svasdssvasds
เนชั่นทีวี

สังคม

หากได้รับ“ใบสั่งออนไลน์” ไม่ชำระค่าปรับ (เรา)จะโดนอะไรบ้าง?

21 มิถุนายน 2565
เกาะติดข่าวสาร >> Nation Story
logoline

กองบัญชาการตำรวจนครบาล แนะนำเนวทางดีๆ สำหรับใครที่โดน "ใบสั่ง" หรือฝ่าฝืน ทำผิดกฎจราจรแล้ว ไม่มาชำระค่าปรับ (คุณ)จะต้องโดนอะไรบ้าง พร้อมเผยวิธี เช็กใบสั่ง ผ่านออนไลน์ ตรวจสอบรายละเอียดได้ครบ จบที่นี่

อีกหนึ่งประเด็นร้อนๆ เกี่ยวกับ “ใบสั่งออนไลน์” สำหรับใครที่เคยโดน "ใบสั่ง" หรือ ทำผิดกฎจราจรแล้วไม่มาชำระค่าปรับ กองบัญชาการตำรวจนครบาล มีแนวทางให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ชวนคนไทย ชวนคอข่าว มาร่วมทำความรู้จัก "ใบสั่งออนไลน์" กันสักหน่อย

 

ใบสั่งออนไลน์ หรือ ใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ คือใบสั่งจราจรที่กล้องวงจรปิด (CCTV) จับภาพการกระทำความผิดในระหว่างขับขี่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการจอดรถในที่ห้ามจอด ปาดคอสะพาน ผ่าไฟแดง ทับเส้นทึบ หรือขับรถเร็ว และจัดส่งใบสั่งออนไลน์มาให้ที่บ้านผ่านทางไปรษณีย์

 

แต่ปัญหาสำคัญที่หลายคนเจอเมื่อโดนใบสั่งออนไลน์ คือ ทำใบสั่งปรับหาย ลืมใบสั่ง หรือแม้กระทั่งไม่รู้ว่าโดนใบสั่งจราจรออนไลน์ด้วยซ้ำ ทำให้อาจมีใบสั่งปรับค้างจ่ายโดยไม่รู้ตัว และส่งผลให้ต่อภาษีรถยนต์ประจำปีไม่ได้ หากไม่ได้จ่ายค่าปรับจราจรตามใบสั่ง แรบบิท แคร์ รวบรวมวิธีตรวจเช็กใบสั่งปรับจราจรออนไลน์ย้อนหลัง พร้อมช่องทางจ่ายค่าปรับออนไลนง่ายๆ มาฝากกัน

 

เมื่อพบผู้กระทำผิด จะออกใบสั่ง 3 รูปแบบ ได้แก่ การเขียนใบสั่งเล่ม ใบสั่งจากภาพกล้องวงจรปิดส่งไปทางไปรษณีย์ และใบสั่งจากเครื่อง E-TICKET 

 

หากได้รับ“ใบสั่งออนไลน์” ไม่ชำระค่าปรับ (เรา)จะโดนอะไรบ้าง?

หากโดน “ใบสั่งออนไลน์” ไม่ชำระค่าปรับ(เรา)จะต้องโดนอะไร 

  • เจ้าพนักงานจราจรออกใบสั่งให้กับผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ทั้งผิดซึ่งหน้า และผิดจากตรวจจับด้วยกล้องตรวจจับการกระทำความผิด ระยะเวลาเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด
  • ผู้กระทำความผิดไม่มาชำระค่าปรับ พ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบสั่งแต่ละประเภท เจ้าพนักงานจราจรจะออกหนังสือใบเตือน ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับภายใน 15 วัน 
  • ให้ถือว่าเจ้าของ/ผู้ครอบครอง ได้รับแจ้งเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน นับแต่วันส่ง และต้องชำระค่าปรับภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้ง
  • ผู้กระทำความผิดเลือกชำระค่าปรับ ได้ที่สถานีตำรวจทุกสถานีทั่วประเทศ, ช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ ของธนาคารกรุงไทย, เคาน์เตอร์เซอร์วิสที่มีสัญลักษณ์ PTM และทางไปรษณีย์

หากได้รับ“ใบสั่งออนไลน์” ไม่ชำระค่าปรับ (เรา)จะโดนอะไรบ้าง?

  • กรณีพ้นระยะเวลาที่กำหนดไว้ในใบเตือน และยังไม่มาชำระค่าปรับ นอกจากส่งข้อมูลไปยังกรมการขนส่งทางบกเพื่อดำเนินการตามมาตรการงดออกเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปี พนักงานสอบสวนจะออกหมายเรียกผู้ต้องหาเพื่อให้มาชำระค่าปรับ
  • หากไม่มาพบตามหมายเรียกทั้ง 2 ครั้ง พนักงานสอบสวนจะยื่นคำร้องขออนุมัติศาลในเขตพื้นที่เพื่อออกหมายจับ
  • ถูกออกหมายเรียกหรือหมายจับ ผู้ต้องหาจะถูกแจ้งข้อกล่าวหา ตามข้อหาที่ผู้ต้องหากระทำผิดตามใบสั่ง และความผิดข้อหาตามมาตรา 155 ที่ระบุว่า ผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม มาตรา 141 (ชำระค่าปรับในเวลาที่กำหนดในใบสั่ง) โดยไม่มีเหตุอันสมควร
  • ต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
  • ผู้ต้องหาต้องเดินทางมาพบพนักงานสอบสวนด้วยตนเองที่สถานีตำรวจที่ออกหมายเรียก / หมายจับ ไม่สามารถชำระผ่านช่องทางต่างๆ 
  • เมื่อออกหมายจับแล้วจะส่งผลกระทบในการดำเนินชีวิตหลายเรื่อง ตำรวจจะประสานฝ่ายปกครอง ทำให้ผู้กระทำผิดเสียสิทธิในการทำนิติกรรมต่าง ๆ เพราะถูกนำชื่อไปสู่ทะเบียนกลาง ชื่อจะอยู่ในสารบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ไม่ว่าจะเดินทางไปที่ใดก็ตาม ตำรวจสามารถเข้าจับกุมได้
  • กรณีที่ต้องการเดินทางออกนอกประเทศ ข้อมูลจะถูกส่งไปยังสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง ทำให้เกิดความยากลำบากในการเดินทาง และมีชื่อในกองทะเบียนประวัติอาชญากร กระทบความเชื่อมั่นเมื่อต้องการสมัครงานใหม่

หากได้รับ“ใบสั่งออนไลน์” ไม่ชำระค่าปรับ (เรา)จะโดนอะไรบ้าง?

ใบสั่งค่าปรับจราจร ที่สามารถจ่ายผ่านช่องทางออนไลน์ หรือช่องทางจ่ายค่าปรับจราจรอื่นๆ ที่ไม่ใช่การไปจ่ายที่สถานีตำรวจด้วยตัวเอง เช่น การจ่ายค่าปรับจราจรที่เซเว่น หรือตู้ ATM ได้นั้น จะต้องเป็นใบสั่งอิเล็กทรอนิกส์ หรือการโดนใบสั่งค่าปรับจราจรจากการกระทำผิดกฎจราจรที่บันทึกโดยระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV) ที่จัดส่งไปที่บ้านเท่านั้น

ไม่ว่าจะเป็นใบสั่งจากกล้องจราจร ใบสั่งแบบเล่มที่ไม่ถูกยึดใบขับขี่ หรือใบเตือนทุกชนิดที่มีบาร์โค้ดและเครื่องหมาย PTM (Police Ticket Management) รวมถึงใบสั่งที่มีข้อความระบุว่า “สามารถชำระได้ที่ช่องทางของธนาคารกรุงไทย”

ซึ่งใบสั่งประเภทข้างต้น จะสามารถจ่ายค่าปรับความเร็วผ่านช่องทางออนไลน์ได้ แต่หากเป็นใบสั่งแบบทั่วไปที่เขียนด้วยลายมือจะไม่สามารถชำระค่าปรับผ่านช่องทางออนไลน์ได้ มีช่องทางที่สามารถจ่ายค่าปรับใบสั่งออนไลน์ได้ มีดังนี้

  • เคาน์เตอร์ธนาคารกรุงไทย (KTB) ทุกสาขาทั่วประเทศ (ค่าธรรมเนียม 20 บาท)
  • ตู้ ATM และ ADM (ตู้รับฝากเงินสดอัตโนมัติ) ธนาคารกรุงไทย (KTB) ทั่วประเทศ (ค่าธรรมเนียม 15 บาท)
  • KTB netbank (Internet Banking) (ค่าธรรมเนียม 15 บาท)
  • แอปฯ Krungthai NEXT (ไม่มีค่าธรรมเนียม)
  • ที่ทำการไปรษณีย์ไทยทั่วประเทศ (ค่าธรรมเนียม 15 บาท)
  • เคาน์เตอร์เซอร์วิสของ 7-11 (Counter Service) (ค่าธรรมเนียม 20 บาท)
  • เคาน์เตอร์ CenPay ในเครือ CENTRAL Group (ค่าธรรมเนียม 20 บาท)
  • ตู้บุญเติม (ยกเว้นตู้บุญเติมหน้า 7-11)
  • หน่วยบริการรับชำระค่าปรับตามใบสั่งที่มีเครื่องหมาย PTM (Police Ticket Management)
  • สถานีตํารวจที่ออกใบสั่ง หรือสถานีตํารวจท้องที่ทั่วประเทศ

 

ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งออนไลน์จะเป็นอะไรหรือเปล่า?
เสียค่าปรับจ่ายล่าช้าเพิ่ม

กรณีที่ไม่จ่ายค่าปรับใบสั่งจราจรออนไลน์ตามเวลาที่กำหนด หรือตามที่ได้ระบุไว้ในใบสั่ง จะมีค่าปรับล่าช้าเพิ่มสูงสุด 1,000 บาทต่อใบ และหากมีใบสั่งค้างชำระและเกินระยะเวลาจ่ายค่าปรับที่กำหนดหลายใบ อาจจะถูกปรับล่าช้าย้อนหลังทุกใบอีกด้วย

เสียค่าปรับไม่แสดงป้ายภาษี

แม้ว่าจะสามารถชำระภาษีรถยนต์ประจำปีได้ในกรณีที่มีใบสั่งออนไลน์ค้างจ่ายอยู่ เเต่จะไม่ได้รับหลักฐานการเสียภาษีรถยนต์ประจำปีตามปกติ แต่จะได้รับหลักฐานการเสียภาษีประจำปีชั่วคราวที่มีอายุ 30 วันแทน เพื่อให้นำไปใช้จ่ายค่าปรับที่ค้างชำระอยู่ให้เรียบร้อยก่อน และนำใบเสร็จกลับมารับเครื่องหมายแสดงการเสียภาษีประจำปี หรือป้ายภาษี (ป้ายสี่เหลี่ยมติดหน้ารถ)

แต่หากยังไม่ชำระใบสั่งออนไลน์ที่ค้างชำระอยู่ และไม่ได้ไปเปลี่ยนป้ายภาษีตามที่กำหนด จะถือว่ามีความผิดจากการขับขี่รถโดยไม่แสดงเครื่องหมายการเสียภาษีประจำปีหรือป้ายภาษีรถยนต์ ตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 11 และมาตรา 60 มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

ถูกอายัดใบขับขี่ 

หากเคยโดนยึดใบขับขี่ และไม่ได้ไปเสียค่าปรับตามใบสั่งจราจรเพื่อขอรับใบขับขี่คืน สามารถเข้าทดสอบเพื่อขอรับใบขับขี่ใหม่ได้ เเต่จะไม่สามารถรับใบขับขี่ใหม่ได้ทันที รวมถึงจะไม่สามารถแจ้งความใบขับขี่หายเพื่อทำใบขับขี่ใหม่ได้ 

เนื่องจากจะยังมีรายชื่อค้างจ่ายใบสั่งอยู่ในระบบของกรมการขนส่งทางบกแม้ว่าจะผ่านไปหลายปีแล้วก็ตาม ทำให้ใบขับขี่ถูกอายัด และต้องชำระค่าปรับตามใบสั่งที่ค้างอยู่ให้เรียบร้อยก่อนเพื่อถอนอายัดใบขับขี่จึงจะขอรับใบขับขี่คืนได้ 

ถูกออกหมายจับ 

หากยังไม่จ่ายใบสั่งปรับออนไลน์ และยังกระทำผิดอย่างต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่ตำรวจจะดำเนินการออกหมายเรียกให้มาชำระค่าปรับใบสั่งที่ค้างอยู่ก่อน เเต่หากเจ้าของที่โดนใบสั่งยังเพิกเฉย ไม่ตอบรับหมายเรียก เจ้าหน้าที่จะพิจารณาออกหมายจับ และส่งฟ้องศาลต่อไปทันที 

ตรวจสอบ “ใบสั่งออนไลน์” 

ตรวจสอบได้ผ่านช่องทางใบสั่งจราจรออนไลน์สำหรับประชาชนได้ที่นี่ (คลิก)

  • สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ศูนย์ควบคุมและสั่งการจราจร (บก.02) หมายเลขโทรศัพท์ 1197 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือทาง Facebook และ Twitter 1197

หากได้รับ“ใบสั่งออนไลน์” ไม่ชำระค่าปรับ (เรา)จะโดนอะไรบ้าง?

logoline