svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

เปิดคำพิพากศาลฎีกา“คนต่างด้าว” ถือครองที่ดินประเทศไทยได้

15 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

เผยทุกรายละเอียด กับประเด็นร้อน “คนต่างด้าว” ถือครองที่ดินประเทศไทย พบคำพิพากษาศาลฎีกา ที่2744/2562 เปิดทางถือครองที่ดินในประเทศไทยได้โดยพฤตินัย เพียงแต่ถ้ามีกรณีพิพาทเกิดขึ้น ก็ให้ต่างด้าวขายที่ดินที่ตนถือครองแล้วเอาเงินกลับประเทศไป

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีมีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่อง “คนต่างด้าว” ถือครองที่ดินในประเทศอยู่เป็นระยะ ๆ นั้น จากการตรวจสอบอ้างอิงจาก คำพิพากษาศาลฏีกา พบว่า คนต่างด้าวสามารถถือครองที่ดินในประเทศไทยได้  เพียงแต่ถ้ามีกรณีพิพาทเกิดขึ้นก็ให้คนต่างด้าวขายที่ดินที่ตนถือครองแล้วนำเงินกลับประเทศไป


โดย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2562 ระบุสาระไว้ว่า 


 1. ตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 86 บัญญัติว่า "คนต่างด้าวจะได้มาซึ่งที่ดินก็โดยอาศัยบทสนธิสัญญาซึ่งบัญญัติให้มีกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ได้ และอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ด้วย 

2. ภายใต้บังคับมาตรา 84 คนต่างด้าวดังกล่าวจะได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัย... ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวง และต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี" 

เปิดคำพิพากศาลฎีกา“คนต่างด้าว” ถือครองที่ดินประเทศไทยได้


 

เปิดคำพิพากศาลฎีกา“คนต่างด้าว” ถือครองที่ดินประเทศไทยได้ 3. และมาตรา 94 บัญญัติว่า "บรรดาที่ดินที่คนต่างด้าวได้มาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย หรือไม่ได้รับอนุญาต ให้คนต่างด้าวนั้นจัดจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ซึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งร้อยแปดสิบวัน แต่ไม่เกินหนึ่งปี ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้น และให้นำบทบัญญัติเรื่องการบังคับจำหน่ายที่ดินตามความในหมวด 3 มาใช้บังคับโดยอนุโลม" 

4. แม้โจทก์ร่วมเป็นคนต่างด้าว แต่บทบัญญัติมาตรา 86 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินมิได้ห้ามเด็ดขาดกรณีคนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยคนต่างด้าวอาจขออนุญาตต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินได้ และแม้จะไม่ได้รับอนุญาตให้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน คนต่างด้าวก็ยังมีสิทธิที่จะจำหน่ายที่ดินต่อไปภายในระยะเวลาที่อธิบดีกรมที่ดินกำหนดตามมาตรา 94 

5.คนต่างด้าวจึงมีความสามารถในการทำสัญญาเพื่อซื้อที่ดินได้ ดังนี้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่โจทก์ร่วมซึ่งเป็นคนต่างด้าวทำกับ ก. เพื่อซื้อที่ดินจึงไม่ใช่นิติกรรมที่มีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย

เปิดคำพิพากศาลฎีกา“คนต่างด้าว” ถือครองที่ดินประเทศไทยได้ จับกระแสร้อนๆ ก่อนหน้านี้

รัฐบาล ชี้แจงต่างชาติถือครองที่ดินมีเงื่อนไข ตามมาตรการดึงดูดชาวต่างชาติ ไม่ใช่ขายที่ดิน เชื่อช่วยบู๊สอัพเศรษฐกิจไทย ช่วยเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย 1 ล้านคน เพิ่มการใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านบาท สอดคล้องนโยบายนายกฯ

 

โฆษกประจำสำนักนายรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการอนุญาตให้คนต่างด้าวบางจําพวกเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นกรณีพิเศษตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงสูงประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 จะมีผลบังคับใช้ในเดือนกันยายน 2565 นี้ 

 

ล่าสุด กรมที่ดิน อยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการได้มาซึ่งที่ดินเพื่อใช้เป็นที่อยู่อาศัยของคนต่างด้าวตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน โดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงประเทศไทย พ.ศ. .... ตามมาตรา 96 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน 

มีหลักเกณฑ์สำคัญ คือ ต้องเป็นคนต่างด้าวตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดคนต่างด้าวที่มีศักยภาพสูงสุดประเทศไทย นำเงินมาลงทุนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านบาท และต้องลงทุนไม่น้อยกว่า 3 ปี ในธุรกิจหรือกิจการประเภทที่กำหนด เช่น การลงทุนในกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ 

รวมถึง การลงทุนในกองทรัสต์เพื่อการลงทุนใน อสังหาริมทรัพย์ ที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ทรัสต์เพื่อธุรกรรม ในตลาดทุน พ.ศ. 2550 และหากคนต่างด้าวที่ประสงค์จะได้มาซึ่งที่ดิน อยู่ 2 เงื่อนไขสำคัญ คือ รวมไม่เกิน 1 ไร่ และใช้เป็นที่อยู่อาศัย เท่านั้น โดยสอดคล้องกับพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นกฎหมายในปัจจุบัน 

ทั้งนี้ ในการดำเนินมาตรการนี้ มีเป้าหมายเพื่อดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง 4 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มประชากรผู้มีความมั่งคั่งสูง
  • กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ
  • กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย
  • กลุ่มผู้เชี่ยวชาญพิเศษ

เพื่อให้สามารถพำนักและทำงานในประเทศไทยได้ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ทำให้ไทยมีคนที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอให้กับภาคธุรกิจอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคตที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริม 

นายธนกร กล่าวว่า มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุนโดยการดึงดูดชาวต่างชาติผู้มีความมั่งคั่งสูง ผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ ผู้ที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย และผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ตั้งเป้าหมาย ภายใน 5 ปีงบประมาณ 2565 - 2569 จะช่วยเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่พักอาศัยในประเทศไทย 1 ล้านคน

รวมถึงเพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านบาท เพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท และสร้างรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท 

ทั้งนี้ ถือเป็นหนึ่งในมาตรการสำคัญ บู๊สอัพเศรษฐกิจไทยกระตุ้นเศรษฐกิจและการลงทุน ด้วยการดึงดูดชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูงทั่วโลก เดินหน้าตามกลยุทธ์ "3แกน สร้างอนาคต” ของนายกรัฐมนตรีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา สร้างโอกาส เชื่อมไทย ช่วยผู้ประกอบการ ประชาชนและแรงงานในประเทศให้มีรายได้ต่อเนื่อง

ส่วนมาตรการลดค่าธรรมเนียมการซื้อขายบ้านพร้อมที่ดินหรืออาคารชุดที่มีมูลค่าไม่เกิน 3 ล้านบาท จะได้สิทธิลดหย่อนค่าธรรมเนียมจาก 2% เป็น 0.01% ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่ 18 มกราคม นั้น โฆษกรัฐบาล ยืนยันว่า จะใช้เฉพาะผู้มีสัญชาติไทยเท่านั้น และรัฐบาลไม่เคยมีแนวคิดจะให้คนต่างชาติใช้สิทธิในเรื่องนี้ 

เปิดคำพิพากศาลฎีกา“คนต่างด้าว” ถือครองที่ดินประเทศไทยได้

 

logoline