svasdssvasds
เนชั่นทีวี

เศรษฐกิจ

วิกฤติพลังงาน ดันดัชนีราคาผู้บริโภค "เงินเฟ้อ"ไทยพุ่ง 7.66%

วิกฤติพลังงานสูงต่อเนื่อง ส่งผลเงินเฟ้อไทย เดือนมิถุนายน 2565 พุ่ง 7.66% ด้าน สนค. เผยราคาอาหารมีผลต่อเงินเฟ้อไม่มาก เนื่องจากมีการปรับราคาไปก่อนหน้านี้

 

5 มิถุนายน 2565 ดัชนีผู้บริโภคทั่วไปพุ่งทยาน หลังอัตราเงินเฟ้อพุ่งไปที่ 7.66% โดยนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไป หรือ อัตราเงินเฟ้อ เดือนมิถุนายนยังสูงที่ 7.66% และหากเทียบกับเดือนก่อนหน้าสูงขึ้น 0.56% 

 

“ สาเหตุที่ เงินเฟ้อ เดือนมิถุนายนเพิ่มขึ้นนั้น มีสาเหตุมาจาก ราคาพลังงาน ที่ยังอยู่ในระดับที่สูงและสูงอย่างต่อเนื่อง ”

 

วิกฤติพลังงาน ดันดัชนีราคาผู้บริโภค \"เงินเฟ้อ\"ไทยพุ่ง 7.66%

 

นายรณรงค์ กล่าวอีกว่า ราคาอาหาร อาหารสด มีผลต่อเงินเฟ้อไม่มาก เนื่องจากราคาอาหารสดได้มีการทยอยปรับราคาขึ้นไปเมือเดือนก่อนแล้ว ประกอบกับภาครัฐเองได้มีมาตรการต่างๆออกมาให้มีราคาที่เหมาะสม  และผู้ผลิตได้ตรึงราคาสินค้าออกไป

 

ส่วนดัชนีราคาผู้บริโภคพื้นฐาน (Core CPI) หรืออัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน เดือนมิ.ย. 65 อยู่ที่ระดับ 102.99 เพิ่มขึ้น 2.51% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.24% จากเดือน พ.ค.65 ส่งผลให้เงินเฟ้อพื้นฐานเฉลี่ยครึ่งปีแรก เพิ่มขึ้น 1.85%

 

วิกฤติพลังงาน ดันดัชนีราคาผู้บริโภค \"เงินเฟ้อ\"ไทยพุ่ง 7.66%

 

จากสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนในหลายปัจจัยทั้งในประเทศและต่างประเทศ สนค.จะยังคงคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี 65 ไว้ในกรอบเดิมก่อนที่ 4-5% โดยค่ากลางอยู่ที่ 4.5%

 

วิกฤติพลังงาน ดันดัชนีราคาผู้บริโภค \"เงินเฟ้อ\"ไทยพุ่ง 7.66%

 

สำหรับ เงินเฟ้อ ของประเทศไทยในช่วง 15- 20 ปี เคยสูงสุดในระดับ 5.19% เมื่อปี 2550-2551  ดัชนีราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นตอนนั้น เกิดขึ้นไปทั่วโลกจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ หรือ ปัญหาซับไพรม์ ในขณะนั้น ราคาน้ำมันวิ่งสูงใกล้เคียงปัจจุบันที่ 110-120 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรล  


ผลที่ตามมาในขณะนั้น คือ ต้นทุนสินค้าต่างๆ สินค้าบริโภค อุปโภคต่างพากันปรับตัวเพิ่มขึ้น ค่าไฟ น้ำมัน น้ำมันเชื้อเพลิง อาหาร เนื้อสัตว์ต่างๆแพงระยับ


สถานการณ์เงินเฟ้อ ในระดับ 5.19% เมื่อช่วงปี 2551 ได้ส่งผ่านไปเป็นภาระประชาชนอย่างหนักหน่วงมาก เพราะต้นทุนราคาหมวดอาหารปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงถึง 11.56% ต้นทุนราคาหมวดค่าขนส่งเพิ่มขึ้น 10.2% ต้นทุนหมวดที่อยู่อาศัยเพิ่มขึ้น 3.28%  

 

เงินเฟ้อ สูงอีกระลอกหนึ่งของประเทศไทยเกิดขึ้นในปี 2011 หรือปี 2554 ตอนเกิดน้ำท่วมใหญ่ในประเทศไทย ทำให้เกิดการช็อกในภาคการผลิต ทำให้สินค้าต่างๆ ขาดแคลน แต่คราวนั้นสูงเพียงแค่ 3.8% นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา เงินเฟ้อของไทยไม่เคยเกิน 2% แม้แต่ครั้งเดียว

 

วิกฤติพลังงาน ดันดัชนีราคาผู้บริโภค \"เงินเฟ้อ\"ไทยพุ่ง 7.66%

 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงกรณีเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นสูงถึง 7.66% ถือว่าสูงสุดในรอบ 13 ปี ว่า หากเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศไทยยังถือว่า เป็นกลุ่มประเทศที่มีอัตราเงินเฟ้อค่อนข้างต่ำ ซึ่งในเรื่องนี้ ทางรัฐบาลยังมีมาตรการออกมาดูแลเฉพาะกลุ่ม ทั้งเรื่องราคาสินค้า และพลังงาน นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมการหารือกับกระทรวงพลังงานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ หามาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่มด้วย

 

วิกฤติพลังงาน ดันดัชนีราคาผู้บริโภค \"เงินเฟ้อ\"ไทยพุ่ง 7.66%

ขอบคุณข้อมูล : ฐานเศรษฐกิจ, กรุงเทพธุรกิจ