svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

27 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

ผู้เชี่ยวชาญ แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรเข้ารับการฉีดวัคซีนโควิดเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันอาการรุนแรง พร้อมเผยอาการล่าสุด โควิด-19 สายพันธุ์ย่อย BA.4 - BA.5

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) โพสต์เฟซบุ๊กประเด็น "โควิดสายพันธุ์ใหม่" BA.4 BA.5 เผยอาการของผู้ป่วย จากข้อมูลของหน่วยงานสาธารณสุขของฝรั่งเศส รายละเอียดระบุไว้ดังนี้

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ข้อมูลอาการของผู้ติดเชื้อโอมิครอน BA.1 และ BA.4 / BA.5 ที่เก็บข้อมูลโดยหน่วยงานสาธารณสุขของฝรั่งเศส โดยเก็บข้อมูลจากผู้ป่วยจำนวนใกล้เคียงกันคือประมาณ 280 - 290 คน

โดยรวมแล้ว อาการของผู้ป่วยที่ติดเชื้อ BA.4 / BA.5 ชัดกว่าผู้ป่วยที่ติดโอมิครอนรุ่นแรก ในทุกอาการที่รายงาน สังเกตจากกราฟสีเขียวสูงกว่าสีชมพูทั้งหมด

โดยอาการที่พบมากกว่า 50% ของผู้ป่วย คือ

  • อ่อนเพลีย
  • ไอ
  • ไข้
  • ปวดศีรษะ
  • น้ำมูกไหล

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

กลุ่มอาการทางเดินหายใจเช่น หายใจถี่ และ หายใจลำบาก พบได้ในกลุ่ม BA.4/BA.5 เช่นเดียวกัน กลุ่มอาการทางเดินอาหารเช่น อาการท้องเสียก็พบได้มากกว่าในกลุ่ม BA.4/BA.5 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับโรคระบาดไวรัสโคโรนา 2019 หรือ โควิด-19 โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 รายละเอียดดังนี้

โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 มีการกลายพันธุ์บริเวณหนามเพื่อให้เข้าจับกับเซลล์ปอดของมนุษย์ได้ดีขึ้น เหมือนกับสายพันธุ์เดลต้าที่ระบาดและมีอาการติดเชื้อที่รุนแรงในอดีต ต่างจากโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม BA.1 และ BA.2 ซึ่งไม่พบการกลายพันธุ์ในบริเวณดังกล่าว  

ส่วนหนามของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย  BA.4, BA.5 และ BA.2.12.1 ที่เปลี่ยนแปลงไปสามารถเป็นตัวเชื่อมให้ผนังของหลายเซลล์หลอมรวมเป็นเซลล์เดียว (cell fusion หรือ syncytia formation) ดึงดูดให้ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อเข้ามาทำลายเกิดการอักเสบ (ของปอด) ซึ่งก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตได้ (life-threating) 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น BA.4 และ BA.5 ขณะนี้กำลังแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วในยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษเกิดความตื่นตระหนกเป็นพิเศษในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเนื่องจากจำนวนผู้ติดเชื้อในอังกฤษเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วสืบเนื่องในโอกาสเฉลิมฉลองใหญ่ 4 วันระหว่างวันที่ 2-5 มิถุนายน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการพบปะสังสรรค์ใกล้ชิดโดยไม่ใส่หน้ากากอนามัยป้องกัน นำมาสู่ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 ในสัปดาห์ถัดมา

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

ในทวีปอเมริกาเหนือ สายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 ดูเหมือนจะแพร่ระบาดได้ดีกว่า BA.2.12.1 และมีความเป็นไปได้สูงที่จะระบาดเข้าไปแทนที่ BA.2.12.1 ที่กำลังระบาดใหญ่ในสหรัฐอเมริกา

ข้อมูลการกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์บนสายจีโนมของไวรัสโคโรนา 2019 บริเวณยีนที่สร้างหนาม (Spike gene) ณ. ตำแหน่ง “452” อาจเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ “โอมิครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4, BA.5, และ BA.2.12.1” ที่ WHO ให้เฝ้าระวังมีความสามารถที่จะแพร่ระบาดได้เร็วขึ้น (high transmissibility) อีกทั้งอาจจะมีคุณสมบัติในการเชื่อมต่อผนังเซลล์ (ปอด) จากหลายเซลล์เข้ามาเป็นเซลล์เดียว (fusogenicity หรือ multinucleated syncytial pneumocytes) ก่อให้เกิดการอักเสบของเนื้อเยื่อปอดได้เช่นเดียวกับการติดเชื้อสายพันธุ์ “เดลตา” ที่ระบาดในอดีต

จากการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนมพบการเปลี่ยนแปลงบริเวณส่วนหนามตำแหน่งที่ "452” จากกรดอะมิโน "ลิวซีน (L)” เปลี่ยนมาเป็น "อาร์จีนีน (R)” หรือ "กลูตามีน (Q)” ทำให้ส่วนหนามมีคุณสมบัติที่สามารถเชื่อมต่อผนังเซลล์ที่อยู่ข้างเคียง หลอมรวมเป็นเซลล์เดียว (cell fusion หรือ syncytia formation) 

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ส่งผลให้ไวรัสสามารถแพร่ไประหว่างเซลล์ต่อเซลล์ได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องออกมานอกเซลล์ให้สุ่มเสี่ยงที่จะถูกจับและทำลายด้วย “แอนติบอดี” ที่ถูกสร้างในร่างกายผู้เคยติดเชื้อตามธรรมชาติและจากการฉีดวัคซีน บรรดาเซลล์ปอดติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ที่หลอมหลวมรวมเป็นเซลล์เดียว (infected multinucleated syncytial pneumocytes) จะกลายเป็นเซลล์ขนาดใหญ่ภายในเซลล์มีหลายนิวเคลียส ดีเอ็นเอภายในเซลล์ดังกล่าวถูกทำลายแตกหัก ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผู้ติดเชื้อมองเป็นสิ่งแปลกปลอมและเข้ามาทำลายเซลล์ที่มีหลายนิวเคลียส(syncytial pneumocytes) เหล่านั้น เกิดการอักเสบ และบางรายลุกลามเกิดเป็นปอดบวมอันอาจทำให้ผู้ติดเชื้อเจ็บป่วยรุนแรง

ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

สายพันธุ์ “เดลตา” มีการกลายพันธุ์ของหนามเป็น “R452” ก่อให้เกิดการติดเชื้อรุนแรง (high pathogenicity) ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเกิดอาการปอดอักเสบจากการหลอมหลวมของเซลล์ติดเชื้อหลายเซลล์เข้ามาหลอมรวมเป็นเซลล์เดียวกัน (syncytial pneumocytes) 

ตรงกันข้ามกับสายพันธุ์โอมิครอนดั้งเดิม (B.1.1529) เช่น BA.1, BA.1.1 และ BA.2 ไม่มีการกลายพันธุ์บริเวณดังกล่าว กรดอะมิโนยังคงเป็น “L452” ซึ่งสอดคล้องกับอาการทางคลินิกของโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมที่อาการไม่รุนแรง สาเหตุหนึ่งอาจเป็นเพราะไม่เกิด syncytial pneumocytes ในเซลล์ปอดที่ติดเชื้อ

ล่าสุด ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เผยข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น รายละเอียดระบุไว้ดังนี้

กลุ่มเปราะบาง “608” และผู้ที่มียีนกลายพันธุ์ (gene variant) จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อป้องกันการติดเชื้อโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 เนื่องจากข้อมูลทางคลินิกพบว่ากลุ่มเปราะบาง “608”  มักมีอาการโรคโควิด-19 ที่รุนแรงมากกว่าคนทั่วไป จึงควรได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยรุนแรง ซึ่งบางรายอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิต รวมทั้งควรได้รับยาต้านไวรัสในทันทีเมื่อติดเชื้อ ส่วนการป้องกันการติดเชื้อนั้นหน้ากากอนามัยจะให้ผลดีที่สุด

ภูมิคุ้มกันจากวัคซีนจะคงได้ประมาณ 3-4 เดือน ส่วนภูมิคุ้มการจากการติดเชื้อตามธรรมชาติอาจคงอยู่ได้ประมาณ 6 เดือน -1 ปี  จากนั้นภูมิทั้งสองก็จะลดประสิทธิภาพลง ปัญหาในอีกลักษณะคือไวรัสโอไมครอนสายพันธุ์ย่อย BA.4 และ BA.5 มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากไวรัสดั้งเดิมอู่ฮั่นที่นำมาผลิตเป็นวัคซีน ร่างกายจึงสร้างแอนติบอดีขึ้นมาต่อต้านหรือปกป้องการติดเชื้อไม่ทันการ 

คาดว่าปัญหาดังกล่าวอาจถูกแก้ไขลงได้ระดับหนึ่งเมื่อมีการนำวัคซีน  “bivalent vaccine”  ซึ่งใช้ทั้งไวรัสสายพันธุ์ดั้งเดิมอู่ฮั่นและโอไมครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1.1.529) เป็นต้นแบบอยู่ในเข็มกระตุ้นเข็มเดียว ข้อมูลจากบริษัทผู้ผลิตพบว่าสามารถกระตุ้นภูมิได้ต่อ BA.4 และ BA.5 สูงขึ้นถึง 5 เท่า ในขณะที่กระตุ้นภูมิต่อโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิม (B.1.1.529)  ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา แนะกลุ่มเสี่ยง 608 ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น

logoline