสี่ยงและสถานที่เสี่ยงกับโรคฝีดาษลิง ขณะกรมควบคุมโรค เร่งประเมินความเสี่ยงผู้ใกล้ชิดกับผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทย

22 กรกฎาคม 2565 สถานการณ์ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง พบผู้ป่วยรายแรกในประเทศไทยแล้ว ล่าสุด “หมอธีระ” รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ผ่านเพจเฟซบุ๊ก “Thira Woratanarat” ระบุถึงสถานการณ์ผู้ป่วยฝีดาษลิง และกลุ่มบุคคลใดบ้างที่เสี่ยงต่อโรค มีรายละเอียดดังนี้..

 

หมอธีระ เผยคนกลุ่มใดบ้างเสี่ยง "ฝีดาษลิง" หลังพบผู้ป่วยรายแรกในไทย

 

Update Monkeypox... จำนวนผู้ป่วยฝีดาษลิง สะสมทั่วโลก 15,165 ราย ณ 20 กรกฎาคม 2565 
ดูจำนวนการติดเชื้อใหม่ในแต่ละวัน ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

 

ไทยเราเพิ่งมีรายงานเคสแรกเมื่อวานนี้ แต่ไม่ควรประมาท เพราะอาจมีติดเชื้อแฝงอยู่ในชุมชนได้ เนื่องจากมีการเดินทางระหว่างประเทศจำนวนมาก

 

“ ผู้ที่ทำงานบริการ ต้องคลุกคลีใกล้ชิดผู้อื่น มีการสัมผัสทางกาย จำเป็นต้องระมัดระวัง และหมั่นสังเกตความผิดปกติของคนที่ไปใกล้ชิด  ”

 

นอกจากนี้ กลุ่มชายรักชายจำเป็นต้องระมัดระวังเช่นกัน เพราะต่างประเทศมีการระบาดมาก

 

หมอธีระ เผยคนกลุ่มใดบ้างเสี่ยง "ฝีดาษลิง" หลังพบผู้ป่วยรายแรกในไทย

 

เมื่อวันที่ 21 ก.ค.ที่ผ่านมา นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค ออกมาแถลงว่า ได้รับแจ้งจากโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดภูเก็ต พบผู้ป่วยสงสัยโรคฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง จึงส่งทีมปฏิบัติการสอบสวนควบคุมโรค (JIT) กองระบาดวิทยาและสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 11 นครศรีธรรมราช ลงพื้นที่สอบสวนโรคร่วมกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคม 2565

 

ผู้ป่วยรายดังกล่าว เป็นเพศชาย สัญชาติไนจีเรีย อายุ 27 ปี มีประวัติเดินทางมาจากประเทศไนจีเรีย ให้ข้อมูลการป่วยว่าเมื่อ 1 สัปดาห์ก่อนมีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูก มีผื่นแดง ตุ่มนูนแดง ตุ่มหนอง เริ่มจากอวัยวะเพศลามไปใบหน้า ลำตัว แขน เก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรค

 

หมอธีระ เผยคนกลุ่มใดบ้างเสี่ยง "ฝีดาษลิง" หลังพบผู้ป่วยรายแรกในไทย

 

เบื้องต้นผลการตรวจ PCR พบเชื้อ Monkeypox virus ที่ก่อให้เกิด ฝีดาษลิง โดยห้องปฏิบัติการที่คณะแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (TRC-EIDCC) และต่อมายืนยันโดยห้องปฏิบัติการกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ช่วงบ่ายวันที่ 19 กรกฎาคม 2565

 

ทีมสอบสวนควบคุมโรครวบรวมข้อมูลการสอบสวนทั้งข้อมูลอาการทางคลินิก ข้อมูลระบาดวิทยา และข้อมูลห้องปฏิบัติการเข้าพิจารณาในคณะกรรมการวิชาการ ภายใต้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติในบ่ายวันที่ 21 กรกฎาคม 2565

 

ผลสรุปว่า เป็นผู้ป่วยยืนยันฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง พบในประเทศไทยเป็นครั้งแรก โดยได้ประสานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดภูเก็ตเพื่อมอบหมายเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อดำเนินการติดตามและค้นหาผู้ป่วยเพิ่มเติมพร้อมประเมินความเสี่ยงของการแพร่เชื้อในพื้นที่รับผิดชอบอย่างเข้มข้น

 

หมอธีระ เผยคนกลุ่มใดบ้างเสี่ยง "ฝีดาษลิง" หลังพบผู้ป่วยรายแรกในไทย

logoline