svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

เพจดังตอบชัดๆ "เครื่องบิน" ล้ำเข้าเขตไทย วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นยังไง

01 กรกฎาคม 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ไขคำตอบชัดเจน "เพจดัง" ตอบข้อสงสัยหากมี "เครื่องบิน" โผล่รุกล้ำน่านฟ้าไทย วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องควรเป็นยังไง ไม่ใช่เจอแล้วไล่ยิงตกทันที แต่ต้องเริ่มจากเบาไปหาหนัก

ภายหลัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และ รมว.กลาโหม ออกมาพูดเรื่องเครื่องบินรบเมียนมา บินล้ำเขตแดนไทยบริเวณ อ.พบพระ จ.ตาก เพื่อโจมตีกองกำลังชนกลุ่มน้อยแนวชายแดน โดยระบุว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพราะเป็นการตีวงเลี้ยวล้ำเข้ามาเขตไทยเล็กน้อย และมีการขอโทษแล้ว

 

แต่เหมือนกระแสดราม่ายังไม่จบ พร้อมตั้งคำถามว่า เครื่องบินรบของไทย ตามไปประกบช้าไปหรือเปล่า จนเกิดคำถามว่า จริงๆ แล้ว วิธีการปฏิบัติที่ถูกต้องควรเป็นอย่างไร??

เพจดังตอบชัดๆ "เครื่องบิน" ล้ำเข้าเขตไทย วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นยังไง

ล่าสุดเพจเฟซบุ๊ก “ThaiArmedForce.com” โพสต์อธิบายว่า รู้จัก #ADIZ และ #QRA: โดยหลักสากล เรา #ป้องกันภัยทางอากาศ กันอย่างไร?

 

ปกติแล้วเมื่อภัยคุกคามทางอากาศเกิดขึ้น กองทัพต่าง ๆ จะมีการปฏิบัติกันอย่างไร ต้องทำอย่างไรถ้ามีเครื่องบินไม่ปรากฎสัญชาติเข้ามา และเข้ามาแบบไหนเราจะทำอะไรเมื่อไหร่ ทุกอย่างมีการกำหนดเอาไว้แล้ว เพราะภัยทางอากาศเป็นเรื่องใหญ่ และการรุกล้ำอธิปไตยเหนือน่านฟ้ามักจะเกิดขึ้นเสมอครับ

 

ดังนั้นบทความนี้ TAF จะเล่าคร่าว ๆ ถึงวิธีการป้องกันภัยทางอากาศ การตรวจสอบยืนยันว่าเป็นเครื่องบินของฝ่ายไหน และการกำหนดขอบเขตของพื้นที่การป้องกันภัยทางอากาศที่เราเรียกว่า Air Defense Identification Zone เพื่อจะได้เข้าใจสถานการณ์การล้ำแดนของ MiG-29 มากขึ้นครับ

เพจดังตอบชัดๆ "เครื่องบิน" ล้ำเข้าเขตไทย วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นยังไง

จะรู้ได้อย่างไรว่านี่คือเครื่องบินของใคร

 

เราทำได้ด้วยการพิสูจน์ฝ่ายครับ การพิสูจน์ฝ่ายก็คือพิสูจน์ว่าเครื่องบินลำนั้นเป็นของฝ่ายไหน ฝ่ายเราหรือไม่ ถ้าไม่ใช่เป้นของข้าศึกหรือไม่ หรือเป็นเครื่องบินของประเทศที่สามหรือเครื่องบินพลเรือน

 

โดยปกติตามหลักการแจ้งเตือนภัยทางอากาศแล้ว เมื่อตรวจพบเป้าหมายด้วยวิธีการใดก็ตามจะต้องทำการพิสูจน์ฝ่ายทันที ซึ่งการพิสูจน์ฝ่ายจะมีหลายวิธีคือ

 

1. การพิสูจน์ฝ่ายด้วยสายตา ถ้าสามารถเห็นอากาศยานได้ด้วยสายตา โดยสังเกตุทั้งสีหรือเครื่องหมายอากาศยาน รูปร่างลักษณะ และท่าทางการบิน

2. การพิสูจน์ฝ่ายด้วยแผนการและการควบุคมการใช้ห้วงอากาศ ด้วยการตรวจสอบการจราจรทางอากาศที่เกิดขึ้นจริง เปรียบเทียบกับแผนการบินของทั้งฝ่ายเราและเครื่องบินอื่นในน่านฟ้า

3. การพิสูจน์ฝ่ายด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะเป็นการถามตอบด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์

เพจดังตอบชัดๆ "เครื่องบิน" ล้ำเข้าเขตไทย วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นยังไง

ระบบพิสูจน์ฝ่ายด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์นั้นจะเป็นระบบถาม (#Interrogator) และตอบ (#Transponder) คล้าย ๆ คนเราคุยกันว่าคุณเป็นใครแล้วฉันเป็นใครนั่นเอง โดยมาตรฐานของการบินของโลกนี้จะกำหนด Mode ของการถามตอบสำหรับเครื่องบินทหารและพลเรือนเอาไว้อย่างชัดเจน และเครื่องบินทุกลำต้องติดตั้ง

 

เราจะป้องกันภัยทางอากาศกันตรงไหน เพราะถ้าเครื่องบินมาถึงชายแดนแล้ว เราก็อาจส่งเครื่องบินมาไม่ทัน?

 

ใช่เลยครับ เพราะเครื่องบินบินได้เร็ว ดังนั้นถ้าเราพิสูจน์ฝ่ายแล้วว่าไม่ใช่เครื่องบินของฝ่ายเราแต่เป็นเครื่องบินของข้าศึก เราไม่สามารถรอให้เครื่องบินมาถึงชายแดนก่อนจึงจะส่งเครื่องบินไปสกัดได้ เราต้องกำหนดระยะว่า ถ้าเข้ามาใกล้เท่าไหร่ จะทำอะไร

เราเรียกเขตที่กำหนดนี้ว่า เขตพิสูจน์ฝ่ายเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศ (Air Defense Identification Zone: #ADIZ) ครับ ซึ่งมีแบ่งเป็นสามระยะเมื่อวัดจากชายแดน ดังนี้

 

1. เขตพิสูจน์ฝ่ายเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศล่วงหน้า เกิดขึ้นเนื่องจากอากาศยานมีความเร็วในการเดินทางค่อนข้างมาก การรอให้อากาศยานเข้าสู่เขตพิสูจน์ฝ่ายเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศของประเทศหรือชายแดนจะทำให้ไม่ทันการในการตอบโต้ จึงมีการกำหนดเขตล่วงหน้าออกไปจากแนวชายแดนอีกสองเขตคือ

เพจดังตอบชัดๆ "เครื่องบิน" ล้ำเข้าเขตไทย วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นยังไง

1.1 เขตใน หรือ Midnight Zone มักจะกำหนดให้เป็นเขต 0-50 ไมล์ทะเลจากแนวชายแดน

1.2 เขตนอก หรือ Twilight Zone มักจะกำหนดให้เป็นเขตที่ต่อจากเขตในอีก 50 ไมล์ทะเล

 

2. เขตพิสูจน์ฝ่ายเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศของประเทศ โดยส่วนมากจะกำหนดให้อยู่บนแนวชายแดนของแต่ละประเทศ

 

ดังนั้นเขต ADIZ จะเรียงกันแบบนี้คือ Twilight Zone (100 ไมล์ทะเลจากชายแดน) > Midnight Zone (50 ไมล์ทะเลจากชายแดน) > . เขตพิสูจน์ฝ่ายเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศของประเทศ (ที่แนวชายแดน)

 

แล้วเครื่องบินเข้ามาในเขตไหน เราต้องทำอย่างไร?

 

แน่นอน ไม่ใช่เจอเครื่องบินของฝ่ายตรงข้ามแล้วเราจะส่งเครื่องบินไปยิงตกทันที แต่การจะต้องมีมาตรการจากเบาไปหนักเสมอครับ คือ

 

1. โดยปกติแล้ว เมื่ออากาศยานที่ไม่สามาถระบุฝ่ายได้เข้ามาในเขตพิสูจน์ฝ่ายเพื่อการป้องกันภัยทางอากาศล่วงหน้า เราก็จะต้องพยายามใช้การพิสูจน์ฝ่ายตามวิธีการปกติในการตรวจสอบว่าเป็นอากาศยานของฝ่ายใด

2. แต่ถ้าอากาศยานที่ไม่สามารถระบุฝ่ายได้ยังเข้ามายังเขตพิสูจน์ฝ่ายของประเทศ ก็จะต้องดำเนินการป้องกันภัยทางอากาศ

3. อาจเริ่มต้นด้วยการกำหนดให้เป้าหมายนั้นเป็นเป้าหมายที่ติดตาม

4. ถ้าอากาศยานยังมุ่งหน้าเข้ามายังชายแดนของประเทศ อาจจะใช้การวิทยุไปแจ้งเตือนหรือสอบถาม

5. ถ้ายังมุ่งหน้าเขามาอยู่ อาจสั่งการให้เครื่องบินเตรียมพร้อมหรือ QRA ขึ้นบินสกัดกั้นทันที

6. การบินสกัดกั้นมักจะทำก่อนที่จะเข้ามาในเขตชายแดน แต่ไม่ได้จำกัดตายตัวว่าเมื่อเข้าเขตไหนจึงจะส่งเครื่องบินขึ้น ตรงนี้แล้วแต่สถานการณ์ แต่ส่วนใหญ่แล้ว เมื่อฝ่ายตรงข้ามเข้ามาในเขต Midnight ก็มักจะมีคำสั่งให้เครื่องบิน QRA ขึ้นบิน เพื่อต้องอาศัยเวลาในการติดเครื่อง บินขึ้น และเดินทางไปถึงตำแหน่งเป้าหมาย

7. เมื่อเจอกับเป้าหมายแล้ว ก็ใช้ว่าจะต้องยิงตกทันที อาจจะแค่แจ้งเตือนว่า คุณกำลังเข้ามาในเขต ADIZ ของเรา ขอให้ออกไป หรือบินประกอบไปเรื่อย ๆ จนกว่าเขาจะออกจากเขต ADIZ ของเรา

8. ยกเว้นว่าในกรณีที่หาได้ยากคือ เครื่องบินฝ่ายตรงข้ามไม่ตอบสนองอะไร และมีท่าทีคุกคาม ก็อาจจะมีการใช้อาวุธได้

เพจดังตอบชัดๆ "เครื่องบิน" ล้ำเข้าเขตไทย วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นยังไง

จะเห็นได้ว่า ไม่ใช่เครื่องบินที่ถูกรุกล้ำน่านฟ้าต้องถูกยิงตกเสมอไป แต่จะใช้มาตรการจากเบาไปหาหนักตามหลักสากลครับ

 

เครื่องบิน QRA คืออะไร?

 

QRA ย่อมาจาก Quick Reaction Alert ซึ่งเป็นเครื่องบินเตรียมพร้อมสูงสุดที่สามารถบินขึ้นได้ภายในเวลา 5 – 10 นาทีเท่านั้น โดยจะวางกำลังตามฐานบินต่าง ๆ ครับ

 

อาจจะมีหลายท่านเข้าใจผิด แต่ภารกิจ QRA นี้เป็นภารกิจที่จะต้องทำทั้งในยามสงบและยามสงครามครับ และจะต้องทำทุกวินาที หมายถึงจะต้องทำ 24 ชั่วโมง ใน 7 วัน ตลอด 365 วัน จะต้องมีเครื่องบินเตรียมพร้อมเสมอ

 

ถ้าในยามสงครามก็ชัดเจน เพราะอาจจะมีเครื่องบินข้าศึกบุกมาก็ได้ แต่ในยามปกติ มีหลายกรณีที่ต้องใช้เครื่อง QRA เช่น กรณีเครื่องบินพลเรือนบินต่ำเกินไปหรือบินในที่ห้ามบิน หรือเครื่องบินบินนอกแผนการบิน ก็จะต้องมีเครื่องบิน QRA ขึ้นไปบินประกอบเพื่อรับมือกับปัญหา ซึ่งส่วนมากเครื่องบินพลเรือนก็จะปฏิบัติตามครับ

เพจดังตอบชัดๆ "เครื่องบิน" ล้ำเข้าเขตไทย วิธีปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นยังไง

จะมีบางกรณีที่ไม่ปฏิบัติตาม และนักบิน QRA ไม่รู้จะทำอย่างไรจริง ๆ เช่นในกรณีของเหตุการณ์ 911 ที่สหรัฐส่ง F-16 ขึ้นไปสกัดกั้นเครื่องบินโดยสารที่กำลังจะบินชนตึก World Trade Center แล้ว แต่นักบินไม่ฟังคำตอบ และนักบินก็ไม่สามารถยิงเครื่องบินให้ตกได้เพราะยังไม่รู้ว่ามีเหตุการณ์ก่อการร้าย และถ้ายิงตกก็จะตกลงกลางเมือง ซึ่งสุดท้ายนักบินที่ไม่ตอบสนองอะไรก็ขับเครื่องบินชนตึกในที่สุด

 

ในหลายประเทศจะมีการเปิดเผยจำนวนครั้งของการทำภารกิจ QRA ต่อปี เพื่อแสดงให้สาธารณชนเห็นว่ากองทัพอากาศมีการปฏิบัติงานอยู่ตลอดเวลา ไม่ได้อยู่เฉย ๆ ครับ

 

ในสถานการณ์จริง มีภารกิจการสกัดกั้นหรือไม่?

 

มีอยู่ทุกวันครับ ที่เราจะคุ้นเคยกันดีก็คือที่ไต้หวันซึ่งส่งเครื่องบินขึ้นสกัดกั้นเครื่องบินของจีนวันละเป็นสิบลำทุกวัน เช่นเดียวกับที่ญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ก็ต้องทำ

 

ในยุโรปหรือในสหรัฐอเมริกา และโดยเฉพาะตอนนี้ มีการทำภารกิจ QRA ค่อนข้างบ่อย คือในยามปกติ ยุโรปมีเครื่องบินพลเรือนเยอะ ดังนั้นจึงเกิดเหตุการณ์เครื่องบินละเมิดกฎการบินอยู่บ่อย ๆ หรือถ้ามีการโทรขู่วางระเบิดเที่ยวบินไหน ก็จะมีการส่งเครื่องบินขึ้นไปประกบอยู่ตลอด เพื่อป้องกันเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อาจจะเกิดขึ้นครับ

 

หวังว่าทุกท่านคงจะได้รับความรู้นำใช้ในการติดตามข่าวสารกรณี MiG-29 ของพม่าบินล้ำแดนไทยกันครับ

logoline