svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

08 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์รำลึกถึงเหตุการณ์ ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ถูกลอบยิงจนถึงแก่อสัญกรรม ตลอดจนจะขอจดจำ ชินโซอาเบะ ในฐานะผู้ที่ให้การสนับสนุน จนญี่ปุ่นสร้างแนวคิดสังคม5.0

ภายหลังเกิดเหตุช็อกโลกในวันนี้ นายชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หลังจากที่เขาถูกยิงล้มลงขณะกำลังกล่าวสุนทรพจน์ช่วยพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล หาเสียงบริเวณนอกสถานีรถไฟในเมืองนารา ช่วงเช้าวันนี้ (8 ก.ค.)

ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์รำลึกถึง “ชินโซ อาเบะ” ใจความที่น่าอ่านและเนื้อหาที่มากด้วยความน่าสนใจ ระบุไว้ว่า

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0 ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

...

รำลึก #ShinzoAbe

หลายๆ คนจดจำอดีตนายกฯ ท่านนี้เพราะแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจแบบผ่อนคลาย เปิดกว้าง สนับสนุนให้คนต่างชาติเข้ามาทำงานในญี่ปุ่น สนับสนุนให้คุณผู้หญิงเข้ามาทำงานแล้วมีสิทธิในทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น เศรษฐกิจญี่ปุ่นที่ซบเซามานานทำท่าว่าอาจจะขยับขึ้นได้เล็กน้อยภายใต้แนวคิดที่เรียกกันว่า #Abenomic

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

บางคนจดจำบทบาทที่เขาใกล้ชิดสหรัฐอเมริกา และดูเหมือนจะทำการยั่วยุจีนในหลายๆเรื่อง โดยเฉพาะการเข้าเคารพศาลเจ้ายาสุคุนิ ที่เป็นที่ประดิษฐานป้ายวิญญาณของอาชญากรรมสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทำให้ฝ่ายจีนไม่พอใจในหลายๆรอบ แต่ในที่สุดชินโซอาเบะคือนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นคนแรกในรอบหลายปี ที่เดินทางไปกรุงปักกิ่ง และคุยกับสีจิ้นผิง ว่าจีนกับญี่ปุ่นน่าจะจับมือกันไปลงทุนในประเทศที่ 3

คนจำนวนมากจดจำเขาได้จากการแต่งชุดเป็นซุปเปอร์มาริโอ้ในพิธีส่งมอบการเป็นเจ้าภาพกีฬาโอลิมปิกที่ประเทศบราซิล

แต่สำหรับผม ผมต้องการจดจำ ชินโซอาเบะ ในฐานะผู้ที่สนับสนุน จนญี่ปุ่นสร้างแนวคิด #สังคม5.0

การคิดนอกกรอบแต่รอบด้านครอบคลุมทุกมิติเพื่อสร้างสังคมที่ยั่งยืนในวันที่ทั่วโลกพูดถึงแต่อุตสาหกรรม 4.0 แต่ญี่ปุ่นกำลังเผชิญหน้าปัญหาสังคม หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผ่านญี่ปุ่นผลักดันนโยบายสังคม 5.0 อย่างต่อเนื่องต่อไป เหตุสลดที่เกิดขึ้นในวันนี้ ก็คงจะไม่เกิดขึ้นอีก

สังคม 5.0 คืออะไร เชิญชวนอ่านครับ

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังเร่งพัฒนาเทคโนโลยีในยุคของการเปลี่ยนผ่าน โดยมีอุตสาหกรรมเป็นจุดศูนย์กลาง ที่เรียกว่า อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) ซึ่งมีประเทศเยอรมันเป็นผู้ริเริ่มการเปลี่ยนแปลงหากแต่ประเทศญี่ปุ่นกลับพิจารณาการปฏิรูปให้เท่าทันกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันโดยมีสังคมเป็นจุดศูนย์กลางภายใต้นโยบาย สังคม 5.0 (Society 5.0) ซึ่งญี่ปุ่นตั้งวิสัยทัศน์ของการปฏิรูปครั้งนี้ว่า “A People-Centric Society Founded on the Merging of Cyberspace and Physical Space” สังคมที่มีมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลางบนพื้นฐานของการประสานกันระหว่างโลกไซเบอร์และโลกกายภาพ โดย อุตสาหกรรม 4.0 และ สังคม 5.0 มีข้อเหมือนและข้อแตกต่างที่สามารถเปรียบเทียบกันได้ดังตารางต่อไปนี้

 

ตารางเปรียบเทียบอุตสาหกรรม 4.0 และ สังคม 5.0

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ญี่ปุ่นจำแนกพัฒนาการทางสังคมที่ผ่านมาออกเป็น 4 ยุค ได้แก่ สังคม 1.0 Hunting Society หรือสังคมบุพกาลที่มนุษย์ยังเร่ร่อน ล่าสัตว์เป็นอาหาร อยู่กันแบบชนเผ่า, สังคม 2.0 Agricultural Society หรือสังคมที่มนุษย์ลงหลักปักฐาน สร้างชุมชนหมู่บ้านทำการเกษตร, สังคม 3.0 Industrial society ซึ่งญี่ปุ่นสามารถกลายเป็นผู้นำเศรษฐกิจโลกผ่านการพัฒนาอุตสาหกรรมถึงจุดสูงสุดในยุค Industry 3.0 ช่วงทศวรรษ 1960-1970, และสังคม 4.0 Information Society สังคมปัจจุบันที่เป็นสังคมแห่งข้อมูลข่าวสาร

โดยสังคม 5.0 ของญี่ปุ่นจะต้องเป็นสังคมแห่งอนาคตที่พัฒนาต่อยอดจากสังคม 4.0 ในมิติสำคัญๆ ดังนี้ (Keidanren, 2018)

• สังคมยุค 1.0-4.0 ที่เน้นใช้ประโยชน์จากการประหยัดต่อขนาด (Economies of Scale) โดยให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการผลิตที่มีประสิทธิภาพสูง แต่ในสังคมยุค 5.0 ญี่ปุ่นต้องสร้างระบบการผลิตที่เน้นการแก้ปัญหาและการสร้างมูลค่า

 

• สังคมยุค 1.0-4.0 ที่ลดทอนความเป็นปัจเจกชน (Suppression of Individuality) เพื่อสร้างความเป็นเอกรูป (Uniformity) ที่ทุกคนเหมือนกันหมดเพื่อให้ง่ายต่อการบริหารจัดการที่เน้นประสิทธิภาพ แต่ในสังคมยุค 5.0 ญี่ปุ่นต้องเน้นความหลากหลายDiversity) ที่ส่งเสริมให้แต่ละบุคคลได้ใช้และเสริมสร้างศักยภาพที่มีแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

 

• สังคมยุค 1.0-4.0 เกิดความเหลื่อมล้ำ การกระจุกตัวของกระบวนการผลิต การบริโภค และการสะสมความมั่งคั่ง แต่ในสังคมยุค 5.0 ญี่ปุ่นต้องการกระจายโอกาสให้ทุกคนสามารถเข้าถึงโอกาสได้ในทุกสถานที่และทุกเวลาผ่านการกระจายอำนาจในทุกภาคส่วนของสังคม (Decentralization)

 

• สังคมยุค 1.0-4.0 ทำให้ประชาชนบางกลุ่มกลายเป็นกลุ่มเปราะบาง เกิดความเครียดและความกดดันทางสังคม แต่ในสังคมยุค 5.0 ญี่ปุ่นต้องสร้างสังคมที่มีภูมิคุ้มกัน (Resilience) ให้ประชาชนทุกคนสามารถมีชีวิตอยู่ได้แม้จะมีภัยคุกคามเข้ามาในรูปแบบต่างๆ

 

• สังคมยุค 1.0-4.0 สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสภาวะแวดล้อมเนื่องจากการถลุงบริโภคทรัพยากรจนเกินขนาด ดังนั้นในสังคมยุค 5.0 ญี่ปุ่นต้องเน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืนให้มนุษย์สามารถดำรงอยู่ได้โดยสอดคล้องกับธรรมชาติ

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0 ในการนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นได้เข้ามาทำหน้าที่เป็นผู้นำในการปฏิรูป โดยเริ่มต้นในปี 2016-2017 ผ่านยุทธศาสตร์สำคัญ 2 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ The 5th Science and Technology Basic Plan ในปี 2016 และ Comprehensive Strategy on Science, Technology and Innovation for 2017 โดยแผนดังกล่าวเน้นการสร้างสังคมและเศรษฐกิจใหม่ด้วยการปฏิรูปปัจเจกบุคคลให้มีพลังสามารถกำหนดวิถีชีวิตที่เปี่ยมสุขภาวะ ปฏิรูปองค์กรธุรกิจให้สร้างคุณค่าใหม่ เพิ่มผลิตภาพและนวัตกรรมจากกระบวนการดิจิทัล และแก้ไขปัญหาสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาจำนวนประชากรที่คนเกิดน้อยลงและอายุยืนมากขึ้น ปัญหาภัยพิบัติและการก่อการร้าย และปัญหาสิ่งแวดล้อมและการขาดแคลนทรัพยากร

นอกจากนี้ แผนดังกล่าวยังเสนอให้ญี่ปุ่นต้อง “ทำลายกำแพงทั้ง 5 ” อันประกอบด้วย 1) กำแพงของระบบราชการ ที่ทำให้หน่วยงานต่างๆ ไม่สามารถทำงานสอดประสานกันได้ ทำลายกำแพงนี้ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์แห่งชาติและบูรณาการหน่วยงาน 2) กำแพงของกฎหมาย กฎเกณฑ์ กติกา ที่ล้าสมัย ด้วยการปรับปรุงข้อบทที่เป็นอุปสรรค 3) กำแพง (เพดาน) ของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ด้วยการสร้างฐานความรู้ใหม่ที่มาจากปัจเจคบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญที่หลากหลาย 4) กำแพงทรัพยากรมนุษย์ที่มีสาเหตุมาจากโครงสร้างประชากร ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของพลเมืองทุกคน และทุกช่วงวัย และ 5) กำแพงของการยอมรับทางสังคม

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ซึ่งจะทำลายกำแพงนี้ได้ด้วยการบูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงให้เข้ามาตอบโจทย์สังคม ตัวอย่างโครงการ เช่น ที่ผ่านมาการแข่งขันที่รุนแรงในทางธุรกิจทำให้เกิดทรัพยากรบุคคลเกิดความเครียดและขาดความคิดสร้างสรรค์ ดังนั้นญี่ปุ่นจึงการประกาศพื้นที่ “ไม่แข่งขัน” ที่เป็นการพัฒนา เติบโต และแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันระหว่างบริษัทญี่ปุ่นกับบริษัทต่างชาติ การสร้างงานศึกษาโครงการต่างๆ ที่เป็นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาควิชาการ กิจกรรมขยายตลาดสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสังคม 5.0 กิจกรรมปฏิรูปโครงสร้างองค์กรให้เป็นมิตรต่อพนักงานมากขึ้น เป็นต้น

 

จะเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมญี่ปุ่น ในนาม สังคม 5.0 จะกลายเป็นเครื่องมือสำคัญในอนาคตที่ทำให้การขยายอิทธิพลโดยใช้พลังอำนาจอ่อน (Soft Power) มีพลานุภาพสูงมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่เคยได้รับอิทธิพลทางเศรษฐกิจของญี่ปุ่นมาแล้วอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศไทย และเพื่อนบ้านประชาคมอาเซียน โดยเฉพาะประเทศไทยที่ได้เข้าสู่ภาวะโครงสร้างประชากรสูงวัยเต็มขั้น (Aged Society) ในปี 2020/2021 ซึ่งก็ต้องเผชิญปัญหาทางสังคมในรูปแบบเดียวกับที่ญี่ปุ่นเคยเผชิญมาแล้วในอดีต

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0 ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0 โดยแนวโน้มการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน ควบคู่ไปกับพัฒนาสังคม (เน้นความสะดวกสบาย ความมีชีวิตชีวา และคุณภาพชีวิตที่ดี) ที่จะได้เห็นในอนาคตโดยประเทศญี่ปุ่น จะมีลักษณะตัวอย่างดังต่อไปนี้

• มิติสาธารณสุข: การใช้อุปกรณ์อัจฉริยะเพื่อตรวจสอบสัญญาณชีพในลักษณะเวชศาสตร์ป้องกัน ร่วมกับการใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์และปัญญาประดิษฐ์เข้ามาร่วมในการทำหัตถการ และการดูแลผู้ป่วย ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลดีกับสังคมในการยืดอายุขัยเฉลี่ยและทำให้คุณภาพชีวิตของประชาชนดีขึ้นในทุกช่วงวัยควบคู่ไปกับการลดต้นทุนและลดภาระทางงบประมาณในการบริหารจัดการระบบสวัสดิการสังคม

• มิติพลังงาน: การกระจายตัวของการใช้แหล่งพลังงานทางเลือกซึ่งสามารถสร้างแหล่งผลิตพลังงานได้ในทุกพื้นที่เพื่อป้อนพลังงานให้กับพื้นที่ของตนเอง ซึ่งจะทำให้ประเทศสามารถลดต้นทุนในการผลิตพลังงานในโรงงานขนาดใหญ่ ลดความสูญเสียและลดต้นทุนการขนส่งพลังงานจากโรงไฟฟ้าที่อยู่ไกลไปถึงผู้บริโภค และในขณะเดียวกันก็เป็นการลดภาระต่อสภาวะแวดล้อมและสภาวะภูมิอากาศ

• มิติการเกษตร: การนำเทคโนโลยีอัตโนมัติมาใช้ในระบบการผลิตภาคเกษตร ตั้งแต่การปลูก การเก็บเกี่ยว กระบวนการหลังการเก็บเกี่ยว (Post-Harvesting) การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และระบบโลจิสติกส์เพื่อส่งมอบผลผลิต ซึ่งจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจที่จะมีการผลิตและการเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งมีผลต่อความมั่นคง และต้องมีการลดการใช้ทรัพยากรตั้งแต่กระบวนการผลิตจนถึงการบริโภค

• มิติอุตสาหกรรม: ญี่ปุ่นจะเน้นการสร้างเสริมสมดุลของห่วงโซ่มูลค่า (Optimal Value Chain) ตามแนวคิด Monozukuri ซึ่งหมายถึงการพัฒนาทุกกระบวนตลอดเวลา โดยการใช้ระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์เข้ามาในกระบวนการผลิตโดยเน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน และลดการสูญเสียในการผลิต

..

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ย้อนไปอ่านโพสต์ก่อนหน้านี้
ดร.ปิติ ศรีแสงนาม คาดญี่ปุ่น "จะเปลี่ยนไปตลอดกาล"หลังจากชินโซ อาเบะถูกยิง

..
ดร.ปิติ ศรีแสงนาม อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้พูดถึงเหตุการณ์ ชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่ถูกยิง ว่า “ญี่ปุ่นจะเปลี่ยนไปตลอดกาล” ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่น่าสนใจ
 

ภายหลังเกิดเหตุ นายชินโซ อาเบะ อดีตนายกรัฐมนตรีของญี่ปุ่น ถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล หลังจากที่เขาถูกยิงล้มลงขณะกำลังกล่าวสุนทรพจน์ช่วยพรรคเสรีประชาธิปไตย (แอลดีพี) ซึ่งเป็นพรรคแกนนำรัฐบาล หาเสียงบริเวณนอกสถานีรถไฟในเมืองนารา ช่วงเช้าวันนี้ (8 ก.ค.)

 

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ญี่ปุ่นคือสังคมที่สงบสุข ปลอดภัยสูง อัตราการเกิดอาชาญกรรมต่ำมาก การมีอาวุธในครอบครองคือเรื่องผิดปกติ การพกพาอาวุธในที่สาธารณะแทบจะไม่เคยเกิดขึ้น 

ญี่ปุ่นไม่ใช่สหรัฐอเมริกาที่ ในครึ่งปีที่ผ่านมามีเหตุกราดยิงจากมือปืนสติแตกไปแล้วมากกว่า 300 ครั้ง และการครอบครองและพกพาอาวุธก็ยังเป็นเรื่องปกติ ภายใต้ข้ออ้างเรื่อง เสรีภาพ

ญี่ปุ่นคือประเทศที่เก่งมากเรื่อง plan do check act การ review เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพื่อวางแนวทางพัฒนา และ/หรือ แก้ไข คือสิ่งที่คนญี่ปุ่นทำเก่งที่สุด

ดังนั้น แนวทางการเมืองแบบอนุรักษ์นิยมจัดๆ แบบ Abe, รูรั่วที่ทำให้เกิดการมีอาวุธ พกพาอาวุธ, และสภาพกดดันจนมีคนที่บิดเบี้ยวจนระเบิดอาวุธในที่สาธารณะเช่นนี้ จะต้องถูกแก้ไข

นโยบาย สังคม 5.0 เพื่อเท่าทัน อุตสาหกรรม 4.0 ที่เริ่มต้นไว้ตั้งแต่ 2016 น่าจะต้องถูกเข็นกันอย่างจริงจัง

เอาใจช่วย สังคมญี่ปุ่น ครับ

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0 ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

รองศาสตราจารย์ ดร.ปิติ ศรีแสงนาม

คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ดร.ปิติ โพสต์ ขอจดจำ“ชินโซ อาเบะ” ชายผู้ให้การสนับสนุนแนวคิด สังคม5.0

ขอขอบคุณที่มาจาก เฟซบุ๊ก Piti Srisangnam (รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม)

 

 

 

logoline