svasdssvasds
เนชั่นทีวี

การเมือง

สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม แถลงจุดยืนค้าน พ.ร.บ.กัญชา - สุรา - สมรสเท่าเทียม

23 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด 5 จังหวัดชายแดนภาคใต้ แถลงจุดยืนค้าน พ.ร.บ.กัญชา - สุรา - สมรสเท่าเทียม ขอยึดคำวินิจฉัยจุฬาฯ เป็นสิ่งต้องห้ามและขัดหลักศาสนาอิสลาม

วันนี้ (23 มิ.ย.) ที่ห้องประชุมหะยีสุหลง ชั้น 3 อาคารสำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานสมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAI) พร้อมด้วย นายสะมะแอ ฮารี ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดยะลา นายชาฟีอี เจ๊ะเลาะ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนราธิวาส นายศักดิ์กรียา บิลแสละ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสงขลา นายอรุณ อุมาจิ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดสตูลและคณะกรรมการสมาพันธ์ฯ ร่วมประชุมหาทางออกและแสดงจุดยืนและออกคำ "ฟัตวา" หรือ คำวินิจฉัย ต่อเรื่อง กัญชง กัญชา เรื่องพืชกระท่อม และการสมรสเท่าเทียม 

 

โดยภายหลังการประชุมร่วมกันใช้เวลาเกือบ 2 ชั่วโมง ที่ประชุมจึงมีมติออกคำแถลงการณ์ โดยประธานคณะกรรมการอิสลามฯ ทั้ง 5 จังหวัดได้ออกมาร่วมแถลงการณ์ดังนี้ 
 

 

สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม แถลงจุดยืนค้าน พ.ร.บ.กัญชา - สุรา - สมรสเท่าเทียม

สืบเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับ 1.พระราชบัญญัติกัญชง - กัญชา 2.พระราชบัญญัติสุราก้าวหน้า และ 3.พระราชบัญญัติสมรสเท่าเทียม - คู่ชีวิต นั้น สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAI) ขอชี้แจงและทำความเข้าใจว่า 

 

สำหรับผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามแล้ว ไม่อาจปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้ เนื่องจากขัดต่อหลักการของศาสนาอิสลามและเป็นข้อห้ามสำหรับผู้นับถือศาสนาอิสลามโดยเด็ดขาด ในการนี้สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดชายแดนภาคใต้ (PERMAI) ขอยึดแนวปฏิบัติตามคำวินิจฉัย (ฟัตวา) จุฬาราชมนตรีที่ 1/2563 และประกาศฝ่ายกิจการฮาลาลกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยฉบับที่ 8/2564 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2564 

 

สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม แถลงจุดยืนค้าน พ.ร.บ.กัญชา - สุรา - สมรสเท่าเทียม
 

นายแวดือราแม มะมิงจิ ประธานสมาพันธ์ฯ กล่าวว่า เนื่องจากเป็นเรื่องใหญ่ที่ประชาชนพูดถึงกัน เป็นข้อถกเถียงเป็นจำนวนมากทั้งในทางโซเชียลมีเดียและสร้างความสับสนต่อสังคมทั่วไป สมาพันธ์ฯ หวั่นเกรงว่าจะเกิดผลกระทบในวงกว้าง หลายฝ่ายจึงต้องทำความเข้าใจให้เร็วที่สุด  เนื่องจากถือเป็นเรื่องละเอียดอ่อน โดยเฉพาะในบริบทของคนใน 3 จังหวัดที่มีมุสลิมจำนวนมาก 

 

“องค์กรเราเป็นหลักที่พึ่งของพี่น้องประชาชน ต้องแสดงจุดยืนให้สังคมเป็นว่า เรานำคำฟัตวาของจุฬาราชมนตรีมาประกอบให้เป็นที่ชัดเจนว่า เราไม่สนับสนุนทั้ง พ.ร.บ. ทั้งหมดนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ฮารอม (ต้องห้าม) ในอิสลาม” 

 

นายแพทย์อนันตชัย ไทยประทาน ในนามนักวิชาการแพทย์มุสลิม ซึ่งร่วมประชุมด้วยได้ให้ความเห็นว่า กัญชายังถูกปล่อยให้ใช้ทางการแพทย์เท่านั้น แต่ไม่มีโรคไหนที่ต้องรักษาด้วยกัญชาได้ ขณะที่ไทยจัดให้กัญชาเป็นยาเสพติดประเภท 5 หากทั่วโลกกัญชายังไม่ปลดล็อค สหประชาชาติจัดกัญชาให้เป็นยาเสพติดประเภท 1 เขามองว่า เป็นยาเสพติดที่ก่อให้เกิดการเสพติดสูงและอันตราย ห้ามปลูก ห้ามผลิต ห้ามค้าขาย ห้ามครอบครอง ยกเว้นการแพทย์และศึกษาวิจัย ส่วนอเมริกาอนุญาตแค่ 2 รัฐที่ใช่ในการบันเทิง อีก 30 กว่ารัฐไม่อนุญาต เพราะฉะนั้นในทัศนะแพทย์ ไม่เห็นด้วย ผมจึงเห็นว่า เรื่องกัญชง กัญชา เราไม่เห็นด้วยทุกประการ ซึ่งขณะนี้มีแต่มุสลิมที่ออกมาค้าน พ.ร.บ.ไชฏอน ที่ออกมาทำลายเยาวชน

 

ด้านผู้เข้าร่วมประชุมต่างออกความเห็นกันอาทิ ต้องการให้เกิดเป็นรูปธรรม ให้รัฐบาลรับรู้ ร้านอาหารมุสลิมควรประกาศว่า ไม่มีกระท่อมและกัญชาในอาหารของร้านโดยชัดเจน ให้เอกสารการแถลงการณ์และคำฟัตวานี้ไปถึงทุกโรงเรียนเอกชนสอนศาสนา ในการคุตบะฮฺวันศุกร์ควรเพิ่มเรื่องโทษของกัญชา ด้วยเป้าหมายเดียวกันคือการต่อสู้ในแนวทางของมุสลิม ยกระดับการแสดงจุดยืนไปยังส่วนกลางและผู้นำประเทศ เป็นต้น
 

 

สมาพันธ์คณะกรรมการอิสลาม แถลงจุดยืนค้าน พ.ร.บ.กัญชา - สุรา - สมรสเท่าเทียม

logoline