svasdssvasds
เนชั่นทีวี

ต่างประเทศ

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

10 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ย้อนทำความรู้จัก "สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา" ก่อนเกิดวิกฤตจากประเทศมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลายในที่สุด

จากกรณีวิกฤตการประท้วงที่ “ศรีลังกา” ประชาชนหลายแสนคนบุกไปยังทำเนียบรัฐบาลและบางส่วนบุกเผาบ้านพักนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเดือดร้อนเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุดในรอบ 70 ปี อัตราเงินเฟ้อพุ่งสูง และไม่มีทุนสำรองระหว่างประเทศเพียงพอนำเข้าอาหาร ยา และเชื้อเพลิง จนในที่สุด “ประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา” ได้ประกาศลาออก รวมถึงนายกรัฐมนตรีวิกรมสิงเหจะลาออกด้วยเช่นกัน

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” หรือชื่อทางการว่า "สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาธิปไตยศรีลังกา" เคยตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษและมีชื่อเดิมว่า "ซีลอน" (Ceylon) และอังกฤษได้เข้าไปวางรากฐานให้ทั้งระบบสาธารณูปโภค ไม่ว่าจะเป็น ถนน หรือทางรถไฟที่ครอบคลุมทั่วทั้งเกาะ จนถึงระบบการศึกษา แม้หลังจากได้รับเอกราชแล้ว เมื่อปี 2491 แต่ก็ยังได้ชื่อว่า เป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบการศึกษาดีเลิศเป็นอันดับต้นๆ ของเอเชีย

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

ซีลอน เปลี่ยนชื่อเป็นศรีลังกา เมื่อปี 2517 เมื่อกว่า 60 ปีก่อน ตัวเลข GDP ต่อหัวของคนศรีลังกา มากกว่าคนไทยเกือบ 1.5 เท่า โดยในปี 2503 GDP ต่อหัวของคนศรีลังกาอยู่ที่ 3,010 บาทต่อปี แต่ของคนไทยในขณะนั้นอยู่ที่เพียง 2,140 บาทต่อปี

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

 

ในเรื่องการส่งออก คำว่า "ซีลอน" ทำให้นึกไปถึงสิ่งอื่นไม่ได้นอกจาก "ชาซีลอน" เพราะศรีลังกาได้ชื่อว่าเป็นแหล่งเพาะปลูกชาที่สำคัญที่สุดของโลก นอกเหนือจากอัญมณี อีกทั้งเกาะเล็กๆ แห่งนี้ ยังตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์ของการขนส่งในมหาสมุทรอินเดีย

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

 

แต่แม้จะมีแต้มบุญจากความเจริญที่อังกฤษสร้างไว้ให้ แต่ศรีลังกาก็ต้องเจอเคราะห์กรรมจากสงครามกลาง เมืองที่ยาวนานเกือบ 30 ปี ที่ต้องรบราฆ่าฟันกับกลุ่มแบ่งแยกดินแดนขบวนการปลดปล่อยพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Ealamป หรือ LTTE ความขัดแย้งระหว่างเชื้อชาติที่เรื้่อรังและกัดเซาะทำลายเศรษฐกิจของศรีลังกา จากข้อมูลเมื่อปี 2561 พบว่า คนศรีลังกามี GDP ต่อหัวอยู่ที่ 122,770 บาท น้อยกว่า GDP ต่อหัวของคนไทยถึง 2 เท่า

 

ศรีลังกามีประชากร 2 กลุ่ม คือ ชาวสิงหล ครองสัดส่วน 74% ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ชาวทมิฬ ครองสัดส่วน 18% ของประชากรทั้งหมด ส่วนใหญ่นับถือศาสนาฮินดู และชาวมัวร์อีกประมาณ 7% ซึ่ง นับถือศาสนาอิสลาม แต่ปัญหาความขัดแย้งหลักๆ เกิดจากชาวสิงหลกับชาวทมิฬ ที่มีมาตั้งแต่สมัยยังตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของอังกฤษ โดยขณะนั้น อังกฤษได้เข้าไปวางรากฐานในการพัฒนาทั้งระบบการศึกษา ระบบขนส่งและการเกษตร ที่นำไปสู่การทำไร่ชาขนาดใหญ่ที่เสาหลักสำคัญทางเศรษฐกิจ แต่ก็ต้องการแรงงานจำนวนมาก

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

 

แต่ตอนนั้น ชาวสิงหลและชาวทมิฬ ไม่ต้องการทำไร่ชาของอังกฤษ ทำให้อังกฤษต้องไปเอาชาวทมิฬมาจากอินเดีย และกลายเป็นปมขัดแย้งร้าวลึก เมื่อชาวทมิฬที่มาจากอินเดียได้รับสถานะที่ดีกว่าชาวทมิฬพื้นเมือง ทั้งในด้านสังคม เศรษฐกิจและการศึกษา

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

 

เมื่อศรีลังกาได้รับเอกราชจากอังกฤษ กลับกลายเป็นว่า ชาวทมิฬซึ่งมีการศึกษาดีกว่า มีฐานะดีกว่า กลายเป็นผู้ผูกขาดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ทำให้ชาวสิงหลที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ไม่พอใจ ยิ่งเมื่อได้รัฐบาลที่เป็นชาวสิงหล ซึ่งนอกจากจะเปลี่ยนชื่อประเทศเป็นศรีลังกาแล้ว ยังกำหนดให้ศาสนาพุทธเป็นศาสนาประจำชาติอีกด้วย ส่วนชาวทมิฬโดนกดให้ต่ำด้วยนโยบายกีดกันชาวทมิฬ ไม่ให้มีการเรียนการสอนเป็นภาษาทมิฬ การสอบบรรจุเข้ารับราชการต้องใช้ภาษาสิงหลเท่านั้น จนเกิดกระแสต่อต้านจากชาวทมิฬ และเป็นจุดกำเนิดของ LTTE เมื่อปี 2519 โดยมีเป้าหมายแบ่งแยกดินแดนทางตอนเหนือ ที่ประชากรส่วนใหญ่ 3 ล้านคนเป็นชาวทมิฬLTTE เป็นกองกำลังที่น่าเกรงขาม ราวกับกองทัพของประเทศใดประเทศหนึ่ง เพราะมีทั้งกองกำลังทางบก ทางเรือและทางอากาศ โดยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากชาวทมิฬในยุโรป สหรัฐฯ และธุรกิจผิดกฎหมาย

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

 

ก่อนประกาศสงครามกับรัฐบาลอย่างเป็นทางการในปี 2526 และการต่อสู้ของพวกเขาได้ถูกจดจำในเรื่องการก่อวินาศกรรมและการใช้"ระเบิดฆ่าตัวตาย" สงครามที่ยืดเยื้อระหว่างปี 2526-2552 ทำให้เศรษฐกิจศรีลังกาได้รับผลกระทบหนัก มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 65,000 คน คนนับล้านอพยพหนีตาย จากที่เคยมีรายได้จากการท่องเที่ยว เพราะเป็นแหล่งโบราณสถาน ศิลปวัฒนธรรม และชายหาดที่งดงาม แต่เพราะการก่อการร้าย ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง เหลือปีละประมาณ 300,000 - 500,000 คน นักลงทุนต่างชาติพากันขยาด ทั้งที่แรงงานศรีลังกามีการศึกษาและมีศักยภาพ ทำให้กลายเป็นว่า สินค้าหลักที่ส่งออก มีเพียงสิ่งทอ อัญมณีและชา แต่ต้องนำเข้าสินค้าสารพัด ทั้งเครื่องจักร อุปกรณ์อิเล็คทรอนิกส์ และเชื้อเพลิง นำไปสู่การขาดดุลการค้าต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2526

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

 

สงครามกลางเมืองทำให้รัฐบาลต้องทุ่มงบประมาณด้านการป้องกันประเทศถึง 6% ของ GDP ในปี 2538 มีช่วงที่ต้องกู้เงินจากต่างประเทศด้วย จนกระทั่งในปี 2552 หนี้สาธารณะของศรีลังกาได้พอกพูนขึ้นไปอยู่ที่  86% ของ GDP แต่ในปีเดียวกันนี้ กองทัพศรีลังกาในยุคของรัฐบาลนายมหินทรา ราชปักษา ก็สามารถปราบ LTTE จนราบคาบ นำไปสู่การสิ้นสุดสงครามกลางเมืองที่ยาวนานกว่า 26 ปี และเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ทุกภาคส่วนมีการเติบโต ทั้งเศรษฐกิจและการท่องเที่ยว เมื่อปี 2561 มีนักท่องเที่ยวไปเยือนมากกว่า 2.3 ล้านคน ทำให้ GDP เพิ่มขึ้น และสัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP เริ่มลดลง

 

ย้อนทำความรู้จัก “ศรีลังกา” จากมั่งคั่งศิวิไลซ์ สู่การล้มละลาย

 

แต่แม้สงครามกลางเมืองจะสิ้นสุด โดยรัฐบาลของภายใต้การนำของคนในตระกูลราชปักษา แต่ก็ต้องไม่ลืมว่า การที่ประเทศกำลังเผชิญสภาวะเศรษฐกิจพังพินาศ ไม่เหลือน้ำมันในคลังสำรอง ก็อยู่ในยุคที่บริหารโดยคนในตระกูลราชปักษา (ประธานาธิบดีโกตาบายา ราชปักษา) เช่นกัน ทั้งยังนำพาประเทศล่มจมเพราะบริหารงานผิดพลาด เน้นประชานิยม ทุ่มเงินในโปรเจ็คที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ และที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้น คือ การคอรัปชั่นกันอย่างมโหฬารนั่นเอง

 

 

 

logoline