svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

นักวิชาการชี้ควบ 'ทรู-ดีแทค' ไม่หนุนการแข่งขัน

14 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สุดท้ายเมื่อกระบวนการควบรวมจบลง จะส่งผลให้มาร์เก็ตแชร์ด้านจำนวนผู้ใช้บริการ ของเอไอเอสจะขึ้นไปอยู่ที่ 47% พอควบรวมกันเสร็จแล้วและมีการแข่งขันกันไปสักพัก ผู้เล่นในตลาดพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ ก็จะไม่เหลือการแข่งขันอีกต่อไป

นักวิชาการอิสระ ฉัตรชัย ตวงบริพันธุ์ ระบุ ที่ผ่านมาไทยมีการควบรวมธุรกิจในอุตสาหกรรมค้าปลีกระหว่างบริษัท ซี.พี.รีเทล ดีเวลลอปเม้น จำกัดและบริษัท เทสโก้ สโตร์ส (ประเทศไทย) แม้ว่าจะมีการอนุญาตให้สามารถควบรวมได้และได้กำหนดเงื่อนไขในการควบรวมไว้ 7 ข้อ แต่ในบริบทของอุตสาหกรรมโทรคมนาคมกลับต่างกัน เพราะในธุรกิจค้าปลีกได้นิยามคำว่าตลาดต่างกัน เพราะหมายถึง 2 ตลาดคือ Modern Trade กับ Traditional Trade

ซึ่งในกรณีนี้จะแตกต่างกับตลาดโทรคมนาคมอย่างมาก เพราะนิยามคำว่าตลาดในที่นี้ก็คือตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่เพียงอย่างเดียวไม่มีตลาดอื่น ผู้เล่นในตลาดนี้ก็มีเพียง 3 รายใหญ่ที่มีผลต่ออุตสาหกรรม คือ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส หรือ เอไอเอส บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และบมจ. โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือดีแทค

นักวิชาการชี้ควบ 'ทรู-ดีแทค' ไม่หนุนการแข่งขัน

โดยแรกเริ่ม เอไอเอสมีส่วนแบ่งการตลาดราว 40% ต่อมาดีแทคเข้ามาทำตลาดก็มีส่วนแบ่งทางการตลาดเพิ่มขึ้นมาได้มากที่สุดถึง 40% ส่วนทรูเข้าตลาดรายสุดท้ายโดยมีแชร์ราว 20%

นักวิชาการชี้ควบ 'ทรู-ดีแทค' ไม่หนุนการแข่งขัน

ซึ่งในตอนนั้น เริ่มมีการแข่งขันกันอย่างมาก เกิดการทำตลาดแข่งขันโปรโมชั่น ลดราคาค่าโทรศัพท์ มีการคิดแพ็กเกจทั้งแบบจ่ายรายเดือนและเติมเงิน เรียกได้ว่าตลาดคึกคักเกิดบริการใหม่ๆตามมาอย่างมากดังนั้น การควบรวมที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่สามารถพูดได้ว่าจะยิ่งเพิ่มการแข่งขัน เพราะการควบรวมที่เกิดกับตลาดที่มีอยู่เพียงตลาดเดียวไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันไม่ว่าจะมองมุมใด

นักวิชาการชี้ควบ 'ทรู-ดีแทค' ไม่หนุนการแข่งขัน

ซึ่งเมื่อมีการแข่งขันแย่งลูกค้ากัน มันจะเกิดแรงจูงใจให้เกิดการแข่งขันอย่างมาก ตลาดแบบนี้ส่งผลบวกอย่างมาก

หลังจากที่อุตสาหกรรมโทรคมนาคมไทยเริ่มขึ้นเมื่อกว่า 20 ปีก่อน พอกาลเวลาผ่านไปจากดีแทคที่เคยเป็นเบอร์สองในตลาดขณะนั้น กลับกลายมาอยู่เบอร์ 3 จากลูกค้าที่หายออกจากไปโครงข่ายจำนวนมาก ตรงนี้เป็นเหมือนสัญญาณแจ้งเตือนล่วงหน้าจากดีแทคแล้วว่า ไม่ต้องการทำตลาดไทย  ซึ่งเชื่อว่า ขณะนั้น คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานกำกับดูแลต้องรู้สัญญาณดังกล่าวแล้ว เริ่มตั้งแต่ไม่เข้าประมูลโครงข่าย 5จี หรือเข้าร่วมประมูลแต่ก็ไม่มีการเคาะราคาใดๆ จึงมาถึงจุดที่ทรูและดีแทคประกาศควบรวมกิจการกัน

นักวิชาการชี้ควบ 'ทรู-ดีแทค' ไม่หนุนการแข่งขัน

หากสุดท้ายแล้วกระบวนการควบรวมระหว่างทั้งสองบริษัทจบลง จะส่งผลให้มาร์เก็ตแชร์ด้านจำนวนผู้ใช้บริการ ของเอไอเอสจะขึ้นไปอยู่ที่ 47% ขณะที่ บริษัทเกิดใหม่หลังจากควบรวม หรือทรู จะมีแชร์อยู่ที่ 52% แต่หากพอควบรวมกันเสร็จแล้วและมีการแข่งขันกันไปสักพัก ผู้เล่นในตลาดพอใจกับสภาพที่เป็นอยู่ ก็จะไม่เหลือการแข่งขันอีกต่อไป เพราะส่วนแบ่งทางการตลาดต่างกัน 5-7% เท่านั้น และผู้บริโภคเองก็อาจจะไม่ได้รับบริการใหม่ หรืออัตราค่าบริการที่มีความหลากหลายให้เลือกอีกเหมือนในอดีต

 

ล่าสุด สำนักงาน กสทช. ได้ขอขยายระยะเวลาสรุปผลการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติม หลังจากที่ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นสาธารณะในวงจำกัด หรือโฟกัส กรุ๊ปถึงผลกระทบจากการรวมธุรกิจระหว่างทรูและดีแทค ออกไปอีก 30 วัน คือ 11 สิงหาคม 2565 จากเดิม 60 วัน ซึ่งครบกำหนดไปเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา

 

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการ กสทช. จะตั้งคณะอนุกรรมการด้านการแข่งขันทางการค้าเพิ่มขึ้นมาอีก 1 ชุด เพิ่มเติมจากเดิมที่มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ การควบรวมกิจการดังกล่าวจำนวน 4 คณะ ได้แก่ 1. คณะอนุกรรมการฯ ด้านกฎหมาย 2.คณะอนุกรรมการฯ ด้านคุ้มครองผู้บริโภคและสิทธิพลเมือง 3.คณะอนุกรรมการฯ ด้านเทคโนโลยี 4. คณะอนุกรรมการฯ ด้านเศรษฐศาสตร์ เนื่องจากมติเห็นชอบ และไม่เห็น มีจำนวนเสียงเท่ากัน ดังนั้น กสทช. จึงต้องการข้อสรุปที่ชัดเจน เพื่อป้องกันผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

logoline