svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

แชร์สนั่น ตัวช่วยยุคน้ำมันแพง สายรัดประหยัดน้ำมัน ก่อนถูกชาวเน็ตจับโป๊ะ

08 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ก็ยุคน้ำมันแพงอ่ะนะ! แชร์สนั่น ไฮโซสาวขาย อุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน สายรัดประหยัดน้ำมัน มีดารารุ่นใหญ่ หน่วยงานรัฐช่วยโปรโมท ก่อนถูกชาวเน็ตช่วยกันจับโป๊ะ

ยุคนี้เป็นยุคน้ำมันแพง อะไรที่ช่วยให้ประชาชนประหยัดน้ำมันได้ก็ดูเหมือนว่าจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ โดยล่าสุดในโซเชียลช่วงวันสองวันนี้ ชาวเน็ตมีการพูดถึงและวิพากษ์วิจารณ์อย่างมากถึงนวัตกรรมใหม่ที่อ้างว่า ช่วยลดการใช้น้ำมันได้ ทำให้ประหยัดค่าน้ำมันไปได้เยอะ ด้วยการใช้ “สายพลังงานประหยัดน้ำมัน”

 

ซึ่งพบว่า ผู้จำหน่ายเป็นไฮโซหญิงรายหนึ่งที่ได้โพสต์ขายสินค้านี้ ลงทั้งเพจของสินค้าและเฟซบุ๊กส่วนตัว และยังมีการนำไปมอบให้กับดาราอาวุโส รวมถึงอู่รถยนต์ และบริษัทต่าง ๆ เพื่อถ่ายภาพไปโปรโมตสินค้าด้วย 

 

โดยสายพลังงานประหยัดน้ำมัน มีการอ้างคุณสมบัติของสินค้าไว้ว่า “ไม่ต้องกลัวราคาน้ำมันแพงนะคะ แค่มีสายรัดประหยัดพลังงานที่สายส่งน้ำมันไปหัวฉีด สายประหยัดพลังงานจะแยกโมเลกุลน้ำมันให้เล็กลง ทำให้การใช้น้ำมันลดลง 20 – 30%” ส่วนประกอบของสายรัดประหยัดพลังงาน แร่แกรฟีน พลังงานควอนตัม แร่หินลาวา พลังงานแม่เหล็ก รังสีแกมมาเรย์ ยางซิลิโคนชนิดพิเศษ ทนความร้อนสูง

 

 

แชร์สนั่น ตัวช่วยยุคน้ำมันแพง สายรัดประหยัดน้ำมัน ก่อนถูกชาวเน็ตจับโป๊ะ

 

 

และมีรายงานว่า ดร.ประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน ได้ประชุมหารือนวัตกรรมพลังงานทดแทนด้านน้ำมัน โดยได้เสนอผลิตภัณฑ์สายประหยัดพลังงานเข้าสู่วาระที่ประชุมแล้ว และได้นำไปทดสอบเพื่อพิสูจน์การประหยัดและนำมาใช้ในอนาคตต่อไป

 

 

แชร์สนั่น ตัวช่วยยุคน้ำมันแพง สายรัดประหยัดน้ำมัน ก่อนถูกชาวเน็ตจับโป๊ะ

แชร์สนั่น ตัวช่วยยุคน้ำมันแพง สายรัดประหยัดน้ำมัน ก่อนถูกชาวเน็ตจับโป๊ะ

แชร์สนั่น ตัวช่วยยุคน้ำมันแพง สายรัดประหยัดน้ำมัน ก่อนถูกชาวเน็ตจับโป๊ะ
 

อย่างไรก็ตามต่อมาพบว่า ทางทวิตเตอร์ของเพจ กระโหลกแดง ทวิตเตอร์ @redskullxxx โพสต์ว่า นวัตกรรมลวงโลก ครั้งนี้ไฮโซลงมาเล่นเองเลย มีดารานักร้องรุ่นเก่ามาช่วยโฆษณาด้วย ส่วนบรรดานักวิทย์คนดังในโซเชียลต่างไม่กล้าเอามาวิจารณ์เพราะกลัวโดนฟ้อง เดี๋ยวนี้ถึงขั้นขายสินค้าลวงโลกเลยเหรอ สินค้าที่บอกว่าเป็นสายประหยัดพลังงาน ความจริงเป็นแค่ไส้ไก่พันสายไฟ แต่ถูกยกให้เป็นสายพลังงานควอนตัม ขายในราคาเส้นละ 3,800 บาท ถือว่าเป็นหญ้าที่ราคาแพงมาก 

 


โพสต์ทวิตเตอร์ของเพจ กระโหลกแดง

แชร์สนั่น ตัวช่วยยุคน้ำมันแพง สายรัดประหยัดน้ำมัน ก่อนถูกชาวเน็ตจับโป๊ะ

แชร์สนั่น ตัวช่วยยุคน้ำมันแพง สายรัดประหยัดน้ำมัน ก่อนถูกชาวเน็ตจับโป๊ะ

ขณะที่ อาจารย์เจษฎ์ เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ถึงประเด็นนี้ด้วยว่า 

 

“เตือนระวัง อย่าหลงเชื่อโฆษณาหลอกขาย อุปกรณ์ประหยัดน้ำมัน” ในช่วงที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นมากอย่างตอนนี้ ก็มีอุปกรณ์ที่อ้างว่าสามารถทำให้ยานพาหนะประหยัดการใช้พลังงานขึ้นได้ ออกมาจำหน่ายมากมายหลายยี่ห้อเลยครับ

 

ซึ่งหลัก ๆ แล้ว มักจะเป็นอุปกรณ์ที่แอบอ้างหลอกลวง หรือโฆษณาเกินจริงด้วยการใช้คำพูดเชิง pseudo science วิทยาศาสตร์ลวงโลก มาทำให้ดูน่าเชื่อถือ … แล้วตามด้วยการอ้าง “ผู้ใช้” มาบอกต่อกันว่าประหยัดจริงๆ อย่างนั้นอย่างนี้ (ซึ่งก็ไม่รู้ว่าเป็นอุปปาทานไปกันเอง เพราะไม่ได้ใช้เครื่องมือวัดที่ถูกต้อง .. หรือว่าเป็นหน้าม้าร่วมด้วย)

 

 

แชร์สนั่น ตัวช่วยยุคน้ำมันแพง สายรัดประหยัดน้ำมัน ก่อนถูกชาวเน็ตจับโป๊ะ

 

 

1.อย่างภาพโฆษณาของสินค้าเก่าที่พอจะหาภาพเจอ (ขายในปี พ.ศ. 2558) อันนี้ ที่เอาไปพันกับท่อในเครื่องยนต์แล้วอ้างว่าประหยัดน้ำมันได้ ก็เป็นตัวอย่างที่ดีในการอธิบายถึงการหลอกขายได้ เช่น

 

– อ้างเรื่องพลังงานที่ไม่มีอยู่จริง คือ พลังงานสเกล่าร์ ซึ่งอ้างว่าเป็นพลังงานธรรมชาติจากหินลาวาภูเขาไฟ ทำให้ร่างกายสมดุล มาผลิตเป็นเครื่องประดับ (ซึ่งถ้าใครจำได้ มันคือเรื่อง “เหรียญควอนตัม” หลอกลวง นั่นแหละครับ) ซึ่งก็ชัดเจนว่าไม่ได้

 

– อ้างเรื่องที่มีอยู่จริง คือ แม่เหล็ก แต่เอาไปเคลมแบบมั่วๆ ว่าเป็นพลังงานที่เอาไปใช้เสริมสร้างร่างกาย รักษาโรคได้ ทำให้สมดุลร่างกายดีขึ้น (ซึ่งก็ไม่จริงนะ เป็นเรื่องอ้างมั่วๆ กันมานานแล้ว) ดังนั้น เมื่อเอามาใช้กับเครื่องยนต์ จะทำให้เครื่องยนต์เกิดสมดุลขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น (เชื่อมโยงกันยังไงเนี่ย สมดุลในร่างกายคน กับสมดุลในเครื่องยนต์รถ)

 

– อีกเรื่องที่มีอยู่จริง แต่มาอ้างมั่วๆ คือ ฟาร์ อินฟาเรด ซึ่งจริงๆ ก็เป็นแค่ช่วงคลื่นของแสงที่อยู่เหนือช่วงอินฟาเรด (ช่วงคลื่นของแสงที่ตามองไม่เห็น และทำให้เกิดความร้อน) ขึ้นไป ซึ่งมีคนเยอะเลยที่ชอบเอามาอ้างกันเกินจริง ว่ามีผลดีต่อสุขภาพอย่างนั้นอย่างนี้ ทำให้โมเลกุลของน้ำแตกตัว เล็กลง นำออกซิเจนเข้าสู่ร่างกายเร็วขึ้น ฯลฯ (ซึ่งก็ไม่จริงนะ อ้างกันมั่วๆ ) แล้วเอามาเชื่อมโยงกับน้ำมันรถยนต์ อ้างว่าทำให้โมเลกุลน้ำมันหรือแก๊สแตกตัว เล็กลง เผาไหม้สมบูรณ์ขึ้น (ซึ่งทั้งไม่จริง และทั้งเชื่อมโยงได้มั่วมาก)

 

– จากนั้น ก็ตามด้วยการเอา “ผู้ใช้” มาอ้างว่าใช้แล้วประหยัดน้ำมันขึ้น ซึ่งเราไม่มีทางรู้ว่าเป็นเรื่องจริง หรือเป็นการหลอกโดยหน้าม้า หรือว่าเป็นแค่อุปปาทานของคนนั้นคิดไปเอง ซึ่งการจะรู้ได้ว่าประหยัดน้ำมันแค่ไหนจริง แต่ผ่านการทดสอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ และอุปกรณ์เฉพาะ

 

2. จริงๆ เรื่องพวกนี้ ก็มีการเตือนกันมานานแล้ว อย่างข่าวนี้ ตั้งแต่ปี 2552 (http://www.bt-50.com/topic.php?q_id=8515) “ปตท. ออกโรง เตือนผู้บริโภค ระวัง โดนแหกตา อุปกรณ์เสริมและสารเคมีที่ช่วยประหยัดน้ำมัน ไม่สามารถช่วยประหยัดน้ำมันได้จริง ผลพิสูจน์แล้ว ไม่มีรายใดผ่านมาตรฐานสากล เพียงแค่ผู้ผลิตอ้างสรรพคุณให้หลงเชื้อเท่านั้น”

 

3. ในอดีตนานแล้ว (ปี พ.ศ. 2547) ก็เคยมีกรณีของสินค้าที่แอบอ้างว่าประหยัดน้ำมันได้ ชื่อว่า E-Plus (เสียดายว่าหารูปประกอบไม่เจอแล้ว) ซึ่งเคยเป็นข่าวใหญ่ เพราะดันผ่านการรับรอง แนะนำ โดยหน่วยงานของรัฐอย่าง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) แต่มาถูกเปิดโปงพิสูจน์ได้ภายหลังว่าไม่ได้ประหยัดน้ำมันจริง

 

4.คำแนะนำสำหรับ #การขับรถให้ประหยัดน้ำมัน จาก ปตท.

 

1. ไม่เหยียบเบรกกะทันหัน : การเหยียบเบรกกะทันหัน หรือบ่อยเกินความจำเป็น จะสิ้นเปลืองน้ำมันสูงถึง 40% และยังส่งผลเสียต่อตัวเครื่องยนต์อีกด้วย

 

2. ขับรถด้วยความเร็วคงที่ ไม่ช้าเกินไป หรือเร็วมากเกิน : รักษาความเร็วให้คงที่ หรือใช้ความเร็วที่สม่ำเสมอกัน 60 – 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ช่วยให้รถประหยัดน้ำมัน และลดความเสี่ยงต่อการเกิดความเสียหายบนท้องถนนด้วย

 

3. เปลี่ยนน้ำมันเครื่องและตรวจเช็กเครื่องยนต์ตามระยะทาง : การตรวจเช็กสภาพรถเป็นประจำตามคำแนะนำของศูนย์บริการ จะช่วยประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 3 – 9% เลยทีเดียว

 

4. บรรทุกของเท่าที่จำเป็น : ยิ่งบรรทุกของมาก ยิ่งทำให้รถต้องใช้พละกำลังในการขับเคลื่อนมากขึ้นไปด้วย ยิ่งกินน้ำมันมากขึ้น

 

5. จัดของที่จะบรรทุก บนรถกระบะ : จัดวางสิ่งของให้สมดุล ไม่อยู่ด้านใดด้านหนึ่งมากเกินไป นอกจากนี้ ก็ไม่ควรจะขับรถเร็ว ควรวิ่งชิดเลนซ้าย ใช้ความเร็วสม่ำเสมอ ประมาณ 80 – 90 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ก็จะช่วยประหยัดน้ำมันได้มากถึง 15 – 20 % เลยทีเดียว

 

 

โพสต์เตือนของอาจารย์เจษฎ์ เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

มีรายงาน ต่อมาผู้จำหน่าย สายพลังงานประหยัดน้ำมัน ได้ลบโพสต์ดังกล่าวทิ้งไปแล้ว จึงต้องติดตามต่อไปว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะเข้ามาดำเนินการในประเด็นอย่างไรต่อไป

logoline